กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1514
ชื่อเรื่อง: การประเมินสถานภาพของหอยมือเสือครอบครัว Tridacnidae บริเวณแนวปะการัง หมู่เกาะสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (ปีงบประมาณ 2556)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิติธร สรรพานิช
ธีระพงศ์ ด้วงดี
อัญชลี จันทร์คง
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: แนวปะการัง
หอยมือเสือ
หอยมือแมว
อ่าวไทย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การประเมินสถานภาพของหอยมือเสือครอบครัว Tridacnidae บริเวณแนวปะการังหมู่เกาะสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พบว่าหอยมือเสือมีความหนาแน่นเฉลี่ยมากที่สุดที่สถานีเกาะขามทิศเหนือ จำนวน 8.3+-0.7 ตัว/ 100 ม 2 และน้อยที่สุดสถานีเกาะแรดทิศตะวันออก จำนวน 0.1+-0.3 ตัว /100 ม 2 สำหรับหอยมือแมวจะมีความหนาแน่นเฉลี่ยมากที่สุดที่สถานีหาดลูกลม เกาะแสมสาร จำนวน 25.4+-0.4 ตัว/100 ม2 น้อยที่สุดที่หาดเทียน เกาะแสมสารคือ จำนวน 0.1+0.3 ตัว/ 100 ม2 หอยมือแมวไม่พบ 4 สถานี คือ เกาะขามทิศใต้, เกาะแรดเหนือ, หาดเตย เกาะแสมสารและ หาดกรวด เกาะแสมสาร หอยมือเสือจะมีขนาดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 18.4+-0.6 -31.3+-1.9 ซม. หอยมือแมวจะมีขนาดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 8.6+-1.1-15.7+1.9ซม. มีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างทั้งหอยมือเสือกับสัดส่วน (%) ของปริมาณปะการังในรูปทรงกึ่งก้อน (submassive) และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ (ปะการังอ่อน, สาหร่ายอ่อน ฯลฯ) แต่มีสัมพันธ์เชิงลบกับปะการังเขากวางกิ่ง ส่วนหอยมือแมวนั้นจะมีสัมพันธ์เชิงบวกกับปะการังกึ่งก้อนเช่นกัน แต่มีสัมพันธ์เชิงลบกับปะการังเขากวางกิ่งและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ Assessment on the status of Giant Clams: Family Tridacnidae along the coral reefs at Sattahip islands, Chonburi Province was conducted. The maximum mean density of Tridacna squamosa was 8.3+-0.7 ind./100 m2 at the north of Karm island whereas the minimum was 0.1+-0.3 ind./100 m2 at the east of Rad island. The maximum mean density of Tridacna corcea was 25.4+-04 ind./100 m2 at the Look-Lom beach, Samaesarn island whereas the minimum was 0.1+-0.3 ind./100 m2 at the Tien beach, Samaesarn island. The south of Karm island, the north of Rad island, Toey beach, Samaesarn island and Krouwd beach, Samaesarn island. The positive correlation showed in T. squamosa with the percentage proportion of submassive corals and other organisms but showed negative with the branching Acropora sp. The positive correlation also showed in T. crocea and submassive coral but with branching Acropora sp. And other organisms showed in negative.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1514
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_114.pdf5.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น