กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/145
ชื่อเรื่อง: | การเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ของผู้ป่วยเบาหวานระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่มารับบริการตรวจรักษาที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Comparison of drug using compliance between diabetic patients with and without comolications at health science center |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เวธกา กลิ่นวิชิต พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ วัลลดา เล้ากอบกุล นลิน มงคลศรี วัลลภา พ่วงขำ พิจารณา ศรีวาจนะ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เบาหวาน - - โรค - - การรักษา เบาหวาน - - ผู้ป่วย - - การใช้ยา เบาหวาน - - ผู้ป่วย - - ยา สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนกลับ (Case-Control Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ของผู้ป่วยเบาหวานระหว่างกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนและไม่มีภาวะแทรกซ้อน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยอาศัยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling) จากผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินไม่น้อยกว่า 2 ปี ที่มารับบริการการตรวจรักษาที่คลินิกเฉพาะโรคเบาหวาน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ทุกรายในช่วงเวลา ที่ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล จนได้กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมเป็น กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 77 คน และไม่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน 4 ด้าน ได้แก่ 1) พฤติกรรมการรับประทานยา 2) พฤติกรรมการรับประทานอาหาร 3) พฤติกรรมการออกกำลังกาย และ 4) พฤติกรรมการดูแลตนเอง / การจัดการการเครียด และแบบบันทึกผล การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฎิบัติการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่า ที (T-test) การวิเคราะหืค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ที่ได้โดยการทดสอบค่า ที (t) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) การเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งสองกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) การเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพด้านอื่นๆ พบว่า พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลตนเอง/การจัดการความเครียด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งสองกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งที่ไม่มีและมีภาวะแทรกซ้อน มีพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเอง ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง และมีพฤติกรรมด้านการรับประทานยา การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลตนเองเกี่ยวกับการจัดการความเครียดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการรับประทานยา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มากกว่าพฤติกรรมสุขภาพด้านด้านอื่น ๆ 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ โดยรวม ได้แก่ ระดับการศึกษา โดยมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อาชีพ มีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รายได้ มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 อาชีพ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการรรับประทานอาหาร อย่างมีนียสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 รายได้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการรับประทานยา การรับประทานอาหาร การจัดการความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, .01 และ .05 ตามลำดับ ระยะเวลาการเจ็บป่วย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/145 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
วธกา_กลิ่นวิชิต_และคณะ.pdf | 5.61 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น