กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1737
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ปีที่ 3: การจัดการความรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Health Information for Ageing Phase 3: Knowledge Management for Elderly Health Care in Eastern region of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เวธกา กลิ่นวิชิต
ยุวดี รอดจากภัย
คนึงนิจ อุสิมาศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: การจัดการความรู้
ครอบครัว
ชุมชน
ผู้สูงอายุ
สุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชนที่มีส่วน เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุในภาคตะวันออก และพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนภาคตะวันออก โดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมตามกระบวนการจัดการความรู้ ประชากร คือ ผู้สูงอายุ สมาชิกในครอบครัวและชุมชน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ปฎิบัติงานในองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลผู้สูงอายุในภาคตะวันอก ทีมคณะผู้วิจัยของแผนงานวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุขจำนวน 3 กลุ่มๆละ 30 คน และชุมชนจังหวัดสระแก้ว จำนวน 3 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 180 คน ขั้นตอนการศึกษาวิจัยตามกระบวนการจัดการความรู้ เครื่องมือเป็นแบบประเมินความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชน แบบสัมภาษณืแบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบบันทึกคลังความรู้โดยใช้การถอดบทเรียน(lesson learn) เพื่อหาแนวปฎิบัติที่ดีใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้พฤติกรรม ก่อนและหลังการเรียนรู้จากกระบวนการจัดการความรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุ มีค่าเฉลี่ยความรู้ด้านสุขภาพโดยรวมหลังการเรียนรู้มากกว่าก่อนเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านผู้สูงอายุมีความรู้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนพฤติกรรมด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพหลังการเรียนรู้มากกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยมีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 พฤติกรรมรับประทานยามากกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพฤติกรรมด้านการจัดการอารมณ์ ไม่แตกต่างกัน ในกลุ่มผู้ดูแลในครอบครัวและชุมชน พบว่า มีค่าเฉลี่ยความรู้ด้านสุขภาพโดยรวมหลังการเรียนรู้มากกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความรู้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แนวปฎิบัติที่ดีในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนนักปฎิบัติ จากการถอดบทเรียน มี 5 ชุมชน นักปฏิบัติ ได้แก่ 1.ชุมชนนักปฏิบัติกลุ่มอาหารสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ คือ 1) อาหารที่ผู้สูงอายุควรกิน 2) อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง 3) อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน 4) อาหารควบคุมน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน 5) อาหารช่วยการขับถ่ายในผู้สูงอายุและ 6) หลักการรับประทานอาหารพื่อภาวะโภชนการที่ดีในผู้สูงอายุ 2.ชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มการออกกำลังการภายในผู้สูงวัย โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ คือ 1) หลักการปฏิบัติในการออกกำลังกายในผู้สุงอายุ 2) การออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักในผู้สูงอายุที่เป็น เบาหวานหรือโรคอ้วน 3) รูปแบบการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 4) การใช้แรงในชีวิตประจำวันกับการออกกำลังกาย 5) ข้อห้ามหรือพึงระวังในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และ 6) F.I.T.T.E สำหรับผู้สูงอายุ 3. ชุมชนนักปฎิบัติ กลุ่มการจัดการอารมณ์และความเครียดในผู้สูงอายุ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ คือ 1) วิธีการคลายเครียด 2) การสร้างความสุขในชีวิตประจำวัน 3) แบบวัดความเครียด 4) แบบวัดภาวะซึมเศร้า และ 5) วิธีการฝึกจิต/สมาธิ 4. ชุมชนนักปฏบัติ กลุ่มรู้เรื่องยาในผู้สูงอายุ โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ คือ 1) หลักการใช้ยาในผู้สูงอายุ 2)วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง 3) พฤติกรรมการใช้ยาไม่เหมาะสมที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 4) ความรู้เกี่ยวกับยาในกลุ่ทยาที่ใช้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่น กลุ่มยารักษาโรคประจำตัว อาทิยาลดควาทดันโลหิต กลุ่มยานอนหลับและยาคลายความวิตกกังวล กลุ่มยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อ และกลุ่มยาวิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร 5. ชุมชนนักปฎิบัติ กลุ่มรู้เท่าทันโรคภัยไข้เจ็บในผู้สูงอายุ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ คือ 1) โรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน โรคไต 2) วีธีการป้องกันอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ 3) หกล้ม 4) โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ 5) การตรวจสุขภาพ และ 6) โรคสมองเสื่อม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1737
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_135.pdf4.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น