กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1599
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นําของผู้บริหาร คุณค่าของตนเอง และบรรยากาศองค์กรกับสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สรร กลิ่นวิชิต มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | บรรยาการศองค์การ ภาวะผู้นำ สมรรถนะในการปฏิบัติงาน สาขาเศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | วัตถุประสงค์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นําของผู้บริหาร คุณค่าของตนเอง บรรยากาศองค์กร กับ สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา วิธีดําเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างจํานวน 117 คนโดยสุ่มจากประชากรกลุ่มบุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ทั้งข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจํา และลูกจ้างชั่วคราวที่ไม่ได้มี ตําแหน่ง ผู้บริหารตั้งแต่ระดับ หัวหน้างานขึ้นไป จํานวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็น แบบสอบถามมี 5 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์ปฏิบัติงานในองค์กรและหน่วยงานที่สังกัด ตําแหน่งหน้าที่ที่ปฏิบัติอยู่ ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ ภาวะผู้นําของผู้บริหาร ตอนที่ 3 การรับรู้คุณค่าของตนเอง ตอนที่ 4 การรับรู้บรรยากาศองค์กร และตอนที่ 5 แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ด้านสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเองโดยมีลักษณะคําถามให้เลือกแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ซึ่งผู้วิจัยจัดทําขึ้นเอง และนําไปตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยทดสอบความเที่ยงตรงกับผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 3 ท่าน และนําไปทดลองใช้แล้วนํามาวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม โดยการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟา (α coefficient) ของครอนบาค (Cronbach , 1981) ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .917 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยมาแจกแจงความถี่ และหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนการรับรู้ภาวะผู้นําของผู้บริหาร คุณค่าของตนเอง บรรยากาศองค์กร และสมรรถนะการปฏิบัติงานของตนเองทั้งภาพรวมและรายด้าน การวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ภาวะผู้นําของผู้บริหาร คุณค่าของตนเอง บรรยากาศองค์กร และสมรรถนะการ ปฏิบัติงานของตนเองโดยการคํานวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’Correlation Coefficient) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานของบุคลากร และการรับรู้ด้านต่าง ๆ โดยใช้ สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และทดสอบความมีนัยสําคัญของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่คํานวณ ได้โดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย 1. การรับรู้ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ เกี่ยวกับภาวะผู้นํา คุณค่าของตนเอง บรรยากาศองค์กร และสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับ สูง และเมื่อจําแนก รายด้าน พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับสมรรถนะในการปฏิบัติงาน การรับรู้คุณค่าของตนเอง และการรับรู้เกี่ยวกับ ภาวะผู้นําของผู้บริหาร อยู่ในระดับสูง ส่วน การรับรู้บรรยากาศองค์กร อยู่ในระดับปานกลาง 2. การรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นําผู้บริหาร การรับรู้คุณค่าของตนเอง และการรับรู้บรรยากาศองค์กร มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001( r = .321 , .554 และ .365 ตามลําดับ) 3. ปัจจัยพื้นฐานด้าน ช่วงอายุของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวก กับบรรยากาศองค์กร และสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบรรยากาศองค์กร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนเอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนสถานะในการปฏิบัติงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ภาวะผู้นําของ ผู้บริหารและการรับรู้ความมีคุณค่าในตนเอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการวิเคราะห์บรรยากาศองค์กรอย่างละเอียดต่อไปเพื่อศึกษาถึงรูปแบบและลักษณะที่เป็นบุคลิกภาพ ขององค์กรเพื่อการพัฒนาการรับรู้ของบุคลากรต่อบรรยากาศองค์กรที่ดีขึ้น 2. ในการพัฒนาสมรรถนะการทํางานของบุคลากร ผู้บริหารต้องคํานึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับการรับรู้ต่างๆ ทั้ง การรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้ยําของผู้บริหาร การรับรู้คุณค่าของตนเอง และการรับรู้บรรยากาศองค์กร และ ผู้บริหารควรพัฒนาความรู้ ทักษะและพฤติกรรมการเป็นผู้นํา ให้ความสําคัญ ฝึกฝน สร้างสรรค์กิจกรรมที่ พัฒนาความมีคุณค่าในตนเองของบุคลากร 3. ควรนําข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทํางานของบุคลากรอย่าง เป็นรูปธรรม 4. เนื่องจากการศึกษานี้ มุ่งศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน จึงควรศึกษาเชิงลึกในกลุ่มผู้บริหารด้วยเพื่อนํามา เป็นฐานข้อมูลสํารับปรับปรุงการบริหารจัดกรองค์กรให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด การนําไปใช้ประโยชน์ นําผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความสามารถในการ ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1599 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น