กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1657
ชื่อเรื่อง: ผลของขนาดและความหนาแน่นของอาร์ทีเมียต่อผลผลิตไข่ของปลาแมนดารินเขียว (Synchiropus splendidus, Herre, 1927)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of artemai size and density on eggs production of green mandarinfish, Synchiropus splendidus, Herre, 1927
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จารุนันท์ ประทุมยศ
สุพรรณี ลีโทชวลิต
ณิษา สิรนนท์ธนา
ศิริวรรณ ชูศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ปลา - - การเพาะเลี้ยง
ปลาแมนดารินเขียว
อาร์ทีเมีย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในธรรมชาติปลาแมนดารินเขียว (Synchiropus splendidus) กินแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่แพลงก์ตอนสัตว์เหล่านี้เพาะเลี้ยงยากในที่กักขัง อาร์ทีเมียแต่ หาได้ง่าย เจริญเติบโตเร็วซึ่งเป็นอาหารทางเลือกในการเลี้ยงปลาแมนดารินเขียวแต่ขนาดและปริมาณอาร์ทีเมียที่ให้ปลาแมนดารินเขียวกินและปลาสามารถสืบพันธุ์ได้ต้องทำการศึกษา นอกจากนี้ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียวด้วยอาหารเม็ดทดแทนการใช้อาหารมีชีวิตยังไม่มีรายงานการวิจัย รายงานการวิจัยนี้เป็นรายงานการวิจัยเพื่อศึกษาขนาดและปริมาณของอาร์ทีเมียที่ให้พ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียวที่ได้จากการเพาะเลี้ยง (F1) กินและปลาสามารถสืบพันธุ์ ในปีที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ 4×3 การทดลองแบบสุ่มตลอด ชุดการทดลองประกอบด้วย ชุดการทดลองที่ 1 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 2 ให้กินอาร์ทีเมียแรกเกิด 0.5 ตัว/มิลลิลิตร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 3 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 2 ตัว/ลิตร/ครั้งและอาร์ทีเมียแรกฟัก 0.25 ตัว/มิลลิลิตร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 4 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 1 ตัว/ลิตร/ครั้งและอาร์ทีเมียแรกฟักจำนวน 0.5ตัว/มิลลิลิตร/ครั้ง ก่อนนาอาร์ทีเมียไปใช้เป็นอาหารปลาแมนดารินเขียว ทำการเสริมอาหารในอาร์ทีเมียด้วยแพลงก์ตอนพืชผสมกัน 2 ชนิดเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชม ระหว่างเตตราเซลมิส (Tetraselmis gracilis) และไอโซไคลซิส (Isochrysis galbana) หรือระหว่างเตตราเซลมิส (T. gracilis) และนาโนโครลอปซิส (Nanochrolopsis oculata) เริ่มต้นการทดลองเมื่อปลามีอายุ 1 ปี 2 เดือน ทดลองในตู้กระจกขนาด 45 × 120 × 50 เซนติเมตรบรรจุน้ำ 270 ลิตร ตู้ทดลองแบ่ง 2 ส่วนคือส่วนเลี้ยงปลา (180 ลิตร) และส่วนเก็บไข่ ( 90 ลิตร) ให้อาหารปลาแมนดารินเขียว 2 ครั้ง/วัน ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 เดือน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ปลาแมนดารินเขียวอายุ 2 ปีพบว่าในทุกชุดการทดลองปลาเพศเดียวกันมีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p0.05) แต่ปลาเพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย ปลาแมนดารินเขียวที่กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยจำนวน 1 คู่ เริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุ 1 ปี 7 เดือนก่อนสิ้นสุดการทดลอง 3 เดือนดังนั้นปลาแมนดารินเขียวที่เลี้ยงในที่กักขังและเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อาจจะมีขนาดใกล้เคียงกับขนาดของปลาแมนดารินเขียวเมื่อสิ้นสุดการทดลองซึ่งปลาแมนดารินเขียวเพศผู้มีน้ำหนัก 3.70 กรัม ความยาวลำตัว 5.54 เซนติเมตร และ เพศเมียมีน้ำหนัก 3 กรัม ความยาวลาตัว 5.39 เซนติเมตร ปลาแมนดารินเขียวออกไข่ครั้งละประมาณ 48 - 253 ฟอง จำนวนครั้งการออกไข่สัมพันธ์กับคุณภาพไข่ดีแต่ไม่สัมพันธ์กับปริมาณไข่ ลูกปลาแรกเกิดเป็นระยะ pro-larvae ซึ่งมีลำตัวใสและมีถุงไข่แดงขนาดใหญ่ ปากและสีของตายังไม่พัฒนา การทดลองปีที่ 2 ศึกษาผลของอาหารมีชีวิตและอาหารเม็ดต่อการสืบพันธุ์ของปลาแมนดารินเขียว (F1) ที่เลี้ยงกักขัง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1657
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_100.pdf1.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น