กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1560
ชื่อเรื่อง: การประเมินกำลังเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสริมกำลังด้วยวิธีเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กวิธีเพิ่มหน้าตัดด้วยปูนซีเมนต์ชนิดไม่หดตัว และวิธีการพันด้วยแผ่นไฟเบอร์ใยแก้ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of reinforced concrete columns strengthened by reinforced concrete, Non-shrinkage cement, and GFRP jackets
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อานนท์ วงษ์แก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ปูนซีเมนต์
ไฟเบอร์ใยแก้ว
เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ประสิทธิภาพการเสริมกำลังรับแรงอัดของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิธีที่นิยมใช้ในประเทศไทยสามวิธี คือ การเสริมกำลังเสาด้วยวิธีเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก การเสริมกำลังเสาด้วยวิธีเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรีตชนิด ไม่หดตัว และการเสริมกำลังเสาด้วยวิธีการพันด้วยแผ่นไฟเบอร์คาร์บอน ถูกนำเสนอผ่านผลการศึกษานี้ด้วยการทดสอบตัวอย่างเสาในห้องปฏิบัติการ เตรียมตัวอย่างเสา ค.ส.ล. ทดสอบต้นแบบ (C) ชนาดหน้าตัด 15x15, 20x20 และ 25x25 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร จำนวนหน้าตัดละ 5 ตัวอย่าง เมื่อบ่มอายุคอนกรีตจนได้อายุ 28 วัน นำตัวอย่างเสา ค.ส.ล. ต้นแบบจำนวนหน้าตัดละ 4 ตัวอย่างมาทำการเสริมกำลังด้วยวิธีเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรียเสริมเหล็ก (RCJ) 1 ตัวอย่าง ทำการเสริมกำลังด้วยวิธีเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรีตชนิดไม่หดตัว (NS) 1 ตัวอย่าง และทำการเสริมกำลังด้วยวิธีการพันรอบด้วยแผ่นไฟเบอร์คารืบอน 1 ชั้น (F1) จำนวน 1 ตัวอย่าง และ 2 ชั้น (F2) 1 ตัวอย่าง จากนั้นทำการทดสอบความสามารถในการรับแรงอัดของเสาแต่ละหน้าตัดรวมทั้งหมดเป็น 15 ตัวอย่าง นำค่ามาวิเคราะห์เปรียบเทียบ พร้อมทั้งสังเกตพฤติกรรมการพังของเสา จากผลการทดสอบเสาสรุปได้ว่าการเสริมกำลังเสาทั้งสามวิธีช่วยเพิ่มกำลังรับแรงอัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกเว้นวิธีการเสริมกำลังด้วยการเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรีตชนิดไม่หดตัว นอกจากนั้นเสาที่เสริมกำลังด้วยวิธีนี้ยังมีพฤติกรรมการพังแบบเปราะ ดังนั้นการเสริมกำลังเสาด้วยวิธีเพิ่มหน้าตัดด้วยคอนกรีตชนิดไม่หดตัว (NS) โดยใช้รายละเอียดเหล็กยืนที่มุมเสาและพันรอบด้วยลวดตะแกรง เป็นการเสริมกำลังที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สมควรนำไปใช้ในงานก่อสร้างจริง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1560
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_214.pdf2.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น