กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1453
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | เสาวภา สวัสดิ์พีระ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:07:05Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:07:05Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1453 | |
dc.description.abstract | แผนงานวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมนดาริน, Synchiopus splendidus (Herre, 1927) เพื่อการอนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์ เป็นแผนงานวิจัยที่มีความสอดคล้อง กับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ แผนงานวิจัยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับประมงและการเพาะเลี้ยงชายฝั่งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและนำไปสู่การแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง มีวัตถุประสงค์หลักของแผนงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้งการ์ตูนสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์ มีระยะเวลาการวิจัย 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ 2556-2558 ปีที่รายงานเป็นปีแรกของแผนการวิจัย แผนงานวิจัยประกอบไปด้วย โครงการวิจัย 8 โครงการ ภายใต้ 4 แผนงานวิจัยย่อย สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ 2556 ประกอบไปด้วย 3 แผนงานวิจัยย่อย 5 โครงการวิจัย ได้รับงบประมาณรวมทั้งสิ้น 2,812,600.00 บาท (สองล้านแปดแสนหนึ่งหมื่นสองพันหกร้อยบาท) ผลการดำเนินงานพบว่า บรรลุเป้าหมายของแผนงานวิจัย 2 ตัวชี้วัด จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่หนึ่ง ได้ข้อมูลผลงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์การเจริญพันธุ์ของปลาแมนดารินที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น และสามารถนำไปใช้สนับสนุนในการจัดการ การทำฟาร์มเพาะเลี้ยง ในด้านการจัดการพ่อ-แม่พันธุ์ เป็นผลสำเร็จเบื้องต้น เพื่อนำไปใช้สนับสนุนในการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมนดารินของแผนงานวิจัยต่อไป และองค์ความรู้พื้นฐานทางด้านพันธุ์ศาสตร์เซลล์ของปลาแมนดาริน เพื่อใช้ในการวางแผนสำหรับการอนุรักษ์ การปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นปลาเศรษฐกิจ และเพิ่มผลผลิตเพื่อคืนสู่ธรรมชาติ ตัวชี้วัดที่สอง ได้ระบบเลี้ยงปลาแมนดาริน ในเรื่องของสภาพแวดล้อมต่างๆ ชนิดของอาหารและปริมาณอาหารธรรมชาติที่เหมาะสม สัดส่วนของพื้นที่ที่ผลิตอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในตู้เลี้ยงกับพื้นที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดาริน ระบบกรองชีวภาพ ระบบการเก็บตัวอ่อนลูกปลา หลังจากนั้นจะมีระบบการเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในขนาดต่างๆ และทำการทดสองระบบเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ที่ออกแบบพัฒนาขึ้นมา และได้สัดส่วนความหนาแน่นของลูกปลาแมนดารินที่เมาะสม ต่ออัตรารอด การเจริญเติบโต ในการอนุบาลปลาแมนดาริน ตั้งแต่แรกฟักจนถึงระยะที่มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ( Metamorphosis) ตัวชี้วัดที่สาม ได้ข้อมูลการตลาดที่สมบูรณ์พร้อมนำมาใช้ในการประเมินในการทำฟาร์มต่อไป ผลการวิจัยได้ข้อมูลการตลาดจากการสำรวจสมบูรณ์แล้ว สามารถแสดงให้เห็นถึงชนิด ปริมาณและมูลค่าของปลาแมนดารินในตลาดของสัตว์ทะเลสวยงามภายในประเทศ และโรคที่พบในปลาแมนดาริน เพื่อเป็นแนวทางในการรักษา การกักโรคและการป้องกันโรค ผลสำเร็จของงานวิจัยระยะนี้เป็นผลสำเร็จเป้าประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | แผนงานวิจัยปีงบประมาณ 2556-2558 รายงานผลการดำเนินงาน ปีที่ 1 ปีงบประมาณ 2556 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ปลา - -การเลี้ยง | th_TH |
dc.subject | ปลาแมนดาริน | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เพื่อการอนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์ | th_TH |
dc.title.alternative | Development of aquaculture technology of mandarinfish, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) for conservation and commercial production | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2556 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2559_019.pdf | 503.48 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น