กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17367
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาศักยภาพและกระบวนการบริหารจัดการกิจกรรมกีฬาเรือพายเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Developing potential and management processes for rowing activities to support sports tourism in the Eastern Economic Corridor (EEC) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กมลมาลย์ พลโยธา อัตถสิทธิ์ ไชยณรงค์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | การจัดกิจกรรมกีฬาเรือพาย การท่องเที่ยวเชิงกีฬา การบริหารจัดการ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) |
วันที่เผยแพร่: | 2567 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพและสภาพปัจจุบันของการกิจกรรมกีฬาเรีอพาย 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาและกลุ่มผู้ติดตาม 3) เพื่อ วิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการกิจกรรมกีฬาเรีอพาย และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา ศักยภาพและกระบวนการบริหารจัดการกิจกรรมกีฬาเรีอพายเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ทั้งวิจัยเชิง ปริมาณ (Quantitative Research) และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวม ข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาและกลุ่มผู้ติดตามที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 8 คน และ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาและกลุ่มผู้ติดตาม เพื่อการจัดกิจกรรมกีฬาเรือพาย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา 1.1 พฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาเรือพายของกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาและกลุ่มผู้ติดตาม ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาเรือพาย 2 ครั้ง ความถี่การเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาเรือพายขึ้นกับเวลาและโอกาส โดยมากับชมรมและกลุ่มเพื่อน ใช้ระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรม 1 วัน มีการเตรียมตัวด้วยการฝึกซ้อมด้วยตนเอง รับรู้ข่าวสารผ่านชมรมและสื่อสังคมออนไลน์ 1.2 ผลการวิเคราะห์แรงจูงใจของกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาเรือพาย ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการตลาดเชิงประสบการณ์ ด้านความสำเร็จในตน ด้านแรงจูงใจทางจิตวิทยา ด้านแรงจูงใจทางสังคม และด้านสุขภาพ ส่วนแรงจูงใจของกลุ่มผู้ติดตามที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาเรือพาย ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการตลาดเชิง ประสบการณ์ ด้านแรงจูงในทางจิตวิทยา ด้านสุขภาพ ด้านความสำเร็จในตน และด้านแรงจูงใจทาง จิตวิทยา 1.3 ผลการวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาเรือพาย ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านนวัตกรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านพื้นที่ ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการ ส่วนความต้องการของกลุ่มผู้ติดตามที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา เรือพาย ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านกระบวนการ ด้านบุคลากร ด้านพื้นที่ และด้านนวัตกรรม 2. ผลการศึกษาศักยภาพและสภาพปัจจุบันของการจัดกิจกรรมกีฬาเรือพายเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 2.1 ศักยภาพและสภาพปัจจุบันของการจัดกิจกรรมกีฬาเรือพายเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่า โดยภาพรวมมีความพร้อมในการบริหารจัดการ การจัดกิจกรรมกีฬาเรีอพายเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เป็นผลมาจากการมีธรรมชาติและภูมิ ประเทศเป็นจุดดึงดูด กลุ่มผู้จัดกิจกรรมตั้งจุดหมายไว้อย่างชัดเจน มีนโยบายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา แต่ควรต้องมีการส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงในการบริหารจัดการร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง และเกิดประโยชน์สูงสุด 2.2 ผลการศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ของการจัดกิจกรรมกีฬาเรือพายเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่า ศักยภาพเชิงพื้นที่ในการจัดจัดกิจกรรมกีฬาเรือพาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกลยุทธ์ โครงสร้าง และการแข่งขัน ด้านโอกาส ด้านอุปสงค์ความต้องการของ ตลาด ด้านองค์กรสนับสนุนและเกี่ยวเนื่อง ด้านปัจจัยการผลิตและปัจจัยดำเนินงาน และด้านบทบาท ภาครัฐ 3. การวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการกิจกรรมกีฬาเรีอพาย เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิง กีฬา ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การวิเคราะห์ศักยภาพการจัดกิจกรรมกีฬาเรีอพาย เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตามแนวคิดแบบจำลองเพชร (Diamond Model) ของ Porter (1990) ความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงบวกในความพร้อมและเพียงพอ พบว่า การมีภูมิประเทศ แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม การมีกลุ่มผู้จัดกิจกรรมกีฬาเรือพายมืออาชีพ กระแสความต้องการออกกำลังกายการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาในท่องเที่ยวเชิงกีฬา มีการกำหนดนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่ชัดเจน ทั้งหมดเป็นการส่งเสริมพัฒนาการจัดการกิจกรรมกีฬาเรีอพาย เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในขณะที่ความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงลบ พบว่า ขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดกิจกรรมกีฬาเรือพายที่ได้มาตรฐาน ต้องมีการเชื่อมโยงการจัดกิจกรรมกีฬาเรือพายกับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น และเพิ่มการทำงานร่วมกับระหว่างหน่วยงานอย่างบูรณาการ 4. แนวทางการพัฒนาศักยภาพและกระบวนการบริหารจัดการกิจกรรมกีฬาเรีอพาย เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการพัฒนาศักยภาพและกระบวนการบริหารบริหารจัดการกิจกรรมกีฬาเรีอพาย เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) “8s Model” ประกอบด้วย 1) “So Good” สนุก ดี มีความสุข 2) “Social Media” สื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย 3) “Standardization” ความเป็นมาตรฐาน 4) “Safety” ความปลอดภัย 5) “Satisfaction” สร้างความพึงพอใจ 6) “Self Esteem” ความภาคภูมิใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม 7) “Series” กิจกรรม ต่อเนื่องหลากหลายประสบการณ์ 8) “Signature” โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ซึ่งประกอบ รวมเข้าด้วยกันตามมุมมองของกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้จัดกิจกรรม กลุ่มผู้จัดการท่องเที่ยว และกลุ่มผู้ให้การสนับสนุน |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17367 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2568_124.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น