กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1595
ชื่อเรื่อง: | ผลของการให้การสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ ต่อความวิตกกังวลของผู้คลอดก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effect of informational and emotional support on the anxiety level in patients before Cesarean Section |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุภาพร เลิศร่วมพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การคลอด การผ่าตัดคลอด |
วันที่เผยแพร่: | 2548 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลของการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์แก่ผู้คลอดต่อความวิตกกังวลของผู้คลอดก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดที่เข้ารับการผ่าตัดคลอด ตามกําหนดนัด ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 40 ราย และยินยอมเข้าร่วมการวิจัย โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 รายและกลุ่มทดลอง 20 ราย จัดให้ทั้งสองกลุ่มมีลักษณะใกล้เคียงกันในเรื่องอายุ ประสบการณ์การผ่าตัดคลอด การฝากครรภ์พิเศษกับแพทย์ ในกลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์จากผู้วิจัย โดยผู้วิจัยจะเข้าไปสร้างสัมพันธภาพกับผู้คลอดที่รอเข้ารับการผ่าตัดคลอดที่หอผู้ป่วยและที่ห้องรอผ่าตัด มีการประเมินความพร้อม ด้านร่างกายและจิตใจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดคลอด เปิดโอกาสให้ผู้คลอดแสดงความรู้สึก ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลในรูปแบบเดิมของโรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความวิตกกังวลขณะเผชิญของสปิลเบอร์เกอร์ (Spielberger, 1983) ชื่อว่า STAI Form Y วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้คลอดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติที ( t-test) ผลการวิจัย ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้คลอดก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอดทั้งก่อนและหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีความวิตกกังวลก่อนการ ทดลองอยู่ในระดับต่ํา จึงไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ อารมณ์และพฤติกรรม แต่ในกลุ่มควบคุมค่าเฉลี่ย คะแนนความวิตกกังวลของผู้คลอดก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอดหลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้คลอดก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอดหลังการทดลองระหว่าง กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ 1. จากผลการวิจัยพบว่าการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์แก่ผู้คลอดสามารถลดความวิตกกังวลก่อนเข้ารับ การผ่าตัดได้ แม่จะไม่มากเทื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ แต่ ในการปฏิบัติการพยาบาล ทีมบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็ควรให้การสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์แก่ผู้คลอดก่อนวันนัด ผ่าตัดคลอดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบุคลากรในหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องก็ควรได้รับการอบรมพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมสําหรับการผ่าตัดคลอดด้วยเช่นกัน 2. ควรศึกษารูปแบบการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์แก่ผู้คลอดในรายที่นัดมาโรงพยาบาลวันที่ทําผ่าตัด คลอด การนําไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติของพยาบาลห้องผ่าตัดเพื่อเตรียมผู้คลอดให้มีความพร้อมทั้งทางร่ายกายและจิตใจก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอด |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1595 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_065.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น