กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1677
ชื่อเรื่อง: การสะสมปริมาณสารสีในลูกปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เมื่ออนุบาลด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนพืชต่างชนิด.
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Pigment accumulation in mandarinfish larvae, Synchiropus splendidus (Herre,1927) feed with zooplankton culture in different algae species.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อมรรัตน์ กนกรุ่ง
รวิวรรณ วัฒนดิลก
ศิริวรรณ ชูศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ลูกปลา - - การอนุบาล
ลูกปลาแมนดาริน
แพลงก์ตอนพืช
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการศึกษาการเจริญเติบโตของสาหร่ายขนาดเล็ก Tetraselmis gracilis, Isochrysis galbana, Nannochloropsis oculata และ Dunaliella salina ที่เลี้ยงด้วยอาหารเหลวที่มีปริมาณของธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มีปริมาณแตกต่างกัน 6 ระดับ จากผลการศึกษา พบว่าสาหร่ายขนาดเล็ก T. gracilis มีการเจริญเติบโตดีที่สุดเมื่อทำการเลี้ยงด้วยอาหารเหลวสูตร ที่ 3 (1.760 mmol N, 0.041 mmol P, 126.97 X 104 เซลล์ต่อมิลลิลิตร) สาหร่ายขนาดเล็ก I. galbana พบว่ามีปริมาณความหนาแน่นเซลล์สูงสุด เมื่อทำการเลี้ยงด้วยอาหารเหลวสูตร 5 (1.760 mmol N, 0.082 mmol P, 744.83 X 104 เซลล์ต่อมิลลิตร) สาหร่ายขนาดเล็ก N. oculata พบว่าสาหร่ายขนาดเล็กชนิดนี้มีการเจริญเติบโตทางด้านความหนาแน่นของเซลล์สูงสุด เมื่อทำการเลี้ยงด้วยอาหารเหลวสูตรที่ 5 (1714.37 X 104 เซลล์ต่อมิลลิตร) และสาหร่ายขนาดเล็ก D. salina พบว่ามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีปริมาณความหนาแน่นของเซลล์สูงสุด เมื่อเลี้ยงในอาหารเหลวสูตรที่ 3 (1.760 mmol N, 0.041 mmol P, 252.76 X 104 เซลล์ต่อมิลลิตร) ในการศึกษาการสะสมสารสีในแพลงก์ตอนสัตว์อาร์ทีเมีย (Artemia salina) ที่ทำการเพิ่มคุณค่าทางอาหารด้วยสาหร่ายขนาดเล็ก 3 ชนิด (T. gracilis, N. oculata และ D. salina) พบว่า มีการสะสมสารสีแคโรทีนอยด์ 4 ชนิด คือ มีสารสีแคโรทีนอยด์ canthaxanthin, batacarotene, zeaxanthin และ echinenone สารสีที่เด่นและพบในปริมาณสูงกว่าสารสีชนิดอื่น ในอาร์ทีเมียที่เพิ่มคุณค่าทางอาหารด้วยสาหร่ายทั้ง 3 ชนิด คือ canthaxanthin แต่ไม่พบการสะสมสารสีแคโรทีนอยด์ในอาร์ทีเมียที่เพิ่มคุณค่าทางอาหารด้วยสาหร่าย I. galbana ในส่วนของการศึกษาการสะสมสารสีแคโรทีนอยด์ในลูกปลาแมนดารินที่ทำการให้อาหารด้วยอาร์ทีเมีย (A. salina) ซึ่งมีการเพิ่มคุณค่าทางอาหารด้วยสาหร่ายขนาดเล็ก 4 ชนิด พบว่ามีการสะสมสารสี Betacarotene สูงในปลาแมนดารินที่เลี้ยงด้วยอาร์ทีเมียที่ทำการเพิ่มคุณค่าทาง อาหารด้วยสาหร่าย T. gracilis สารสีแคโรทีนอยด์ Echinenone พบการสะสมในปริมาณสูงในปลาแมนดารินที่เลี้ยงด้วยอาร์ทีเมียซึ่งทำการเพิ่มคุณค่าทางอาหารด้วยสาหร่าย D. salina และสารสีแคโรทีนอยด์ canthaxanthin พบว่ามีการสะสมสูงในปลาที่เลี้ยงด้วยอาร์ทีเมียซึ่งทำการเพิ่มคุณค่า ทางอาหารด้วยสาหร่ายขนาดเล็ก I. galbana และสาหร่ายขนาดเล็ก T. gracilis
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1677
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_020.pdf1.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น