กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1601
ชื่อเรื่อง: การใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Nursing Process Implementation of Professional Nurses in Burapha University Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษณา นรนราพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: กระบวนการทางการพยาบาล
พยาบาลวิชาชีพ
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา และเปรียบเทียบการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บันทึกทางการพยาบาลและคาร์เด็กซ์ของผู้ป่วย ที่บันทึกโดยพยาบาลวิชาชีพ เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และกำหนดขนาด ของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน (Yamane, 1970) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 319 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบตรวจสอบรายการการบันทึกตามขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่น โดยนำคะแนนที่ได้มาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องของการสังเกต (Interrater reliability) ตามวิธีการของโพลิทและฮังเลอร์ (Polit & Hunger) ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least – Significant Different) ผลการวิจัยพบว่า 1. พยาบาลวิชาชีพมีการใช้กระบวนการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล พบว่า มีการใช้ขั้นการพยาบาลสูงที่สุด และขั้นการวางแผนการพยาบาลต่ำที่สุด 2. พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย 4 ลักษณะ คือ หอผู้ป่วยสามัญชาย / หญิง หอผู้ป่วยพิเศษ 5 – 6 แผนกสูติกรรม แผนกบําบัดวิกฤต มีการใช้กระบวนการพยาบาลโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพยาบาลวิชาชีพแผนกสูติกรรมมีการใช้กระบวนการพยาบาลระดับสูงที่สุด และแผนกบําบัดวิกฤตมีการใช้กระบวนการพยาบาลต่ำที่สุด 3. การใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพใน 4 ลักษณะหอผู้ป่วย ในขั้นการประเมินสภาพของผู้ป่วย ขั้นการวินิจฉัยการพยาบาล ขั้นการปฏิบัติการพยาบาล และขั้นการประเมินผลการพยาบาล แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่การใช้ในขั้นการวางแผนการพยาบาลไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1601
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_083.pdf5.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น