กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1674
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorระวีวรรณ วิฑูรย์th
dc.contributor.authorสมชาย ยงศิริth
dc.contributor.authorพัชริน แน่นหนาth
dc.contributor.authorศิริวดี บุญมโหตม์th
dc.contributor.authorประพันธ์ บุรณบุรีเดชth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:08:33Z
dc.date.available2019-03-25T09:08:33Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1674
dc.description.abstractการรักษาให้ร่างกายอยู่ในสภาวะดุลย์น้ำและเกลือแร่เป็นหัวใจสำคัญในการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ยาขับปัสสาวะถูกนำมาใช้เป็นยาหลักเพื่อรักษาภาวะน้ำเกิน การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการให้ยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิดเพื่อเพิ่มปริมาณปัสสาวะให้แก่ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องจำนวน 51 ราย ถูกแยกเป็น 2 กลุ่มโดยการวิธีการสุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิด (Furosemide 1000 มก. + spironolactone 50 มก.+ HCTZ 100 มก.) และกลุ่มที่ได้รับยาขับปัสสาวะเพียงหนึ่งชนิด (Furosemide 1000 มก) เก็บข้อมูลพื้นฐาน โรคร่วม ยาประจำ ความดันโลหิต น้ำหนักตัว ข้อมูลการล้างช่องท้อง ปริมาณปัสสาวะต่อวัน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจวัดสารนำด้วยเครื่อง bioimpedance วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ที่เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 ของการศึกษาโดยใช้ student paired t-test เปรียบเทียบความแตกต่างของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม รายงานผลในรูป mean + SD ผลการศึกษา: ที่ก่อนเริ่มการวิจัยปริมาณปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ค่าความเพียงพอของการล้างไตทางช่องท้อง (Ccr และ Kt/V urea) ไม่ต่างกันในผู้ป่วยทั้งสอง กลุ่ม เมื่อติดตามไปที่เดือนที่ 3 และ 6 ของการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิดมีปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (386.32±733.92 vs. 136.25±629.08 มิลลิลิตร และ 311.58 ±640.31 vs 120.00±624.07 มิลลิลิตร; p<0.001, p<0.001) ค่าการขจัดโซเดียมทางปัสสาวะมีค่าเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิดแต่ลดลงในกลุ่มควบคุมที่ 3 เดือน (+140.96 + 377.80 vs -6.51 + 65.25; p =0.08) ที่เดือนที่ 6 ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มขจัดโซเดียมทางปัสสาวะได้เพิ่มขึ้น โดยกลุ่ม intervention ขจัดได้เพิ่มขึ้นมากกว่าแต่ไม่พบนัยส้าคัญทางสถิติ (p=0.47).การวิจัยนี วัดค่า over-hydration โดยเครื่อง BCM พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิดมีค่า over-hydration น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทั้งที่ 3 และ 6 เดือน (-0.44 + 1.62 vs -1.84 + 2.27; p=0.030 and -0.48 + 2.61 vs -1.49 + 2.82; p= 0.02 ) ค่าความดันโลหิต ชีพจร น้าหนักตัว คงที่ตลอดการศึกษา และปริมาณกลูโคสจากน้ำยาล้างช่องท้องมีค่าเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม สรุป: การให้ยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิดสามารถเพิ่มปริมาณปัสสาวะและช่วยควบคุมสมดุลน้ำจากการประเมินโดย BCM รวมถึงมีแนวโน้มเพิ่มการขจัดโซเดียมทางปัสสาวะ จึงน่าจะมีประโยชน์ในการน้ำมาใช้รักษาภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องได้th_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ประเภทงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้ป่วยไตth_TH
dc.subjectยาขับปัสสาวะth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleประสิทธิภาพของการใช้ยาขับปัสสาวะร่วมกันสามชนิดในการเพิ่มปริมาณปัสสาวะ ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องth_TH
dc.title.alternativeA randomized controlled trial on triple diuretics in peritoneal dialysisen
dc.typeResearch
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeAdequate fluid and sodium balance is crucial for management of CAPD patients. Diuretic drugs are commonly prescribed to manage hypervolemia. The aim of this study was to determine the efficacy of triple diuretics on enhancing of urine volume. Methods: Fifty-one CAPD patients were randomly assigned to triple diuretic (furosemide 1000 mg + spironolactone 50 mg + HCTZ 100 mg) or single diuretic (Furosemide 1000 mg).The effects of demographic features, comorbidity, medications, blood pressure, body weight, PD data, residual renal function, blood chemistry, urine chemistry and 24 hour urine volume were recorded. Total body water was measured by BCM. Data was collected at baseline, 3rd month and 6th month. Results were analyzed by student t-test for paired results and expressed as mean + SD Results: 24 hours urine volume, Ccr, Kt/V urea were similar at randomization. At 3rd and 6th month urine volume was significantly increased in triple diuretic-treated group more than control group (386.32±733.92 vs. 136.25±629.08 and 311.58 ±640.31 vs 120.00±624.07; p<0.001, p<0.001). Urinary sodium excretion increased in the intervention group and declined in the control group at 3rd month of study (+140.96 + 377.80 vs -6.51 + 65.25; p =0.08) and at 6th month urinary sodium excretion of intervention group was higher than control group but the difference did not reach a statistically significant (p=0.47).Over-hydration (OH) was measured by BCM, triple diuretic- treated group had significantly decreased over-hydration compared with control group at 3rd and 6th month (-0.44 + 1.62 vs -1.84 + 2.27; p=0.030 and -0.48 + 2.61 vs -1.49 + 2.82; p= 0.02 ).Blood pressure and body weight remained constant in both groups. At 6th month, glucose exposure from PDF was increased similarly (21.46±34.21 in control group and 21.32±42.29 in intervention group). Conclusions: Triple diuretic produces a significant increase in urine volume and result in improvement of fluid balance measured by BCM. Urine Na and K trend toward increase but no significantly. Triple diuretic therapy is useful for management excessive fluid in patients undergoing CAPD.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_035.pdf1.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น