กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1736
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุเมตต์ ปุจฉาการ | |
dc.contributor.author | สิรินทร เทพมังกร | |
dc.contributor.author | เศรษฐพงษ์ ปุจฉาการ | |
dc.contributor.author | วิทยาลัยนานาชาติ | |
dc.contributor.author | มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:08:37Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:08:37Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1736 | |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรชีวภาพทางทะเลบริเวณหมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นโครงการวิจัยเพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โครงการ อพ.สธ.) เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่อง 2 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556-2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการ อพ.สธ. สำรวจและศึกษาสถานภาพปัจจุบันและจัดเก็บรวบรวมข้อมูลของทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี สำรวจประเมินศักยภาพและจัดการความรู้ทรัพยากรชีวภาพทางทะเล บริเวณหมู่เกาะแสมสารเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดชลบุรี ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพทางทะเล โดยพัฒนาโครงการนำร่องเพื่อเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรชีวภาพทางทะเลและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยสู่ผู้ที่เกี่ยว ข้องในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนผลการดำเนินงานโครงการปีงบประมาณ 2557 ของโครงการวิจัยฯ มีดังนี้คือ 1. การวางแผนงานวิจัยทั้งหมด ได้ดำเนินการประชุมคณะผู้วิจัยเพื่อวางกรอบแนวทางการดำเนินงานวิจัย ในปีที่ 2 ของโครงการวิจัยประกอบด้วย 1.1 คณะผู้วิจัยได้ประชุมวางแผนการออกสำรวจและเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมในเชิงลึกของพื้นที่ศึกษาที่ได้คัดเลือกไว้จำนวน 4 พื้นที่ของเกาะแสมสาร จำนวน 11 ครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนกรกฎาคม 2558 1.2 คณะผู้วิจัยได้เรียนเชิญที่ปรึกษาโครงการวิจัยเพิ่มเติมจากปีที่ 1 (ปีงบประมาณ 2556) จากหน่วยงานต้นสังกัดของคณะผู้วิจัยและผู้รับผิดชอบพื้นที่ศึกษาเพื่อเรียนปรึกษาและประชุมกลุ่มย่อยในการวางแผนกำหนดแนวทางในการดำเนินโครงการวิจัยปีที่ 2 ง 2. การจัดซื้อจัดจ้าง การประสานงาน ทาการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ สารเคมีทั้งในการสารวจและเก็บตัวอย่างและจาแนกชนิดตัวอย่างทรัพยากรชีวภาพทางทะเลของหมู่เกาะแสมสาร อุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลเพื่อเตรียมพร้อมเมื่อทาการออกสำรวจและเก็บข้อมูลและงานปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการหลังจากเก็บตัวอย่าง และได้ประสานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เกาะแสมสารในการเข้าถึงพื้นที่สำรวจ และร้านดำน้ำในการเช่าอุปกรณ์ดาน้าและเรือสำหรับออกสำรวจและเก็บตัวอย่าง การขออนุญาตเข้าพื้นที่สำรวจ พร้อมทั้งเตรียมความรู้และค้นคว้าเอกสารเพื่อใช้ในการอ้างอิงและพัฒนาฐานกิจกรรมการเรียนรู้ทรัพยากรชีวภาพทางทะเลของแต่ละชายหาด 3. การออกสำรวจในภาคสนามเพิ่มเติมบริเวณเกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ได้ออกสำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนามรวม 10 ครั้ง ได้แก่ เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน 2556 เดือนมกราคม เดือนมีนาคม เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม เดือนกรกฎาคม เดือนกันยายน ธันวาคม 2557 และเดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม 2558 เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพและทรัพยากรชีวภาพทางทะเลรวมทั้งระบบนิเวศชายฝั่ง ลักษณะเด่นและอัตลักษณ์ของพื้นที่ การเดินทางเข้าถึง ข้อมูลนักท่องเที่ยว ฯลฯองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยฯ ปีงบประมาณ 2557 การดำเนินงานวิจัยของโครงการวิจัย ฯ ปีงบประมาณ 2557 สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์และแผนที่วางไว้ และเป็นองค์ความรู้ของทรัพยากรชีวภาพทางทะเลในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สรุปได้ ดังนี้ 1. พื้นที่ที่คัดเลือกไว้เป็นพื้นที่ศึกษาจากการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามและการให้คำปรึกษาของคณะที่ปรึกษาฯ คณะผู้วิจัยได้คัดเลือกไว้เป็นพื้นที่ศึกษาของเกาะแสมสารเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จำนวน 4 หาด ได้แก่ หาดเทียน ทิศตะวันออกของเกาะแสมสาร, หาดหน้าบ้าน ทางทิศเหนือของเกาะแสมสาร, หาดลูกลม ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะแสมสาร และหาดเตย ทิศตะวันตกของเกาะแสมสาร ซึ่งแต่ละชายหาดมีลักษณะทางระบบนิเวศชายฝั่งที่แตกต่างกันและมีจุดสนใจที่แตกต่างกัน 2. ทรัพยากรชีวภาพทางทะเล จากการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม คณะผู้วิจัยได้พบทรัพยากรชีวภาพทางทะเลตามชายหาดต่าง ๆ ที่ได้คัดเลือกไว้ 4 ชายหาด รวมทั้งได้รวบรวมข้อมูลผลการวิจัยจากการสำรวจทรัพยากรชีวภาพทางทะเลในอดีต พบทรัพยากรชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ทะเลที่สามารถนำมาพัฒนาแหล่งเรียนรู้ประมาณ 200 ชนิด ซึ่งคณะผู้วิจัยจัดทำรายละเอียดของทรัพยากรชีวภาพทางทะเลเหล่านี้ประกอบคู่มือแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรชีวภาพทางทะเลและเส้นทางกิจกรรมการท่องเที่ยว คู่มือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เกาะแสมสารของชายหาดเกาะแสมสาร 3. การสำรวจข้อมูลนักท่องเที่ยวของเกาะแสมสาร เพื่อประเมินคุณภาพความเป็นนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จากสถิตินักท่องเที่ยวที่มาเยือนหมู่เกาะแสมสารหลังจากเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าเยี่ยมชมและร่วมกิจกรรมสันทนาการที่มีบริการบนเกาะ พบว่ามีจานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ซึ่งในแต่ละปีจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติและความต้องการ การท่องเที่ยวทางทะเลของนักท่องเที่ยวบริเวณเกาะแสมสาร ในการประเมินคุณภาพความเป็นนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ และเสริมสร้างนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คุณภาพดี ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในโครงการวิจัย การพัฒนาองค์ความรู้จากฐานทรัพยากรชีวภาพทางทะเลบริเวณหมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรีเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สรุปและวิจารณ์ผลการศึกษา จากการสำรวจความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและความต้องการต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักท่องเที่ยวบริเวณเกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง การศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีภูมิลาเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครมากที่สุด ส่วนใหญ่ไม่เคยมาเกาะแสมสารมาก่อน สื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจมาเยือนเกาะแสมสารคือ การพูดต่อกันปากต่อปาก กลุ่มการเดินทางเป็นกลุ่มเพื่อนมากที่สุด วัตถุประสงค์หลักในการเดินทางมาเยือนเกาะแสมสารคือ ต้องการหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่อึกทึก แออัดของเมืองมากที่สุด กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวคาดหวังว่าจะได้กระทำในเกาะแสมสารมากที่สุด ได้แก่ ดำน้ำดูปะการังน้ำตื้น นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย การศึกษาอยู่ในระดับ High school เป็นนักท่องเที่ยวที่มาจากทวีปเอเชีย ไม่เคยมาเกาะแสมสารมาก่อน สื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจมาเยือนเกาะแสมสารคือ จากคนที่เคยไปมาก่อน กลุ่มในการเดินทางส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวแวะแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ก่อนมาเยือนเกาะแสมสาร วัตถุประสงค์หลักในการเดินทางมาเยือนเกาะแสมสารเพื่อต้องการพักผ่อนร่วมกับเพื่อน ๆ กิจกรรมที่คาดหวังว่าจะได้กระทำในเกาะแสมสารมากที่สุด ได้แก่ ดำน้ำดูปะการังน้ำตื้น และการศึกษาวิถีชีวิตชุมชน จากการศึกษาความรู้ความเข้าใจของนักท่องเที่ยวต่อหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนมาก มีความรู้ความเข้าใจและสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้องซึ่งแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวส่วนมากมีคุณภาพความเป็นนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การศึกษายังแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จำนวนมากมีความเข้าใจตรงกันว่าการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คือการท่องเที่ยวที่ไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมและช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับองค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มุ่งเน้นและให้ความสาคัญกับการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและการไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผลการศึกษาความคิดเห็นของทัศนคติที่มีต่อการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักท่องเที่ยว