กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1689
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | เสาวภา สวัสดิ์พีระ | th |
dc.contributor.author | วิรชา เจริญดี | th |
dc.contributor.author | วิไลวรรณ พวงสันเทียะ | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:08:34Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:08:34Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1689 | |
dc.description.abstract | การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิต พฤติกรรมการอาศัยอยู่ การซ่อนตัว การกินอาหาร การสืบพันธุ์ การเจริญพันธุ์ ระยะเวลาที่ปลาแมนดารินวัยอ่อนสามารถที่จะระบุเพศได้ รวมถึงการผสมพันธุ์ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมน ดารินในเชิงพาณิชย์ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า พ่อแม่พันธุ์แมนดารินที่ใช้ในการทดลอง เพศผู้มีขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 4.44+0.32 กรัม ความยาวเหยียดเฉลี่ย 6.05+0.70 เซนติเมตร เพศเมียมีขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 3.97 +0.70 กรัม ความยาวเหยียดเฉลี่ย 5.44+0.70 เซนติเมตร จากการสังเกตพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีและการสืบพันธุ์ในระบบเลี้ยง พบว่า ปลาแมนดารินจะเริ่มมีการเกี้ยวพาราสีในช่วงเวลาหลังท้องฟ้าเริ่มมืด (ช่วงเวลา 18.30 น.) และจะเริ่มการผสมพันธุ์เวลา 19.01 น. ระยะเวลาที่เกี้ยวพาราสีและผสมพันธุ์จะใช้เวลาประมาณ 22 วินาที หลังจากการผสมพันธุ์ครั้งแรกผ่านไปแล้ว และจะมีการเกี้ยวพาราสีและผสมพันธุ์กันอีกครั้ง เวลาประมาณ 19.55 น. จะห่างจากการผสมพันธุ์ครั้งแรกเป็นเวลา 54 นาที สิ้นสุดการเฝ้าสังเกตเวลา 20.30 น. ปลาแมนดารินสามารถแยกเพศได้ในอัตราส่วน เพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 16:9 ตัว (N=25) โดยเพศผู้เปลี่ยนเพศเมื่ออายุเฉลี่ย (+SE) 197.50+4.92 วัน มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเท่ากับ 0.82+.04 กรัม มีความยาวเหยียด เฉลี่ย 10.34 +0.22 เซนติเมตร เพศเมียเปลี่ยนเพศเมื่ออายุเฉลี่ย (+SE) 223.78+ 4.98 วัน มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเท่ากับ 0.60+.036 กรัม มีความยาวเหยียดเฉลี่ย 10.42+0.29 เซนติเมตร ความสมบูรณ์เพศของแมนดารินหลังจากการจับคู่เมื่อสามารถแยกเพศได้แล้ว จากการศึกษาลักษณะภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงส่วนของหัวเพศผู้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าเพศเมีย และครีบหลังจะมีความยาวมากกว่าเพศเมียอย่างชัดเจน ส่วนเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้ มีขนาดส่วนหัวที่เล็กกว่าและครีบหลังสั้นกว่าเพศผู้ชัดเจน โดยเพศผู้มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 5.36-6.06 กรัม น้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 5.62 + 0.38 กรัม ความยาวเหยียดเท่ากับ 105.67 เซนติเมตร โดยเพศเมียมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 2.73-3.22 กรัม น้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 3.01+ 0.25 กรัม ความยาวเหยียดเฉลี่ยเท่ากับ 65.24 + 9.08 เซนติเมตร และสามารถผสมพันธุ์วางไข่ได้ครั้งแรกเมื่ออายุ 527 วัน จำนวนตัวอ่อนเท่ากับ 54 ฟอง ปลาแมนดารินสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี ที่อุณหภูมิน้ำ 