กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1554
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | รัตนาภรณ์ ศรีวิบูลย์ | |
dc.contributor.author | จันทร์จรัส วัฒนโชติ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:07:12Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:07:12Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1554 | |
dc.description.abstract | จากที่ได้คัดเลือกเชื้อแอคติโนมัยซีทที่ได้แยกเชื้อได้ใหม่จากป่าชายเลนในจังหวัดชุมพร และป่าชายเลนปากแม่น้ำพังราด จังหวัดระยอง มาศึกษาเพื่อพัฒนาการผลิตเซลล์ เพื่อการวิเคราะห์หาสารต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณกรดไขมัน และเพื่อการหาสูตรโครงสร้างของสาร พบแอคติโนมัยซีท จำนวน 16 และ 24 ไอโซเลตตามลำดับ จากการทดสอบการสร้างสารแอนติไบโอติกเบื้องต้นด้วยวิธี cross streak พบว่าแอคติโนมัยซีทที่พบจากปาชายเลนจังหวัดชุมพรให้สารยับยั้งจุลินทรีย์เพียง 2 ไอโซเลท ในขณะที่แอคติโนมัยซีทที่พบจาก ป่าชายเลนจังหวัดระยองพบ 4 ไอโซเลท แต่อย่างไรก็ดี ผลจากการศึกษาทางสัณฐานวิทยาและการวิเคราะห์ผนังเซลล์ทางเคมี โดยตรวจสอบชนิดของกรดไดอะมิโนไพมิลิค และน้ำตาลที่มีอยู่ในเซลล์ทั้งหมด พบว่า แอคติโนมัยซีทที่พบจากทั้งสองบริเวณณนั้นอยู่ในแฟมิลี่ Micromonosporaceae เหมือนกันโดยจีนัสที่พบ ได้แก่ Micromonospora, salinispora, Spirilliplanes และ Virgisporangium เป้นต้น และจากการคัดเลือกแอคติโนมัยซีทที่สร้างสารแอนติไบโอติกที่ดี และมีสารต้านอนุมูลอิสระ จำนวน 6 สายพันธุ์ คือ CH 54-8, A3-3, CP-PH 3-2, CP-PH 3-12, CH 8-4A และ RY 2-20 มาปรับปรุงสายพันธุ์ด้วยการเหนี่ยวนำด้วยแสงอัลตราไวโอเลต เป็นเวลา 15, 20 และที่ 25 นาที และคัดเลือกเฉพาะโคโลนีที่สร้างสารมากกว่าโคโลนีอื่น ๆ ออกมาทดสอบการเลี้ยงปริมาณมาก และสารสกัดแอนติไบโอติกเปรียบเทียบกับปริมาณของสารสกัดจากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่ไม่ผ่านแสงอัลตราไวโอเลต พบว่าส่วนมากแล้ว แต่ละสายพันธุ์มีการสร้างสารออกฤทธิ์ได้มากขึ้น แต่ไม่มากนัก ยกเว้น แอคติโนมัยซีท RY 2-20 ที่สร้างสารลดลง อย่างไรก็ดีพบว่า แอคติโนมัยซีท CP-PH3-12 เป็นสายพันธุ์ที่สามารถสร้างสารที่สกัดได้จากทั้งภายในเซลล์ และที่สร้างออกมาในอาหารเลี้ยงเชื้อ มากขึ้นกว่าเดิม 6 เท่า และ 2 เท่า ตามลำดับหลังจากที่ได้เหนี่ยวนำด้วยแสงอัลตราไวโอเลต | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | จุลินทรีย์ | th_TH |
dc.subject | แอคติโนมัยซีท | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | การพัฒนาการผลิตสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากแอคติโนมัยซีทและการผลิตเซลล์ปริมาณมาก | th_TH |
dc.title.alternative | Developmental production of bioactive compounds from actinomycetes and cell mass production | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2558 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2560_104.pdf | 5.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น