พบว่าทัศนคติของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมีความคิดเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันทุก ๆ ข้อคำถาม โดยมีผลของทัศนคติที่ดีต่อการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผลการสอบถามความต้องการหรือข้อเสนอแนะที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยว สรุปได้ดังนี้ ด้านความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการให้มีป้ายชี้ทางที่มองเห็นชัดเจน บอกชื่อแหล่ง ทิศทาง และระยะทาง และควรมีป้ายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ควรจัดให้มีพาหนะรับจ้างที่เข้าถึงแหล่งเพิ่มขึ้น ควบคุมราคาค่าโดยสารและการบริการให้เหมาะสม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในแหล่ง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการให้เพิ่มที่จอดรถที่เป็นสัดส่วน มีการแบ่งประเภทรถชัดเจน เพิ่มที่พักผ่อน ควรเพิ่มจำนวนห้องน้า จัดแยกประเภทชัดเจน (ชาย หญิง) ดูแลซ่อมแซมและรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตลอดเวลา ในทุกแหล่งควรต้องมีหรือเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ ด้านคุณค่า ความสาคัญ และการดูแลรักษาสภาพธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยว ควรรักษาสภาพธรรมชาติดั้งเดิมไว้ ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น ดูแลรักษาต้นไม้และความสะอาด และประชาสัมพันธ์ให้เห็นความสาคัญที่จะต้องอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ด้านคุณค่า ความสาคัญ และการดูแลรักษาสภาพทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ควรมีวิทยากร ปูายให้ความรู้ นิทรรศการ มุมพิพิธภัณฑ์ หรือกิจกรรมการแสดงที่เกี่ยวข้องกับเกาะแสมสารและท้องถิ่น จัดให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไว้ และช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสาคัญด้านนี้ นอกจากนี้ควรสนับสนุนให้มีองค์กรที่เกิดจากความร่วมมือของคนในท้องถิ่นเข้ามาช่วยจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของแหล่งในด้านต่าง ๆ เช่น ความสะดวกในการเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม คุณค่าความสำคัญ การตอบรับของประชาชนในท้องถิ่น และการให้การศึกษา ด้านแนวโน้มในการกลับมาท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะกลับมาท่องเที่ยวในแหล่งเดิมอีก เนื่องจากประทับใจในความเป็นธรรมชาติ ทิวทัศน์ที่สวยงาม สงบ ร่มรื่น มีความหลากหลายทางชีวภาพ ความสวยงามเก่าแก่ และมีการคมนาคมที่สะดวกและปลอดภัย นอกจากนี้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เสนอให้พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยรอบเกาะแสมสาร โดยให้คงรักษาความเป็นธรรมชาติไว้ ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาด สงบ ร่มรื่น และมีการคมนาคมที่สะดวก ปลอดภัย และเชื่อมต่อถึงกันกับส่วนแหล่งท่องเที่ยวรอบทะเลแสมสารที่นักท่องเที่ยวรู้จัก หรือเคยได้ยินชื่อส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป หรือตั้งอยู่ใกล้เคียงกับแหล่งที่มาท่องเที่ยว เป็นต้น ข้อเสนอแนะ 1. เกาะแสมสารมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ทรัพยากรพื้นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของตัวเกาะจึงมีความจำกัดค่อนข้างสูงคือ ข้อจากัดด้านพื้นที่รองรับนักท่องเที่ยว การจัดการทรัพยากรสถานที่และสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณขยะ การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ควรเน้นให้ตั้งอยู่บนรากฐานของการควบคุมและจัดการผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษาระบบนิเวศ และการให้บริการที่มีคุณภาพปลอดภัย สามารถสร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว 2. ประชาสัมพันธ์ข้อกำหนด การปฏิบัติตนของนักท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว โดยให้เจ้าหน้าที่บนเกาะให้ความรู้พื้นฐาน เช่น เกาะแสมสารเป็นเกาะอนุรักษ์ เรื่องเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ก่อนที่จะเข้าสู่พื้นที่ท่องเที่ยวตามชายหาดต่าง ๆ 3. แนวทางในการการสร้างนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีคุณภาพดีให้มีจานวนมากขึ้นในอนาคตนั้น ควรมุ่งเน้นไปที่คุณภาพของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์รวมไปถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารที่นักท่องเที่ยวจะได้รับ เพื่อให้การสื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของแหล่งท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สามารถเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวที่อยู่ในวัยต่างกัน อาชีพต่างกันหรือแม้แต่ระดับการศึกษาที่ต่างกัน เป็นต้น ให้มีความรู้ความเข้าใจและแนวคิดหรือเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนั้นเพื่อการส่งเสริมให้มีนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น ข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่นักท่องเที่ยวได้รับก็ควรสอดคล้องกับความถี่ในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักท่องเที่ยวด้วย 4. ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความจาเป็นในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้จัดการพื้นที่และผู้บริหารระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะจานวนนักท่องเที่ยว พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่สัมพันธ์กับผลกระทบด้านต่าง ๆ จากการท่องเที่ยว เพื่อสามารถให้เกิดการตัดสินใจบนฐานของข้อมูลและวิชาการ เพื่อให้การเสริมสร้างนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีคุณภาพมีจำนวนมากขึ้นไปในอนาคต นำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในที่สุด 4. ผลการดำเนินการโครงการจัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ ดำเนินการจัดถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง “แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต หมู่เกาะแสมสาร จ. ชลบุรี” ตามแผนการดำเนินงานวิจัยฯ จะต้องมีการจัดฝึกอบรมเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาใช้ในการสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเรียนรู้ของเกาะแสมสาร คณะ ผู้วิจัยจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี” เพื่อนาข้อมูลองค์ความรู้และผลวิจัยของทรัพยากรชีวภาพทางทะเลมาถ่ายทอดแก่นิสิตนักศึกษาและบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาสร้างสรรค์รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวทางทะเลเพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ช โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อนำผลวิจัยที่ได้จากโครงการวิจัยฯ มาถ่ายทอดบรรยายให้ความรู้พื้นฐานรวมทั้งการฝึกปฏิบัติ การด้านส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้สร้างสรรค์และวิธีการวางแผนพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของเกาะแสมสารแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถประยุกต์สร้างสื่อนาเสนอการพัฒนาฐานกิจกรรมการเรียนรู้ และสร้างรูปแบบโมเดลการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และพัฒนาเป็นต้นแบบโครงการนำร่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของเกาะแสมสารจากแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรชีวภาพทางทะเล และ 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นและตระหนักถึงบทบาท คุณค่า และการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพทางทะเลของพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชของโครงการ อพ.สธ. อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีผลการประเมินโครงการดังนี้ 1. การกำหนดกลุ่มเป้าหมายของการจัดกิจกรรมโครงการฯ ประกอบด้วย นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมและเจ้าหน้าที่โครงการอพ.สธ. ประจาพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย จานวน 84 คน จากการดำเนินการพบว่าผู้เข้าร่วมอบรมจริง 84 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตอบแบบสอบถามประเมินโครงการฯจำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม แบ่งเป็นเพศชาย 36 คน คิดเป็นร้อยละ 42.9 เพศหญิง 48 คน คิดเป็นร้อยละ 57.1 2. ในภาพรวมผู้เข้ารวมอบรมโครงการฯ มีความพึงพอใจในระดับดี มีค่าเฉลี่ยที่ 4.08 และในส่วนค่าเฉลี่ยในด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.14 ด้านความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 3.90 ด้านการนำความรู้ไปใช้อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.13 และด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.14 5. การพัฒนาสร้างฐานกิจกรรมการเรียนรู้และแผนที่ของชายหาด 4 หาด ในแผนงานพัฒนาและออกแบบฐานกิจกรรมการเรียนรู้และแผนงานจัดทำป้ายแผนที่ชายหาดที่สอดคล้องกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชายหาดเกาะแสมสารคณะผู้วิจัยได้ร่วมประชุมและดำเนินการคัดเลือกชายหาดที่จะพัฒนาเป็นฐานกิจกรรมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไว้ 