กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1443
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการผลิตสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากแอคติโนมัยซีทและการผลิตเซลล์ปริมาณมาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development production of bioactive compounds from actinomycetes and cell mass production
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนาภรณ์ ศรีวิบูลย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: จุลินทรีย์
แอคติโนมัยซีท
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากที่ได้คัดเลือกเชื้อแอคติมัยซีทที่สามารถสรา้งสารออกฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ และที่ได้แยกเชื้อได้ไหม จากป่าชายเลนในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช มาศึกษาเพื่อพัฒนาการผลิตเซลล์ เพื่อการวิเคราะห์หาสารต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณกรดไขมัน และเพื่อหาสูตรโครงสร้างของสาร การศึกษาการเลี้ยงในอาหารชนิดต่าง ๆ และในอาหารที่มี pH ต่างๆ กันพบว่า ในอาหาร ISP2 เป็นอาหารที่แอคติโนมัยซีทเจริญได้ดีเป็นส่วนใหญ่ และ pH ระหว่าง pH 7.5-8.0 เป็นช่วง pH ที่แอคติโนมัยซีทสร้างสารออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด แม้ในบางไอโซเลต pH ไม่มีผลต่อการสรา้งสารก็ตาม แอคติโนมัยซีทที่แยกเชื้อได้ใหม่นั้น รวมทั้งหมด 52 ไอโซเลต และในจำนวนนี้มี 27 ไอโซเลตที่สามารถสรา้งสารออกฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ (คิดเป็น 51.2%) การสร้างแอคติโนมัยซีทปริมาณมากเพื่อการวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระ และการวิเคราะห์กรดไขมัน ในโครงการที่ 3 และโครงการที่ 3 และโครงการที่ 4 นั้น ได้ปริมาณเซลล์ (wet weight) รวมทั้งหมด 833.26 กรัม จากอาหารเลี้ยงเชื้อ 14.850 ลิตร จากจำนวนเชื้อแอคติโนมัยซีททั้งหมด 25 ไอโซเลต ส่วนการศึกษาการเจริญของยีสต์ BS6-1 และ BS6-2 นั้น การเลี้ยงใน YM ซึ่งเป็นอาหารสำเร็จรูปให้ปริมาณเซลล์ได้มากกว่า เมื่อเลี้ยงด้วยกากชานอ้อย ภายในเวลาที่เท่ากัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1443
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น