กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1696
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorชุติวรรณ เดชสกุลวัฒนาth
dc.contributor.authorปรีชา ภูวไพรศิริศาลth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T09:08:34Z
dc.date.available2019-03-25T09:08:34Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1696
dc.description.abstractพื้นผิวโลกมากกว่าร้อยละ 70 ถูกปกคลุมด้วยทะเลดังนั้นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากจุลินทรีย์ทะเลจึงป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียทดสอบโดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่กับฟองน้ำในทะเลไทย ซึ่งจะเป็นแหล่งใหม่ของสารออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย จากการคัดแยกแบคทีเรียทะเล ที่อาศัยอยู่กับฟองน้ำจำนวน 33 ตัวอย่าง ที่เก็บมาจากบริเวณชายฝั่งหมู่เกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี สามารถคัดแยกแบคทีเรียทะเลได้ 197 สายพันธุ์ พบแบคทีเรียอาศัยอยู่ในฟองน้ำแต่ละตัวอย่างมีปริมาณแบคทีเรียที่แตกต่างกันโดยพบจำนวนน้อยที่สุดใน ฟองน้ำครกสีม่วง TAO-E-02, Xestospongia testudinaria จำนวน 2.0 x 103 โคโลนีต่อกรัม และมากที่สุดฟองน้ำท่อพุ่มสีแดง TAO-G-08 Oceanapia sagittaria จำนวน 8.66 x 106 โคโลนีต่อกรัม จากการตรวจสอบฤทธิ์การต้านแบคทีเรียทดสอบโดยแบคทีเรียทะเลจำนวน 197 สายพันธุ์ โดยตรวจสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมบวก ได้แก่ Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus และแกรมลบ ได้แก่ Psedomonas aeruginosa, Vibrio alginoliticus และ Escherichia coli พบว่ามีแบคทีเรียทะเลที่อาศัยอยู่กับฟองน้ำ 21 สายพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ10.6 ที่แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ทดสอบ ได้แก่ B. subtilis, S. aureus, P. aeruginosa และ E. coli แต่ไม่มีแบคทีเรียทะเลใดสามารถยับยั้ง V. alginoliticus โดยในจำนวนนี้มี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ T55 H 1-6, T55 J 2-7, และ T55 J 2-6 ที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ดีที่สุดทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ และสามารถจำแนกชนิดได้เป็นสกุล Pseudoalteromonas spp. และ Pseudomonas sp. ตามลำดับ เมื่อนำสายพันธุ์ที่แสดงฤทธิ์ทั้ง 21 สายพันธุ์ มาทำการเพาะเลี้ยงและสกัดสารแยกออกเป็นส่วนของน้ำเลี้ยงสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตท และส่วนของเซลล์สกัดด้วยสารละลายผสมเมทานอลและคลอโรฟอร์ม (อัตราส่วน 2:1) และระเหยแห้งด้วย Rotary Evaporator จนได้สารสกัดหยาบทั้งสองส่วน จากนั้นนำไปทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียซ้ำด้วยวิธี Disc Diffusion Agar Assay พบว่าสารสกัดหยาบของแบคทีเรียทะเลนี้มีเพียง 11 สายพันธุ์ที่ยังคงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทดสอบได้แก่ B. subtilis, S. aureus และ V. alginoliticus แต่มีสารสกัดหยาบของแบคทีเรียทะเล 10 ตัวอย่างสูญเสียความสามารถในการยับยั้ง E. colith_TH
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ งบประมาณแผ่นดินปี 2558 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์เสริมอาหารth_TH
dc.subjectฟองน้ำทะเลth_TH
dc.subjectแบคทีเรียทะเลth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleจุลชีพที่อาศัยอยู่กับฟองน้ำ: แหล่งใหม่ของ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ระยะที่ 2th_TH
dc.title.alternativeMarine microbes associated with sponges as sources of bioactive compounds and food supplements, Phase IIen
dc.typeResearch
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeMore than 70% of the Earth’s surface cover with the seas, marine derived microbial natural products have been largest and many unique microorganisms, which produce biological active compounds to adapt to particular environmental conditions. For examples, antibiotics are secondary metabolites of biosynthetic pathways in microorganisms. The aim of this study was to screening of antibacterial activity from sponge-associated bacteria. A total of 197 isolates from 33 sponges collected from northern to western coast of Tao Island, Suratthani Province were screened for antibacterial activity using disc diffusion agar assay. The result showed that 21 isolated bacteria(about 10.6%) exhibited antagonistic activity against the test bacteria, gram positive bacteria, Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus and gram negative bacteria, Vibrio alginolyticus and/or Escherichia coli. Among them, 3 isolates, T55 H 1-6, T55 J 2-7, and T55 J 2-6 showed high antibacterial activity against to all test gram positive- and gram negative bacteria. These isolates were identified as Pseudoalteromonas spp. and Pseudomonas sp. respectively. In further study, culture supernatant and cell pellets were extracted with ethyl acetate and mix solvents of methanol and chloroform (ratio 2:1) then both extracted fractions were evaporated by Rotary vacuum evaporator. Only ethyl acetate extracts indicated the high potential antibacterial activity from confirmed assay against test bacteria, B. subtilis, S. aureus and V. alginolyticus. The results obtained in this study suggest that sponge-associated bacteria may be an interesting source for discovery of antibacterial agents.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น