กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1629
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ (ปีที่ 2)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Health information for Aging (Phase II)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เวธกา กลิ่นวิชิต
คนึงนิจ อุสิมาศ
ยุวดี รอดจากภัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ฐานข้อมูล
ผู้สูงอายุ
ระบบสารสนเทศ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศสุขภาพของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาความต้องการของผู้ใช้งานระบบ 2) การออกแบบระบบ 3) การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ และ 4) การนำเสนอและทดลองใช้งานระบบ ในขั้นตอนที่ 1 ใช้เทคนิคเดลฟาย ประชากร เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุและระบบสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 28 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารสถานพยาบาล 5 คน ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 5 คน ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ภาคตะวันออก 5 คน สมาชิกในครอบครัวหรือญาติผู้ดูแล 5 คน อาจารย์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 คน และนักวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือผู้ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศในสถานพยาบาล 3 คน เครื่องมือที่ใช้เป้นแบบสอบถามโดยให้ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถาม 3 รอบ ผ่านการหาคุณภาพของเครื่องที่พิจารณาความเที่ยงตรง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และได้ค่าความเชื่อมั่น 0.88 ใช้ค่าสถิติ ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างคลอไทล์ เพื่อคัดเลือกหัวข้อความต้องการใช้ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกที่จะนำไปพัฒนาระบบโปรแกรมฐานข้อมูลในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาต่อไป ในขั้นตอนสุดท้าย คือ การทดลองใช้ระบบ ได้ตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศก่อนการนำไปใช้จริง โดยผู้เชี่ยวชาญทดสอบระบบฐานข้อมูล จำนวน 7 คน ประกอบด้วย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 ท่าน และอาจารย์ในสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา 3 ท่าน ทำการทดสอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสามารถในการทำงานของโปรแกรม 2) ด้านความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรม 3) ด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานของโปรแกรม 4) ด้านความเร็วในการทำงานของโปรแกรม และ 5) ด้านการรักษาความปลอดภัยของโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้เป้นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ โดยผ่านการหาคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ค่าความเที่ยงตรง และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทั้งนี้ แบบสอบถามที่ใช้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. ความต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านระบบบริการสุขภาพ ด้านพฤติกรรมสุขภาพ และด้านสถานการณ์สุขภาพ 2. สารสนเทศที่เหมาะสมในการพัฒนารูปแบบระบบสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก ด้านระบบบริการสุขภาพ มีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 4 รายการ คือ 1) ประเภทของบริการสุขภาพที่มีอยู่ในภาคตะวันออก 2) ข้อมูลระบบบริการสุขภาพ 3) ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล 4) การเข้าถึงข้อมูลของระบบบริการสุขภาพ 3 กองทุน 3. สารสนเทศที่เหมาะสมในการพัฒนารูปแบบระบบสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก ด้านสถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุ มีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 4 รายการ คือ 1) โรคเฉียบพลัน/ โรคอุบัติใหม่ 2) โรคเรื้อรัง 3) สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ 4) ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ 4. ผลการทอสอบประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศ ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค พบว่า ในภาพรวมระบบโปรแกรมฐานข้อมูลสามารถทำงานได้ดีในระดับมาก สรุปและข้อเสนอแนะ สารสนเทศด้านสุขภาพมีความสำคัญต่อผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุซึ่งสามารถนำไปใช้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและช่วยแก้ปัญหาทางสุขภาพ ให้ผู้สูงอายุและครอบครัวมีความรู้ที่ทันสมัย นำความรู้ไปพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองให้ดีขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1629
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น