กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1600
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสมชาย ยงศิริth
dc.contributor.authorพวงทอง อินใจth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:16Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:16Z
dc.date.issued2547
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1600
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของผู้บาดเจ็บจากการจมน้ำทะเลที่เข้ามารับบริการที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไป และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ประเภทการรักษา ระดับความรู้สึกตัวและผลการรักษาของผู้ป่วยจมน้ำ วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลังเชิงบรรยาย (Descriptive, retrospective study) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของผู้บาดเจ็บจากการจมน้ำทะเลที่เข้ามารับบริการที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยจมน้ำเป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2547 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 51 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวิเคราะห์ จากบันทึกเวชระเบียนของผู้ป่วยจมน้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความสัมพันธ์โดยใช้ Student’s t-test และ Chi square test ผลการวิจัย ผู้บาดเจ็บจากการจมน้ำทะเลส่วนใหญ่เป็นเพศ ชาย วัยเด็กและวัยรุ่น ภูมิลําเนาอยู่ในเขตภาคกลางปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุที่ทําให้จมน้ําทะเลได้แก่อุบัติเหตุ การดื่มสุรา มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 18 จาก 51 ราย พบว่าระดับ serum sodium สูง potassium ค่อนข้างต่ํา และ wide anion gap metabolic acidosis ได้บ่อย พบว่าผู้ป่วยที่มีระดับความรู้สึกตัวแย่กว่าจะมีระดับ serum sodium สูงกว่ากลุ่มที่มีระดับความรู้สึกตัวดีอย่างมีนัยสําคัญ (144.00+3.5 vs. 148.67+9.7 p. = 0.023) ในผู้ป่วยที่มี wide anion gap metabolic acidosis จะมีระดับออกซิเจนในเลือดน้อยกว่ารายที่ไม่มี metabolic acidosis อย่างมีนัยสําคัญ (77.44+20.917 กับ 94.75+6.076 p.=0.018) ได้รับการรักษาพยาบาล ด้วยการ ให้ออกซิเจน คิดเป็นร้อยละ 100.0 การให้สารน้ําทดแทนทางหลอดเลือดดําร้อยละ 98.0 ได้รับการช่วยฟื้นคืน ชีพแบบพื้นฐาน ร้อยละ 43.1 ผู้ป่วย 23จาก 51 รายได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยเสียชีวิต 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.6 ส่วนมากเสียชีวิตตั้งแต่แรกรับที่แผนกฉุกเฉิน ความผิดปกติของดุลเกลือแร่ที่พบได้บ่อย คือภาวะโซเดียมสูง ภาวะเลือดเป็นกรด ข้อเสนอแนะ 1. จากการศึกษาครั้งนี้แม้จะพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการทุเลาและกลับบ้านได้แต่ก็มีจํานวน ร้อยละ 19.6 ที่ต้องเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจมน้ํา ดังนั้นการพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยจมน้ําในชุมชน การหาแนวทางการป้องกันการจมน้ํา โดยนําข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเป็นพื้นฐานในการประสานกับองค์กร บริหารส่วนท้องถิ่น และองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการและการดําเนินการป้องกันการบาดเจ็บจาก การจมน้ํา การวางแผนการช่วยเหลือเบื้องต้นและแนวทางการปฏิบัติเพื่อการส่งต่อไปรับการรักษาใน โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออก 2. จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างด้านการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับค่าอิเลคโตรไลท์ในกลุ่ม ตัวอย่างนี้ น่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสําคัญสําหรับสถานพยาบาลในการกําหนดนโยบายและวางแนวทาง ให้บริการทางการพยาบาล และการรักษาผู้ป่วยจมน้ําที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับพยาธิสภาพของ ผู้ป่วย ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิต การบาดเจ็บจากการจมน้ํา และการจัดทํา คู่มือปฏิบัติงานการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากการจมน้ําให้ครอบคลุมและเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน 3. ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียดเกี่ยวกับความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในเลือดผู้ป่วยเนื่องจากพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผิดปกติของดุลเกลือแร่และกรดด่างเป็นจํานวนมากโดยจัดทําการศึกษาแบบไปข้างหน้า ( Prospective Study) เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล และศึกษาแนวทางการป้องกันการบาดเจ็บจากการจมน้ํา เพิ่มเติม 4. ควรมีการทดลองการจัดโปรแกรมการปฏิบัติเพื่อการรักษา การป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนหรือการบาดเจ็บ จากการจมน้ํา และเปรียบเทียบผลลัพธ์หลังการใช้โปรแกรม การนําไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่ได้นํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสําคัญสําหรับการพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยจมน้ำในชุมชน และการประสานงานกับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและองค์กรของรัฐเพื่อร่วมกันหามาตรการและการดําเนินงานเพื่อการป้องกันการบาดเจ็บจากการจมน้ำ การช่วยเหลือเบื้องต้นและการส่งต่อ (refer) ไปรับการรักษาth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากศูนยฺวิทยาศาสตร์สุขภาพen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้บาดเจ็บth_TH
dc.subjectผู้ป่วยจมน้ำth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleลักษณะของผู้บาดเจ็บจากการจมน้ำทะเลที่เข้ามารับบริการ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.typeResearch
dc.year2547
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น