24-28.4 องศาเซลเซียส การเจริญพัฒนาของคัพภะ แบ่งออกเป็น 8 ระยะ ได้แก่ Zygote Period; Cleavage Period; Blastula Period; Gastrula Period; Segmentation period; Pharyngulal period; Hatching period; Early larval period ภายหลังการปฏิสนธิ (+SD)12 ชั่วโมง + 2 ชั่วโมง ตัวอ่อนจึงฟักออกจากไข่ ลูกปลาแมนดารินในระยะแรกเกิดมีขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ยเท่ากับ 1.51 + 0.02 มิลลิเมตร การเจริญพัฒนาของวัยอ่อน แบ่งตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้แก่ ระยะที่ อายุแรกเกิด- 3 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (1.81+ 0.02 มม.) รูปร่างลักษณะลำตัวแบน ปลายหางแหลม; อายุ 5-10 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (2 + 0.03 มม.) รูปร่างเปลี่ยนแปลงจากลักษณะของลำตัวที่แบนเป็นรูปร่างที่ชัดเจนขึ้น ขนาดของส่วนท้องขยายใหญ่ขึ้นอย่างชัดเจน หางกว้างขึ้นแต่ยังไม่มีสี และเริ่มมีสีของลำตัวคือเขียวอมน้ำตาลอ่อนมีจุดดำเล็กๆตามลำตัว; อายุ 18 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (6.80±2.63 มม.) เริ่มมองเห็นจุดดำและจุดเขียวขี้ม้าตามส่วนหัวและลำตัวชัดเจนขึ้นรูปร่างของลำตัวก็มีการเปลี่ยนแปลงมีข้อปล้องเกิดขึ้น; อายุ 20 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (5.15±0.72 มม.) เริ่มมีลายเกิดขึ้นเล็กน้อยบริเวณส่วนหัวและตรงกลางของลำตัว; อายุ 25 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (6.06±0.70 มม.) ลายและสีบริเวณส่วนหัวและลำตัวเริ่มมีสีเขียวขี้ม้าเข้ม ผสมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวเล็กๆ ตามลำตัว; อายุ 30-35 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (7.35±1.42 มม.) เริ่มมีสีส้มอ่อนเกิดขึ้นผสมกับสีน้ำตาลอ่อนเล็กน้อยบริเวณส่วนหัวและลำตัว สังเกตเห็นลายและสีส้มอ่อนบริเวณส่วนหัวและลำตัวชัดเจนในวันที่ 35; อายุ 40 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (7.64 ± 2.25 มม.) บริเวณครีบหลังเริ่มมีสีน้ำตาลอ่อนเกิดขึ้น และบริเวณคอดหางมีสีน้ำตาลอมเขียวเข้ม; อายุ 45 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (8.45±2.9 มม.) ลำตัวเริ่มมีลวดลายสีฟ้า เลนส์ตานอกสุดเป็นสีส้มชัดเจนและบริเวณปลายหางเริ่มมีสีน้ำเงิน เกิดขึ้น; อายุ 50-60 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (12.23 ± 2.40 มม.) เริ่มมีสีน้ำเงินเกิดขึ้นบริเวณ ครีบอกปลายครีบหลัง และปลายหางเกิดและจะเป็นสีน้ำเงินชัดเจนในวันที่ 60; อายุ 80 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (16.06 ± 1.25 มม.) สีส้มตามลำตัวเริ่มชัดเจนขึ้น มีสีและลวดลายที่สม่ำเสมอ; อายุ 90 วัน ขนาดความยาวเหยียดเฉลี่ย (18.19 ± 1.28 มม.) รูปร่าง ลวดลาย สีสัน ชัดเจนเหมือนกับพ่อแม่พันธุ์ทุกประการ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ปลา - - การเพาะเลี้ยง | th_TH |
dc.subject | ปลา - - การเลี้ยง | th_TH |
dc.subject | ปลาแมนดาริน | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) ในที่กักขัง | th_TH |
dc.title.alternative | Some biology of mandarinfish, Synchiropus splendidus(Herre, 1927) in captive system | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2558 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2559_021.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น