กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1705
ชื่อเรื่อง: การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและประเมินศักยภาพและขีดความสามารถรองรับมลพิษในพื้นที่ชุมชนเมืองและอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Monitoring environmental quality and evaluation of pollution potential and carrying capacity in Urban Communities and industrial area in Eastern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัทราพร สร้อยทอง
กรรณิการ์ จันทร์ชิดฟ้า
สุชาติ ชายหาด
ภาสิรี ยงศิริ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มลพิษ -- ไทย (ภาคตะวันออก)
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ตรวจสอบ ประเมินพื้นที่เสี่ยงและคุณภาพสิ่งแวดล้อม ชุมชนเมืองและอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออก 2) ประเมินศักยภาพและขีดความสามารถรองรับการพัฒนาชุมชนเมืองและอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม 3) เสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษ 4) จัดทำฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองและอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออก วิธีการวิจัยเป็นการสำรวจข้อมูลภาคสนามและรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ และอากาศแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมทั้งเชิงประยุกต์และเชิงปริมาณ ผสมด้วยภูมิศาสตร์สารสนเทศ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในช่วงระยะเวลากว่าสี่สิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกที่มีแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นแม่แบบในการพัฒนา ผลักดันให้เกิดการพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและเกิดการพัฒนารูปแบบการกลายเป็นเมืองและอุตสาหกรรมในพื้นที่ตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญ โดยรูปแบบการกระจายตัวของเมืองมีการพัฒนาจากรูปแบบวงแหวนคือมีศูนย์กลางในบริเวณหนึ่ง และค่อย ๆ ขยายตัวออกแบบไปโดยในพื้นที่ภาคตะวันออกมีเขตเมืองและศูนย์กลางเมืองหลายแห่งส่งผลให้รูปแบบการกระจายตัวของภูมิภาคมีพัฒนาการกลายเป็นรูปแบบกลุ่มดาว การกลายเป็นเมืองและอุตสาหกรรมก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ การศึกษาชี้ว่าภาคตะวันออกมีปริมาณมลพิษทั้งทางอากาศและน้ำกระจายอยู่หลายส่วนของภูมิภาค คุณภาพพอากาศมีระดับมลพิษสูงในบางพื้นที่ คุณภาพน้ำผิวดินมีหลายพื้นที่ที่มีค่าความเข้มและปริมาณสูงกว่าค่ามาตรฐานปรากฏเป็นบางพื้นที่ คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งมีสภาพเสื่อมโทรมในบางช่วงเวลาพื้นที่เสี่ยงคุณภาพสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ พื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปริมาณมลพิษมากเกินกว่าขีดความสามารถในการรองรับมลพิษและมีศักยภาพในการรองรับมลพิษอยู่ในระดับต่ำ เป็นพื้นที่ศูนย์กลางกระจายมลพิษแพร่สู่พื้นที่ใกล้เคียงทั้งภายในจังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา นอกจากนั้นยังมีอีกหลายพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการปล่อยมลพิษจนเกินขีดศักยภาพ ในการรองรับมลพิษของพื้นที่ในอนาคต ข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษ คือ การวางแผนพัฒนาเมืองหรืออุตสาหกรรมด้วยแนวคิดเมืองนิเวศ ผลักดันแนวคิดการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและควบคุมแหล่งกำเนิด ดำเนินการออกกฎหมายและข้อกำหนดที่จำเป็น และข้อบังคับใช้มาตรการเหล่านั้นอย่างจริงจัง การดำเนินการต่าง ๆ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยรอบ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1705
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น