4 หาด คือ 1) หาดหน้าบ้าน 2)หาดเทียน 3) หาดลูกลม และ 4) หาดเตย ซึ่งมีการพัฒนาสร้างฐานกิจกรรมการเรียนรู้และแผนที่ของชายหาด 4 หาด ดังนี้ 1. แผนงานพัฒนาและออกแบบฐานกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชายหาดเกาะแสมสาร โดยมีวัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความรู้และความเข้าใจในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 1.2 เพื่อดึงดูดและเพิ่มความสนใจของนักท่องเที่ยวต่อสถานที่ท่องเที่ยว 1.3 เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความประทับใจและผสมผสานความสนุกสนานตื่นเต้นและท้าทาย เกิดความสามัคคี ด้วยฐานของกิจกรรมต่าง ๆ 2. แผนงานจัดทำป้ายแผนที่ชายหาดและข้อมูลสรุปทรัพยากรชีวภาพทางทะเลของแต่ละหาด พร้อมทั้งจุดที่ตั้งและรายละเอียดของฐานกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้ความรู้และเกิดความตระหนักในคุณค่าของแหล่งทรัพยากรชีวภาพทางทะเลชองหมู่เกาะแสมสาร 2.2 เพื่อสร้างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวด้านทะเล ซ 6. การจัดทำคู่มือแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรชีวภาพทางทะเลและเส้นทางกิจกรรมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ของชายหาดเกาะแสมสาร ในแผนงานการดำเนินการได้กำหนดจัดทำคู่มือแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรชีวภาพทางทะเลและเส้นทางกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชายหาดของเกาะแสมสารที่ได้คัดเลือกไว้ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ร่วมประชุมและดำเนินการออกแบบจัดทำคู่มือ โดยมีรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ตามเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์และสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเพื่อให้นักท่องเที่ยวนำข้อมูลที่มีอยู่ในมือไปดาเนินตามกิจกรรมการท่องเที่ยวของเกาะแสมสาร รวมทั้งนักท่องเที่ยวสามารถศึกษาข้อมูลก่อนไปศึกษาสภาพจริง โดยคณะทางานได้ดำเนินการจัดพิมพ์แจกใหักับนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวเกาะแสมสารและผู้สนใจทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการ 7. ผลการดำเนินการ โครงการนำร่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี ตามแผนการดำเนินงานวิจัยฯ ได้กำหนดให้ดำเนินการจัด “โครงการนำร่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี” เพื่อศึกษาและทดลองปฏิบัติรูปแบบการท่องเที่ยวเกาะแสมสารเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ได้พัฒนาขึ้นจากการวิจัย คณะผู้วิจัยจึงได้จัดทำโครงการ ฯ ดังกล่าวขึ้น เพื่อนาผลการประเมินและข้อสรุปจากการดำเนินโครงการมาเป็นข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาของงานวิจัยฯ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาและทดลองรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในจุดท่องเที่ยวของเกาะแสมสาร ที่ได้พัฒนาขึ้นจากการวิจัย 2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรและชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไปสู่ความยั่งยืนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โดยมีผลการประเมินโครงการจากการสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการ จานวน 60 คน มีรายละเอียด ดังนี้ จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน จากจำนวนที่กำหนดไว้ในโครงการ 60 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ถือว่าบรรลุเป้าหมายด้านปริมาณที่กำหนดไว้ ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นครูอาจารย์ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 26.6 เจ้าหน้าที่และบุคคลทั่วไปจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 50 และนักศึกษาจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 23.4 โดยแยกเป็นเพศชาย จำนวน 24 คน และ เพศหญิง จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 40 และ 60 ตามลำดับ สำหรับสถานภาพและอาชีพของผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นภาครัฐ 15 คน ภาคบริษัทเอกชน 10 คน กำลังศึกษา 7 คน และธุรกิจส่วนตัว 28 คน คิดเป็นร้อยละ 25.0, 16.7, 11.6 และ 46.