กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1738
ชื่อเรื่อง: การทดลองห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการลดทอนของคลื่นในป่าชายเลน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Laboratory experiments on wave attenuation in mangrove forests
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธรรมนูญ รัศมีมาสเมือง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คลื่น
อุทกพลศาสตร์
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุระสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมประสิทธิ์การลดทอนคลื่นเนื่องจากต้นโกงกางจำลองกับตัวแปรทางอุทกพลศาสตร์และพฤกษศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ ความลาดชันของคลื่น ความลึกของน้ำ ความยาวของแนวต้นโกงกางจำลอง และความหนาแน่นของต้นโกงการจำลอง การทดสอบถูกดำเนินการในห้องปฎิบัติการทางชลศาสตร์ โดยใช้รางจำลองคลื่นขนาดกว้าง 0.60 เมตร ลึก 0.80 เมตร ยาว 16.0 เมตร และเครื่องกำเนิดคลื่นแบบใบพัด สร้างคลื่นแบบสม่ำเสมอด้วยคาบคลื่นจำนวด 5 ค่า แต่ละคาบคลื่น คลื่นถูกพัดด้วยระยะคันชักที่แตกต่างกัน 6 ค่า ซึ่งแต่ละระยะคันชักให้ความสูงคลื่นแตกต่างกัน ระบบรากและลำต้นของต้นโกงกางถูกจำลองขึ้นเหล็กเส้นตัด-เชื่อมให้มีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกัน การทดลองมีเปลี่ยนแปลงพารามิเตอร์ที่สนใจ ดังนี้ ความชันของคลื่นตามการสร้างคลื่นข้างต้น ความลึกน้ำจำนวน 3 ค่า ความยาวของแนวต้นโกงกางจำลองจำนวน 4 ค่า ความหนาแน่นของต้นโกงการจำลองจำนวน 4 ค่า ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ความชันของคลื่น ความลึกของน้ำ ความยาวของแนวต้นโกงกางจำลอง และความหนาแน่นของต้นโกงกางจำลอง มีอิทธิพลต่อการลดทอนคลื่นที่เคลื่อนผ่านแนวต้นโกงกางจำลองนี้ ความชันคลื่นที่เพิ่มขึ้น ความยาวของแนวและความหนาแน่นของต้นโกงกางจำลองที่เพิ่มขึ้น ทำให้การลดทอนคลื่นที่เพิ่มขึ้น ความยาวของแนวและความหนาแน่นของต้นโกงกางจำลองที่เพิ่มขึ้น ทำให้การลดทอนคลื่นเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฎการเหล่านี้เพิ่มโอกาศที่คลื่นจะปะทะกับรากทำให้แรงลากเนื่องจากรากเพิ่มขึ้น การลดทอนคลื่นจึงลดลง ในขณะที่ความลึกน้ำที่เพิ่มขึ้น ทำให้การลดทอนคลื่นลดลง เนื่องจากความลึกน้ำเพิ่มขึ้นทำให้อนุภาพของน้ำที่โคจรที่ผิวน้ำปะทะรากลดลงการลดทอนคลื่นจึงลดลง การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ แสดงให้เห็นว่า การลดทอนคลื่นมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับความชันคลื่นมากที่สุด ตามมาด้วยความยาวต้นโกงกางจำลอง ความหนาแน่นของต้นโกงกางจำลอง และความลึกน้ำตามลำดับ การศึกษานี้ยังนำเสนอสัมการทำนายการลดทอนคลื่นเนื่องจากลากและลำต้นโกง กางจำลอง ซึ่งให้ผลการทำนายดีพอสมควร
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1738
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น