กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1685
ชื่อเรื่อง: | การสำรวจความชุกและโอกาสเกิดโรคในปลาแมนดาริน Synchiropus splendidus (Herre, 1927) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Disease surveillance and incidence of Mandarinfish, Synchiropus splendidus herre, 1927) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมรัฐ ทวีเดช วิรชา เจริญดี ชนะ เทศคง ณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
คำสำคัญ: | ปลาแมนดาริน สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | จากการสำรวจปลาแมนดารินในตลาดขายปลา เป็นระยะเวลา 24 เดือน ระหว่างเดือนมกราคม 2556 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 พบปลาแมนดารินชนิด Green Mandarinfish (Synchiropus splendidus) มีปริมาณนำเข้าเฉลี่ย 112 ตัวต่อเดือน ราคาต่อตัวอย่างประมาณ 150-300 บาท พบว่ามีการนำเข้าปลาแมนดารินทั้งหมด 2,693 ตัว ส่วนใหญ่มาจากประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ความชุกของการเกิดโรคทั้งหมด 4.72% โดยโรคที่พบสูงสุด คือ การติดเชื้อโปรโตซัวจุดขาวน้ำเค็ม (Cryptocaryon irritans) 3.08% การติดเชื้อแบคทีเรีย 0.71% การติดเชื้อโปรโตซัวเห็บระฆัง 0.22% และการติดเชื้อปรสิตภายนอก (External parasite) ในกลุ่ม Monogenean 0.19% ตามลำดับ ส่วนการศึกษาโรคจากปลาแมนดารินที่นำเข้ามาใหม่ และปลาแมนดารินที่มีอยู่ในสถานที่เพาะเลี้ยง แบ่งเป็น 2 ประเภท พบโรคไม่ติดเชื้อ (Non-infectious disease) จากปัญหาการจัดการ คุณภาพน้ำ หรืออุบัติเหตุ โรคติดเชื้อ (Infectious disease) ที่พบคือ เชื้อโปรโตซัวเห็บระฆัง การติดเชื้อโปรโตซัวจุดขาวน้ำเค็ม (C. irritans) เชื้อโปรโตซัว Amyloodinium ocellatum ส่วนปรสิตภายนอกที่ตรวจพบคือพยาธิในกลุ่ม Monogenean และปรสิตภายใน (Internal parasite) ที่ตรวจพบคือ กลุ่มพยาธิตัวกลม (Nematodes) และกลุ่มพยาธิตัวแบน (Trematode) รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio spp. ซึ่งเป็นทั้งสาเหตุหลักของการตายและการติดเชื้อแทรกซ้อน จากผลการศึกษาการกักโรค ในกลุ่มที่ไม่มีการใส่สารเคมี ตรวจพบเชื้อในวันที่ 21 และ 28 กลุ่มที่ใส่ยาเหลืองญี่ปุ่น ตรวจพบเชื้อวันที่ 14 กลุ่มที่ใส่ Copper citrate ไม่พบปรสิตใด ๆ และกลุ่มที่ใส่ระบบบำบัดน้ำ ตรวจพบเชื้อวันที่ 7, 14, 21 และ 28 ซึ่งเชื้อก่อโรคส่วนใหญ่ที่ตรวจพบคือเชื้อโปรซัว Amyloodinium ocellatum และพบการติดเชื้อโปรโตซัว C. irritans ร่วม |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1685 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2559_025.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น