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ร้อยละ 23.3 มาจากภาคตะวันออกจำนวน 14 คน และร้อยละ 76.7 เป็นผู้ที่มาจากกรุงเทพมหานครและภาดอื่น ๆ จำนวน 46 คน การแสดงความคิดเห็นที่มีต่อการจัดโครงการทั้ง 4 ด้าน มีระดับความคิดเห็นรวมอยู่ที่ 4.48 ระดับมาก เมื่อพิจารณาระดับความคิดเห็นแยกทีละด้าน มีผลดังนี้ ด้านความรู้ความเข้าใจ มีระดับความคิดเห็น 4.48 ระดับมาก ด้านความพึงพอใจ 4.35 ระดับมาก ด้านการนำความรู้ไปใช้ มีระดับความคิดเห็น 4.49 ระดับมาก และด้านภาพรวมของโครงการอบรม มีระดับความคิดเห็น 4.60 ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน สามารถสรุปได้ดังนี้ ด้านความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น 3 อันดับแรก ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับสามารถนำไปพัฒนาทักษะการเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตรงตามวัตถุประสงค์เพื่อเสริม สร้างคุณธรรมและจริยธรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และตรงตามวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการนาความรู้ไปประยุกต์ใช้กับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ด้านความพึงพอใจ ความคิดเห็น 3 อันดับแรก ได้แก่ การถ่ายทอดของวิทยากร ความสามารถในการอธิบายเนื้อหาที่ชัดเจนและตรงประเด็น และเอกสารประกอบการบรรยาย ด้านการนาความรู้ไปใช้ ความคิดเห็นลาดับที่ 1 เท่ากัน 2 รายการ คือ สามารถนาความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ และสามารถนาความรู้ไปเผยแพร่หรือถ่ายทอดแก่ผู้อื่น/ชุมชนได้ ส่วนลำดับที่ 2 คือ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ด้านภาพรวมของโครงการอบรม ความคิดเห็นลำดับที่ 1 คือ ประโยชน์ที่ได้รับ และลำดับที่ 2 ความพึงพอใจต่อโครงการ ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงใช้ในครั้งต่อไป หลังจากที่ดำเนินการรายงานการประเมินผลโครงการฝึกอบรม “โครงการนำร่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี” เสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะผู้ทำงานได้ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน โดยมีข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆ สำหรับนำไปปรับใช้ในการจัดโครงการครั้งต่อไปดังนี้ 1. ผู้เข้าร่วมโครงการอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีกเพราะเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและให้ความรู้สามารถนำไปใช้ในชีวิตการท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่น่าสนใจ 2. ผู้เข้าร่วมโครงการให้ข้อคิดเห็นว่าโครงการฝึกอบรมฯ เป็นกิจกรรมที่ดี สมควรจัดโครงการลักษณะนี้อีกเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 8. การเผยแพร่ผลงานวิจัยของโครงการวิจัยฯ ผลงานวิชาการจากโครงการวิจัยการพัฒนาทรัพยากรชีวภาพทางทะเลบริเวณหมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรีเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) ได้ถูกนำเสนอเผยแพร่ในการประชุมวิชาการ 2 เรื่องคือ 1. ผลงานวิจัยเรื่อง “สถานภาพการท่องเที่ยวทางทะเลของนักท่องเที่ยวบริเวณเกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี” ในการนาเสนอผลงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 (สาขาสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), มน.สค.32/P203. 3-6 กุมภาพันธ์ 2558. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 2. ผลงานวิจัยเรื่อง “ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและความต้องการต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักท่องเที่ยว บริเวณเกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี” กำลังส่งบทคัดย่อและเรื่องเต็มเพื่อรับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมวิชาการการประชุมวิชาการ ชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ครั้งที่ 7 ในงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ “ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน” ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจาปี 2557 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ทรัพยากรชีวภาพทางทะเล | th_TH |
dc.subject | หมู่เกาะแสมสาร | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | การพัฒนาทรัพยากรชีวภาพทางทะเลบริเวณหมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรีเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ | th_TH |
dc.title.alternative | Marine biological resources at Samae-sarn Islands, Chon Buri province for learning sources and eco-tourism development | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2558 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2559_119.pdf | 39.97 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น