กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1692
ชื่อเรื่อง: ฟองน้ำทะเล: ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพที่เป็นทางเลือกใหม่ในการใช้ตรวจติดตามมลพิษจากโลหะหนักบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย (ปีที่ 1)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marine sponges: The new alternative bioindicators to monitor heavy metal pollution in the eastern coast of the gulf of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: แววตา ทองระอา
ฉลวย มุสิกะ
อาวุธ หมั่นหาผล
สุเมตต์ ปุจฉาการ
สุพัตรา ตะเหลบ
วันชัย วงสุดาวรรณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ฟองน้ำทะเล
มลพิษ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
โลหะหนัก
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: แผนงานวิจัยนี้ ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 2 โครงการ คือ คุณภาพสิ่งแวดล้อมในถิ่นอาศัยของฟองน้ำทะเลบริเวณชำยฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย และ การติดตามการสะสม ของโลหะหนักในฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย ระยะเวลาทำการศึกษา 2 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2558 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ฟองน้ำทะเลเป็นดัชนีชี้ วัดทางชีวภาพในการตรวจติดตามมลพิษจากโลหะหนักบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย โดยทำการศึกษาในพื้นที่ 3 บริเวณ คือ เกาะสะเก็ด และหมู่เกาะมัน จังหวัดระยอง และหมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี รวม 7 สถานี สำรวจและเก็บตัวอย่างจำนวน 3 ครั้ง คือ ในเดือนมกราคม ตุลาคม และธันวาคม พ.ศ. 2557 รายงานฉบับนี้ เป็นผลการศึกษา ในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นปีแรกของโครงการ ผลการศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในถิ่นอาศัยของฟองน้ำทะเล พบว่าคุณภาพน้ำทะเลในบริเวณพื้นที่ศึกษา มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลของไทยตามประเภทการใช้ประโยชน์คุณคุณภาพน้ำทะเลในแต่ละพื้นที่ ดังนี้ คุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสำหรับพื้นที่หมู่เกาะมัน และคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอุตสาหกรรมและท่าเรือสำหรับพื้นที่เกาะสะเก็ดและหมู่เกาะสีชัง ดินตะกอนมีสภาพเป็นด่าง (ค่าความเป็นกรด-ด่าง 8.1 - 9.2) มีปริมาณสารอินทรีย์ค่อนข่างต่ำ (0.2 - 2.1%) และส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นดินทราย การสำรวจประชากรแพลงก์ตอนพืช พบทั้งสิ้ น 78 สกุล แพลงก์ตอนพืชที่มีความชุกชุมมากที่สุดทุกสถานีและทุกเดือนที่สำรวจ คือ กลุ่มไดอะตอม ปริมาณแพลงก์ตอนพืชมีความหนาแน่นสูงสุดในเดือนมกราคม รองลงมาคือ ธันวาคม และ ตุลาคม ตามลำดับ และพบสูงสุด ในพื้นที่เกาะสะเก็ด รองลงมา คือ หมู่เกาะสีชัง และ หมู่เกาะมัน ตามลำดับ ความหลากหลายทางชีวภาพ ของฟองน้ำทะเล พบทั้งสิ้น 40 ชนิด จาก 33 สกุล 27 วงศ์ และ 10 อันดับ หมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี พบฟองน้ำทะเลมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด จำนวน 24 ชนิด รองลงมา คือ หมู่เกาะมัน จังหวัดระยอง พบ 21 ชนิดและบริเวณเกาะสะเก็ด จังหวัดระยอง พบ 16 ชนิด กำรสะสมโลหะหนัก 7 ชนิด ได้แก่ Cd, Cu, Fe, Hg. Ni, Pb และ Zn ในฟองน้ำทะเลจำนวน 31 ชนิด รวม 91 ตัวอย่ำง พบว่ำ ฟองน้ำมีการสะสม Cd, Cu, Hg. Ni และ Zn ได้มากกว่าความเข้มข้นโลหะหนักดังกล่าวที่มีอยู่ในน้ำทะเลและดินตะกอน ยกเว้น Fe และ Pb ซึ่งพบในดินตะกอน มากกว่าในฟองน้ำ โดยฟองน้ำที่อาจจะใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพในการติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนโลหะหนักได้ดีในบริเวณหมู่เกาะมัน และเกาะสีชัง คือ Petrosia (Petrosia) sp. และบริเวณเกาะสะเก็ด คือ Chondrosia reticulate (Carter) เพราะเป็นฟองน้ำชนิดเด่นในพื้นที่ อย่างไรก็ตามควรจะได้มีการติดตามการสะสมโลหะหนักซ้ำอย่างต่อเนื่องทั้งใน บริเวณนี้ และบริเวณอื่น ๆ ด้วย เพื่อยืนยันผลและให้ได้ข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากเป็นองค์ความรู้ที่ไม่พบว่ามีรายงานมาก่อนในประเทศไทย This research program was divided into 2 research projects as follows: 1) environmental quality in marine sponge habitats in the eastern coast of the gulf of Thailand and 2) Monitoring of heavy metals accumulation in marine sponges in the eastern coast of the gulf of Thailand. The study period is 2 years from 2014-2015. This study aimed to investigate the use of marine sponges as bioindicator to monitor heavy metal pollution in the eastern coast of the gulf of Thailand. The samples were collected from 3 study areas at Ko Mun and Ko Saket in Rayong province and Ko Si Chang in Chon Buri province (a total of 7 stations) during January, October and December 2014. The results of the first year project (2014) are reported here. The results of environmental quality in marine sponge habitats indicated that the water quality of the study areas was still compiled with Thai Marine Water Quality Standard according to the classification of marine water in each study area. It was compiled with Class 1 natural resource preservation areas at Ko Mun and Class 5 industrial or ports zone at Ko Saket and Ko Si Chang. The sediments were alkaline (pH 8.1 - 9.2) with low organic matter contents (0.2 - 2.1%) and the sediment texture was mostly sand. Seventy eight genera of phytoplankton were recorded. The most abundance phytoplankton at every station and every month surveyed was diatom. The highest cell density of phytoplankton was in January followed by December and October, respectively and was found at Ko Saket followed by Ko Si Chang and Ko Mun, respectively. Species diversity of marine sponges was investigated and found 40 species of 33 genera, 27 families and 10 orders. The highest species diversity was found at Ko Si Chang (24 species), followed by Ko Mun (21 species) and Ko Saket (14 species), respectively. Accumulation of 7 heavy metals (Cd, Cu, Fe, Hg. Ni, Pb and Zn) in marine sponges was analyzed in 91 samples of 31 species. Results showed that marine sponges accumulated Cd, Cu, Hg. Ni and Zn more than those found in seawater and sediments, except Fe and Pb were accumulated in the sediments higher than those found in the sponges. The sponge that can be used as bioindicator to monitor heavy metal pollution at Ko Mun and Ko Si Chang was Petrosia (Petrosia) sp., whereas that at Ko Saket was Chondrosia reticulate (Carter), because they are dominant species in the areas. However, a continuous monitoring of heavy metals accumulation in marine sponges should be conducted in the study areas and others as well in order to confirm the results and get more valuable data, due to lack of available information of heavy metals in marine sponges in Thailand
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1692
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_031.pdf5.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น