กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1483
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี (ปีที่ 1): การประเมินศักยภาพของแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ.
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development family and community health leader for elderly in community: Saensuk municipality Chonburi (Phase I): Assessment of health leader in family and community for elderly care.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เวธกา กลิ่นวิชิต
พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
สรร กลิ่นวิชิต
พวงทอง อินใจ
คนึงนิจ อุสิมาศ
พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ - - การดูแล
แกนนำสุขภาพ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นดครงการย่อยที่ 3 เรื่อง “การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัว และชุมชน เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี” ในชุดแผนงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเมืองผู้สูงอายุแสนสุข” ซึ่งในปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแกนนำครอบครัว และชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ตามบริบทของพื้นที่เทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ บุคคลในครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 คน ของครัวเรือนที่อยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 23,925 ครัวเรือน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กำหนดขนาดหลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจ์ซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 377 คน ตัวแปรที่ศึกษา คือ ศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 2) ปัญหาด้านภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 3) ความสามารถในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และ 4) การสนับสนุนทางสังคมเพื่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ และมีค่าความเชื่อมั่น 0.87 และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ในความดูแลของแกนนำผู้ดูแลครอบครัวและชุมชน พบว่า มีการรับรู้โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.98 , SD= 0.78) 2. ปัญหาสุขภาพเรื่องโรคและการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยโรคเรื้อรังเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อม/ เก๊าท์/ รูมาตอยด์/ปวดข้อ ร้อยละ 94.96 รองลงมา คือ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 75.66 และโรคกระเพาะอาหาร/กระเพาะอาหารอักเสบ ร้อยละ 61.80 ปัญหาสำคัญในระยะเวลา 1 ปี ของผู้สูงอายุ เป็นปัญหาเรื่องการมองเห็น (สายตายาวมองเห็นไม่ชัดเจน) ร้อยละ 76.39 รองลงมา คือ การสูญเสียความจำ (ขี้ลืม ทบทวนความจำได้ยาก) ร้อยละ 70.03 และท้องผูก/อุจจาระ/ปัสสาวะราด (ไม่สามารถกลั้นอุจจาระปัสสาวะได้) ร้อยละ 69.7 3. ความสามารถในการดูแลสุขภาพของแกนนำ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 5.09/10.00) 4. การสนับสนุนทางสังคม พบว่า คู่สมรสของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังมีชีวิตอยู่ (ร้อยละ 81.96) มีอายุเฉลี่ย 68.98 ± 5.03 ปี ประกอบอาชีพค้าขาย (ร้อยละ 33.95) ส่วนใหญ่มีบุตรและยังมีชีวิตอยู่ (ร้อยละ 94.16) จำนวนบุตรเฉลี่ย 3.39 ± 0.08 คน เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.69) พักอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน (ร้อยละ 64.46) ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 8.12 ± 2.23 คน สัมพันธภาพส่วนใหญ่เป็นบุตร/ธิดา (ร้อยละ 40.95) แหล่งสนับสนุนด้านการเงินของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่คือ บุตร/ธิดา (ร้อยละ 75.86) การประกันสุขภาพของผู้สุงอายุ ส่วนใหญ่ คือบัตรประกันสุขภาพ (ร้อยละ 67.90) ผู้สูงอายุสามารถจ่ายและจัดการค่ารักษาพยาบาลได้ด้วยตนเองได้ (ร้อยละ 84.35) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนเรื่องการเงินสำหรับการดูแลตนเองในระยะยาว (ร้อยละ 92.57) และมีความวิตกกังวลเรื่องการเงิน (ร้อยละ 76.39) แหล่งสนับสนุนด้สนผู้ดูแล เมื่อผู้สูงอายุเจ็บป่วย ผู้ดูแลหลักในครอบครัว คือ บุตร/ธิดา (ร้อยละ 59.42) โดยผู้ดูแลหลัดส่วนใหญ่มีงานทำ (ร้อยละ 100.00) เป็นการทำงานที่บ้าน (ร้อยละ 72.15) ผู้ช่วยเหลือในการทำงานบ้านส่วนใหญ่เป็นการช่วยกันทำระหว่างผู้สูงอายุเองและสมาชิกในครอบครัว (ร้อยละ 42.97) แหล่งสนับสนุนด้สนจิตใจ ผู้สูงอายุมีบุคคลที่ไว้วางใจได้ (ร้อยละ 95.23) มีบุคคลที่ช่วยเหลือเกื้อกูลด้านจิตใจเมื่อต้องการ (ร้อยละ 53.58) มีบุคคลที่สามารถคุยด้วยเมื่อเกิดความกังวลใจ (ร้อยละ 56.50) เมื่อผู้สูงอายุเจ็บป่วยมีผู้มาเยี่ยมเยียน (ร้อยละ 85.15) โดยมีความถี่ของการมาเยี่ยมเฉลี่ย 2.32 ± 0.66 ครั้งต่อสัปดาห์ มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา (ร้อยละ 74.01) ความฉี่เฉลี่ย 1.20 ± 0.14 ครั้งต่อสัปดาห์ กิจกรรมทางศาสนาที่เข้าร่วมส่วนใหญ่ เป็นการทำบุญตามประเพณีที่สำคัญ (ร้อยละ 20.13) รองลงมา คือ การนั่งสมาธิ (ร้อยละ 19.81) และการสวดมนต์/ฟังเทศน์ (ร้อยละ 18.52). ข้อเสนอแนะ: ควรพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแก่แกนนำครอบครัวและชุมชน อย่างเป็นระบบโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม และมีการติดตามการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง The purpose of this research were to asses potential of elderly care in health leader of Saensuk Municipality, Chonburi Thailand. The samples which were selected from the total health leaders in families population of 23,925 households in Saensuk Municipality, Chon buri, Thailand were 377 person. The study variables were potential of elderly care consisted of 1) Perceived of Elderly health status 2) Health problems 3) Self assessment of elderly care and 4) Social support for elderly care. Questionnaire were validity and reliability (r=0.87) and accredited from Burapha university Ethics committee. Statistics including frequency,percentage, mean and standard deviation were used for data analysis. The study revealed that: 1. Perceived of Elderly health status in health leader were in medium level (X =2.98, SD=0.78) 2. Health problems of the elderly in the community were chronic illness in musculo –skeleton system such as arthritis, gout, Rheumatisms and joint pain (94.96%), and heart and vascular diseases such as hypertension (75.66%) including digestion system such as peptic ulcer or abdominal pain (61.80%). In one year, the elderly usually had problems in visual (76.339%), lossmemory (70.03%) and Fecal constipation or urine constituents (69.7%) 3. Self assessment of elderly care were in medium level ( X=5.09/10.00) 4. Social support for elderly care showed that spouses of the elderly still alive (81.96%), mean age 68.98+-5.03 years, were trading (33.95%) Children of the elderly, and lived (94.16%), number of children average 3.39+-0.8, mostly female (66.69%) live together (64.46%), have hosehold member currently average 8.12+-2.23, most of the relationship were son/daughter (40.95%), the financial support of the most elderly people are sons/daughters (75.86%). Health insurance for most elder was national health insurance (67.90%). Most of the elder can afford and manage the care of their own (84.35%). Most of them have never received advice on planning of nancing long-term plan (92.57%) and felt anxiety about their finance (76.39%). The care giver of the elderly were sons/daughters (59.42%), the primary caregivers are employed (100.00%) by working at home (72.15%). Daily housekeeper were the elderly and family members done together (42.97%). Psychological resources for help the elderly, They had some persons they trust (95.23%), some persons who can support their mind (53.58%), some persons can talk to when they felt anxiety (56.50%). on the elderly had sick they have visitors (85.15%), with the frequency of visits, average 2.32+-0.660 time per week. Participating in religious activities (74.01%), the average frequency of 1.20 +- 0.14 times per week. Religious activities in the most important traditional merit (20.13%), followed by meditation (19.81%) and prayer/ sermon (18.52%). Suggestions: should develop the capacity and ability to care for their health and community leaders using a participatory process and systematic approach. As well, the continually evolving.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1483
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น