กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1596
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorรุ่งรัตน์ ชวนชาติ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1596
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพและสาเหตุของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและภยันตรายที่มารับบริการยังแผนกอุบัติเหตุ- ฉุกเฉิน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา 2. เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขสาเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและภยันตรายที่ มารับ บริการยังแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา วิธีดําเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ บันทึกประวัติผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการยัง แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่เดือน เมษายน 2548 ถึงเดือน สิงหาคม 2548 และเป็นข้อมูลที่ผู้ปกครองยินยอมและสมัครใจในการให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม เกี่ยวกับแนวทางป้องกันสาเหตุของผู้ป่วยเด็ก จํานวน 160 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากประชากร 424 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นแบบบันทึกสถานภาพและสาเหตุของความเจ็บป่วยจากการได้รับ อุบัติเหตุและภยันตราย ซึ่งเป็นแบบบันทึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีข้อมูลเกี่ยวกับ 1) สถานภาพทั่วไปของผู้ป่วย เด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและภยันตราย 2) สาเหตุของความเจ็บป่วยจากการได้รับอุบัติเหตุและภยันตราย 3) ความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับแนวทางป้องกันสาเหตุอุบัติเหตุและภยันตรายสําหรับเด็ก สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย 1. สาเหตุของความเจ็บป่วยเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุและภยันตราย โดยรวมพบว่าสาเหตุของผู้ป่วยเด็กที่มา รับบริการ มากที่สุด คือ การพลัดตกหกล้ม ชนกระแทก วัตถุหล่นใส่ หรือติดอยู่ระหว่างวัตถุ รองลงมา คือ อุบัติเหตุการจราจรและอุบัติเหตุจากเครื่องมือ เครื่องจักร ของมีคมไม่ร้อน อันดับสามคือ อุบัติเหตุจากสุนัข กัด 2. ความคิดเห็นของผู้ปกครองผู้ป่วยเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและภยันตรายเกี่ยวกับแนวทางป้องกันสาเหตุของการ เกิดอุบัติเหตุและภยันตราย พบว่าความคิดเห็นมากที่สุด คือ การ ดูแลเด็กอย่าง ใกล้ชิด ข้อเสนอแนะ 1. จากผลการศึกษาพบว่าอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม ชนกระแทก วัตถุหล่นใส่หรือติดอยู่ระหว่างวัตถุเป็น สาเหตุที่เกิดอันดับหนึ่ง ในเด็กวัย 10-14 ปี และเกิดมากในช่วงเวลาเช้า จึงควรมีการวางแผนป้องกันอุบัติเหตุ และให้ผู้เกี่ยวข้องดูแลอย่างใกล้ชิด 2. ควรประสานความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน ครอบครัว ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผน ป้องกันอุบัติเหตุแก่เด็กอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การนําไปใช้ประโยชน์ เป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งครอบครัว โรงเรียน สถานพยาบาล และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง นํามาใช้ในการวางแผน เฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขการเกิดอุบัติเหตุและภยันตรายกับเด็ก เพื่อลด ความเสี่ยงที่เกิดกับร่างกาย การเสียเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัว ชุมชน และสังคมth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้ป่วยเด็กth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleอุบัติเหตุและภยันตรายต่าง ๆ ของผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการ ในแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.typeResearch
dc.year2548
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น