กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1624
ชื่อเรื่อง: | ความสามารถเก็บกักคลอไรด์และโครงสร้างโพรงของซีเมนต์เพสต์ผสมเถ้าลอย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Chloride binding capacity and pore structure of cement paste with fly ash |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทวีชัย สำราญวานิช มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คลอไรด์ ซีเมนต์ เถ้าลอย สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสามารถเก็บกักคลอไรด์ของซีเมนต์เพสต์ที่ผสมเถ้าลอยแม่เมาะและเถ้าลอยจากระยอง (เถ้าลอย BLCP Hunter และเถ้าลอย BLCP Hunter Malavan) โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 เป็นวัสดุประสานหลัก อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ใช้เท่ากับ 0.40 และ 0.50 และอัตราส่วนการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยเท่ากับ 0.3 และ 0.50 ทำการแช่ตัวอย่างในน้ำเปล่าเป็นเวลา 28 และ 91 วัน จากนั้นไปแช่ในน้ำเกลือคลอไรด์เข้มข้น 5.0% โดยน้ำหนัก เป็นเวลา 91 วัน แล้วนำไปกดบีบอาสารละลายภายในโพรงช่องว่างของซีเมนต์เพสต์ด้วยวิธี Mercury Intrusion Porosimetry (MIP) โดยใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40 และ 0.50 และอัตราส่วนการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยเท่ากับ 0.30 และ 0.50 ทำการแช่ตัวอย่างในน้ำเปล่าเป็นเวลา 28 และ 91 วัน แล้วนำตัวอย่างมาวิเคราะห์เพื่อหาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของโพรงช่องว่างและปริมาตรความพรุนทั้งหมดของซีเมนต์เพสต์ นอกจากนี้ได้ศึกษากำลังรับแรงอัดของซีเมนต์เพสต์ที่ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.4และ 0.5 และอัตราส่วนการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยเท่ากับ 0.30 และ 0.50 ทำการบ่มในน้ำเปล่าเป็นเวลา 28 และ 91 วัน จากผลการทดลองพบว่า เมื่อระยะเวลาการบ่มที่นานขึ้น ความสามารถเก็บกักคลอไรด์ของซีเมนต์เพสต์เพิ่มขึ้น แต่เมื่ออัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานและอัตราการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยมากขึ้น ส่งผลให้ความสามารถเก็บคลอไรด์ลดลง และเถ้าลอยที่มีความสามารถเก็บกักคลอไรด์สูงสุด คือ เถ้าลอย BLCP Hunter ในส่วนโครงสร้างโพรงช่องว่างของซีเมนต์เพสต์พบว่าเมื่อระยะเวลาการบ่มที่นานขึ้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยและความพรุนทั้งหมดของซีเมนต์ลดลง ซีเมนต์เพสต์ที่ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานสูงขึ้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยและความพรุนทั้งหมดของซีเมนต์เพสต์เพิ่มขึ้น และเมื่อใช้อัตราการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยเพิ่มขึ้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยและความพรุนทั้งหมดลดลง และเถ้าลอยที่ทำให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยมีขนาดเล็กที่สุดคือเถ้าลอย BLCP Hunterส่วนกำลังรับแรงอัดของซีเมนต์เพสต์พบว่าการใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานและอัตราการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยมากขึ้น ส่งผลให้กำลังรับแรงอัดของซีเมนต์เพสต์ลดลง และเมื่อระยะการบ่มนานขึ้น ทำให้กำลังรับแรงอัดของซีเมนต์เพสต์เพิ่มขึ้น สุดท้ายจากความสัมพันธ์ของผลการทดลองพบว่า เมื่อกำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความสามารถเก็บกักคลอไรด์เพิ่มขึ้น และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยและความพรุนทั้งหมดลดลง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1624 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_183.pdf | 8.59 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น