กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1680
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ฉลองชัย ธีวสุทรสกุล | |
dc.contributor.author | อาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์ | |
dc.contributor.author | สุภาวดี อิสณพงษ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:08:33Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:08:33Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1680 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) พัฒนารูปการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน โดยใช้กระบวนการศึกษาบทเรียน และ 2) ศึกษาผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาในด้านผลสัมฤทธิ์การเรียน ด้านความสามารถการเรียนรู้แบบนำตนเอง และความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเอง ฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ผู้สอน และนักศึกษาของวิทยาลัยชุมชน 8 แห่ง ซึ่งได้จากการสุ่มแบบจับสลาก จากกลุ่มประชากรวิทยาลัยชุมชน 20 แห่ง ทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลเพื่อออกแบบรูปแบบ และกลุ่มตัวอย่างทดลองใช้และปรับปรุงรูปแบบ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน 2) แบบวัดความสามารถ การเรียนรู้แบบนำตนเอง และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็น/พึงพอใจ ต่อรูปการเรียนรู้แบบนำตนเอง ของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน ซึ่งทุกฉบับมีค่าความเชื่อมั่นมากกว่า 0.80 ขั้นตอนการวิจัย ; ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนของวิทยาลัยชุมชนที่เป็นอยู่ขณะดำเนินการวิจัย วิเคราะห์หาแนวทาง การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน และร่างรูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน จากนั้นนำรูปแบบไปทดลองใช้และปรับปรุง 7 ครั้ง/รอบ กับผู้สอนและนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน 3 แห่ง โดยทดลองภายใต้การควบคุมปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลรบกวน 4 กลุ่ม และทดลองในสถานการณ์การเรียนการสอนปกติตามตารางสอนตลอด 1 ภาคเรียน จำนวน 3 กลุ่ม ผลการวิจัย 1) ได้รูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน ดังรูป 2) เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนและหลังเรียน ของการทดลองกลุ่มเล็กทั้ง 4 กลุ่ม ซึ่งได้ทำการควบคุมปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลรบกวน รวมอีก 3 กลุ่มซึ่งการทดลองในสถานการณ์การเรียนการสอนปกติตามตารางสอนตลอด 1 ภาคเรียน พบว่าทุกกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาแต่ละคนสูงขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบนำตนเอง อยู่ในระดับ มากถึงมากสุด 3) นักศึกษาแต่ละคนมีพฤติกรรมการเรียนหลายอย่างที่แตกต่างจากการเรียนการสอนแบบเดิมอย่างชัดเจน เช่น ความสนใจกระตือรือร้นต่อการเรียน การเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยยึดวัตถุประสงค์ ความทุ่มเททำงานที่รับมอบหมายให้มีคุณภาพและประณีต ความรู้ที่ได้รับจะมีปริมาณมากครอบคลุมทั้งแนวกว้างและลุ่มลึก การเรียนรู้ร่วมกันแบบเป็นกลุ่ม เป็นต้น รวมทั้งเกิดการพัฒนา คุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ด้านต่างๆ มากกว่าเดิมชัดเจนมาก เช่น วินัย ความรับผิดชอบ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสาร ทักษะการค้น/วิเคราะห์/และสรุปข้อมูล ทักษะการเขียน ทักษะ การนำเสนอ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดวิจารณญาณ เป็นต้น ข้อสรุปสำคัญจากการวิจัย คือ การเรียนรู้แบบนำตนเองเหมาะสมกับการเรียนการสอนของวิทยาลัยชุมชนมาก โดยเฉพาะรายวิชาที่ผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์มาบ้างแล้ว เพราะนักศึกษา อยู่ในวัยผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบและเป็นตัวของตนเอง ต้องการเรียนรู้ในเรื่องที่สำคัญและมีประโยชน์ ต่อตนเอง แต่ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้แบบนำตนเอง และในการเรียนการสอนครั้งแรกทั้งผู้สอนและผู้เรียนอาจประสบปัญหาบ้าง เพราะการเรียนรู้แบบนำตนเองมีวิธีการเรียนการสอน แตกต่างจาก การการเรียนการสอนที่วิทยาลัยชุมชนใช้กันอยู่ขณะดำเนินการวิจัยค่อนข้างมาก | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การจัดการเรียนรู้ | th_TH |
dc.subject | บทเรียน | th_TH |
dc.subject | รูปแบบการเรียนรู้ | th_TH |
dc.subject | สาขาการศึกษา | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน โดยกระบวนการศึกษาผ่านบทเรียน | th_TH |
dc.title.alternative | A development of self-directed learning instruction model for community | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2558 | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of research were: 1) To develop self-directed learning model for community college students in Thailand by lesson study and 2) To study the learning achievements, self-directed learning abilities, and satisfaction level of community college students who applied self-directed learning model. The population of this study was Administrators, teachers and students of 20 community colleges located throughout the country. The samples who provided information for model designing were 8 groups of teachers and students from 8 community colleges. The samples who tested the designed model were 5 groups of 2 teachers and 9-17. The students from 3 community colleges. Research Tools including; 1) Learning achievement assessment form 2) Self-directed learning assessment form 3) Student satisfaction questionnaire towards self-directed learning model. The reliability value of all tools was consequently calculated and confirmed more than 0.80 Research Methodology; 1) Reviewing relevant research and studying the current instructional context of community colleges by using focus group method. 2) Analyzing and summarizing the current instructional problems of community colleges in Thailand. Then, the self-directed learning model for community colleges was synthesized. 3) Verifying and revising the model with focus group method. 4) Testing the learning model on 4 small sample groups of students. 5) Testing the learning model on 3 groups of students in regular classroom. Results of the study; 1) Self-directed learning model for community college students in Thailand shown in Figure 1 2) When comparing the pre and post learning achievements of the 4 small groups of students whose disturbing factors were controlled and the 3 groups of students studying in regular classroom throughout a semester, it was found that the post learning achievements of all groups were higher than the pre learning achievements at a statistical significance level of 0.05. 3) Considering the comparative assessment of self-directed learning abilities, it was found that self-directed learning abilities of each student in the 4 small groups whose disturbing factors were controlled and the 3 groups studying in regular classroom and schedule throughout a semester increased at a statistical significance level of 0.05. 4) As for the satisfaction survey, it was found that the satisfaction level of students was high to highest ( ; ). 5) Learning behaviors of each student were different from before such as interest and enthusiasm about learning, self-directed learning with objective-oriented, meticulousness and dedication to assigned tasks, acquiring wide and deep knowledge, cooperative learning in groups, and others. Besides, it could be seen clearly that more desirable characteristics had been developed including discipline, responsibility, knowledge seeking/ analyzing/ summarizing skills, writing skills, presentation skills, analytical skills, and critical thinking skills. The conclusion from the research showed that Self-Directed Learning was very suitable with Community College. Especially, students have knowledge and experience because they were adult and responsibility. Students need to learn in important topics but teachers and students must understand in concept of Self-Directed Learning. At the first phase maybe found problems because learning style very difference from the past. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย(Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2559_018.pdf | 2.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น