กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1593
ชื่อเรื่อง: การประดิษฐ์เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูป
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Home-made Slab for Immobilization
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิราภรณ์ บุตรหนัน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: กระดูก
เฝือกอ่อน
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ 1. พัฒนาเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เอง 2. เปรียบเทียบประสิทธิภาพของเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองกับเฝือกอ่อน ดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปของบริษัท วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองกับเฝือกอ่อน ดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปของบริษัทที่ทดลองในห้องปฏิบัติการ 5 ด้าน ได้แก่ ระยะเวลาในการแข็งตัว ของเฝือกอ่อนดามกระดูก การสูญเสียเนื้อปูนของเฝือกอ่อนดามกระดูกหลังชุบน้ํา น้ําหนักของเฝือก อ่อนดามกระดูกหลังแข็งตัว ความร้อนที่เกิดขึ้นของเฝือกอ่อนดามกระดูกหลังชุบน้ํา และการรับแรง กดของเฝือกอ่อนดามกระดูกหลังแข็งตัว ผู้วิจัยวางแผนประดิษฐ์เฝือกอ่อนโดยศึกษาความยาวและ จํานวนชั้นของเฝือกอ่อน และเลือกใช้วัสดุทําเฝือกจากฟองน้ําแบบแผ่นชนิดบาง ผ้าสําลีสีขาวชนิด บาง และเฝือกม้วน นําชิ้นทดสอบไปทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อหาค่าการรับแรงกด ด้วยวิธีทดสอบ การแอ่นแบบกด 3 จุด (three-Point Bending Method) ด้วยเครื่องทดสอบคุณภาพ (Universal Testing Machine) หลังจากที่ทดสอบจนเฝือกอ่อนมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเฝือกอ่อนของบริษัท แล้วได้นําเฝือกมาทดลองใส่ในอาสาสมัครสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่อยู่ในระหว่างเจ็บป่วยจํานวน 10 ราย โดยศึกษาอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผิวหนังขณะใส่เฝือกอ่อนดามกระดูก และความ พึงพอใจของผู้ใส่เฝือกอ่อนดามกระดูก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและ T- test ผลการวิจัย 1. ระยะเวลาในการแข็งตัวของเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองน้อยกว่า จึงเป็นสิ่งที่ดีต่อผู้ป่วย เนื่องจากการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยขณะที่เฝือกปูนกําลังแข็งตัว จะทําให้เฝือก เสียความแข็งแรงไปได้ถึงร้อยละ 77 2. เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองไม่มีการเย็บให้เฝือกอยู่ในตําแหน่ง เดียวกันตามแนวความยาวเช่นเดียวกับของบริษัท จึงทําให้เนื้อปูนปลาสเตอร์ที่เกาะอยู่กับแถบผ้า มีโอกาสหลุดร่วงออกมามากกว่าเนื้อปูนปลาสเตอร์ของเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปของบริษัท 3. เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองมีน้ําหนักเบากว่าของบริษัท ผู้ป่วยจึง ไม่ต้องแบกรับน้ําหนักของเฝือกอ่อนดามกระดูกในการรักษาภาวะกระดูกหักหรือข้อเคลื่อนมากเกิน ความจําเป็น 4. เนื่องจากฟองน้ําที่นํามาประดิษฐ์เป็นปลอกหุ้มมีความหนาและความหนาแน่นน้อยกว่า จึงมีความสามารถในการเก็บกักความร้อนที่เกิดขึ้นได้น้อย อุณหภูมิที่วัดได้ในเฝือกอ่อนดามกระดูก ชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองจึงสูงว่าเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปของบริษัท 5. การรับแรงกดของเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองหลังแข็งตัวน้อยกว่า แรงกดของบริษัท ประมาณ 16.54 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็เป็นแรงที่เพียงพอสําหรับการใช้งานใน ชีวิตประจําวันและสอดคล้องกับข้อมูลที่แพทย์ให้การตอบรับจากการใช้เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิด สําเร็จรูปของบริษัทว่ามีความแข็งแรงเกินไป 6. อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผิวหนังของกลุ่มตัวอย่างขณะใส่เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิด สําเร็จรูปประดิษฐ์เองมากกว่าของบริษัท เนื่องจากความหนาและความหนาแน่นของเนื้อฟองน้ําน้อย กว่า จึงทําให้เฝือกกดลงบนผิวหนังโดยตรง จนมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ผิวหนังได้มากกว่า 7. ความพึงพอใจในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใส่เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิด สําเร็จรูปประดิษฐ์เองน้อยกว่าของบริษัท เนื่องจากอาสาสมัครส่วนใหญ่มีอาการข้างเคียงจากการใส่ เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองมากกว่าอาการข้างเคียงจากการใส่เฝือกอ่อนดาม กระดูกชนิดสําเร็จรูปของบริษัท จึงให้คะแนนความพึงพอใจน้อยกว่า ซึ่งโดยรวมแล้วประสิทธิภาพของ เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในทุก ๆ ด้าน แต่เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตต่ํากว่ามาก จึงสมควรนําไปใช้แทนการใช้เฝือกอ่อนดามกระดูก ชนิดสําเร็จรูปของบริษัท ข้อเสนอแนะ 1. ในการวิจัยครั้งนี้พบว่าอาสาสมัครมีอาการข้างเคียงจากการที่ผิวหนังขณะที่ใส่เฝือก เนื่องจาก อาสาสมัครไม่ได้รับการบาดเจ็บจึงสามารถเคลื่อนไหวอวัยวะที่ใส่เฝือกอ่อนได้ทําให้ผิวหนังเสียดสีกับ เฝือกอ่อนจนเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง หากนําหลักการในการประดิษฐ์เฝือกอ่อนมาใช้จริง ควร พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นการเพิ่มความหนาของฟองน้ําแบบแผ่นชนิดบางเพื่อช่วยเพิ่ม การเก็บกักความร้อนได้ดีขึ้น ลดอาการข้างเคียงที่เกิดกับผิวหนัง ปรับรูปแบบการเย็บเพื่อยึดแผ่น เฝือกให้อยู่คงที่ป้องกันการหลุดร่วง สูญเสียเนื้อปูน 2. ควรศึกษาประสิทธิภาพการใช้เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองกับผู้ป่วย ที่จําเป็นต้องใส่เฝือกอ่อนดามกระดูกในขาหรือแขน เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้งานเฝือกอ่อน อย่างแท้จริง การนําไปใช้ประโยชน์ เฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปประดิษฐ์เองนี้ ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้แทนเฝือกอ่อนดาม กระดูกชนิดสําเร็จรูปที่สั่งซื้อจากบริษัท ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วย และประหยัด งบประมาณของโรงพยาบาลในการสั่งซื้อวัสดุทางการแพทย์ ได้มากกว่า 50 % โดยที่ยังคงประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลใกล้เคียงกับเฝือกอ่อนดามกระดูกชนิดสําเร็จรูปที่สั่งซื้อจากบริษัทสามารถประดิษฐ์ใช้ได้เองในโรงพยาบาลทั่วไป หรือปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสมต่อความต้องการของผู้ใช้ เช่น ผู้ป่วยเด็ก เป็นต้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1593
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_081.pdf3.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น