กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1659
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายทางชนิดและลักษณะทางพันธุกรรมของจุลชีพที่อาศัยอยู่ร่วมกับฟองน้ำทะเลพื้นที่ปกปักษ์พันธุกรรมพืชทางทะเลหมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชุติวรรณ เดชสกุลวัฒนา
สุเมตต์ ปุจฉาการ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ความหลากหลายทางพันธุกรรม
พืชทะเล
ฟองน้ำทะเล
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้ ทำการศึกษาคัดแยกแบคทีเรีย จากฟองน้ำทะเล 16 ชนิด ที่เก็บจากพื้นที่ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บริเวณเกาะแรด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พบว่ามีแบคทีเรียที่อาศัยอยู่กับฟองน้ำในปริมาณที่แตกต่างกันคือ ครั้งที่ 1 ในเดือนมกราคม 2555 ฟองน้ำจำนวน 11 ตัวอย่าง คัดแยกแบคทีเรียที่มีลักษณะโคโลนีได้ 86 ไอโซเลต โดยมีปริมาณแบคทีเรียเจริญได้แตกต่างกัน คือ ฟองน้ำครกสีน้ำตาลเหลือง RAD55- B-PORO2 พบมีปริมาณค่ำสุดที่ 1.1x 10 5 ส่วนฟองน้ำเคลือบสีม่วง RAD55-A-PORO2 Haliclona sp. "purple" มีสูงสุดที่ 6.1x10 6 โคโลนีต่อกรัม ครั้งที่ 2 ในเดือนพฤษภาคม เก็บตัวอย่างฟองน้ำได้ 5 ตัวอย่างคัดแยกแบคทีเรียที่มีลักษณะโคโลนีได้ 40 ไอโซเลต โดยมีปริมาณแบคทีเรียเจริญได้แตกต่างกัน คือ ฟองน้ำก้อนสีขาว RAD55-G-PORO1 พบมีปริมาณต่ำสุดที่ 1.1x 10 5 โคโลนีต่อกรัม ส่วนฟิองน้ำเคลือบบางสีแดง RAD55-F-PORO2 มีปริมาณสูงสุด 4.88x10 6 โคโลนีกรัม และทำการเก็บรักษาสายพันธุ์แบคทีเรียในอาหารเลี้ยงเชื้อ modified Zobell 0.3% agar เพื่อใช้ในการศึกษาต่อไป เมื่อทำการคัดเลือกไปทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ เมื่อนำแบคทีเรียที่คัดแยกจากฟองน้ำ จำนวน 78 สายพันธุ์ มาทำการตรวจสอบฤทธิ์การยับยั้งการเจริญกับตัวแทนแบคทีเรียกรัมบวก ได้แก่ Staphylococcus aureus ATCC25923; Bacillus subtillus ATCC6633; และกรัมลบ ได้แก่ Pseudomonas aeruginosa ATCC27853; Vibrio anruilarum; Eschericia coli ATCC25922) ด้วยวิธี Disc Diffusion Agar Assay พบว่า แบคทีเรียที่คัดแยกจากฟองน้ำ จำนวน 10 สายพันธุ์ ได้แก่ R55B1-4, R55B2-9, R55F1-9, R55F1-10, R55F2-2, R55F3-2, R55F3-11, R55G1-3, R55G1-6or, R55G2-1BK, แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได่ทั้ง 4 แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแบคทีเรียที่อาศัยอยู่กับฟองน้ำที่จะเป้นแหล่งใหม่ของสารออกฤทธิ์ชีวภาพที่น่าสนใจที่จะทำการวิจัยต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1659
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_103.pdf2.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น