กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1440
ชื่อเรื่อง: | พันธุศาสตร์เซลล์ของปลาแมนดาริน (Synchiropus spp.) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Cytogenetics of madarinfish (Synchiropus spp.) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณภา กสิฤกษ์ ณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน อลงกลด แทนออมทอง มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
คำสำคัญ: | ปลาแมนดาริน สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา โครโมโซม |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาพันธุศาสตร์เซลลืของปลาในวงศ์ปลาแมนดาริน (วงศ์ Callionymidae) 3 ชนิด ได้แก่ ปลาแมนดารินเขียว (Synchiropus splendidus) ปลาแมนดารินจุด (s. picturatus) และสกูตเตอร์ (S.ocellatus) เตียมโครโมโซมจากไตด้วยวิธีการบดขยี้เซลล์ และการเพาะเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดขาวทำการย้อมสีโครโมโซมแบบธรรมดาและแบบสีแบบนอร์ ผลการศึกษาพบว่า จำนวนโครโมโซมดิพลอด์ของปลาแมนดารินเขียวในเพศผู้เท่ากับ 39 แท่ง และในเพศเมีย 40 แท่ง ส่วนปลาแมนดารินจุด และปลาสกูตเตอร์มีทั้งในเพศผู้และเพศเมียเท่ากันคือ 40 แท่ง ปลาทั้งสามชนิดมีจำนวนโครโมโซมพื้นฐานเท่ากับ 40 โดยสามารถจัดสูตรคาริโอไทป์ดังนี้ ปลาแมนดารินเขียวเพศผู้ 2n(39)=Lt8+Mt28+X1X2Y เพศเมีย 2(40)=Lt8+Mt25+X1X1X2X2 ปลาแมนดารินจุด 2n(40)=Lt14+Mt24+St2 และปลาสกูตเตอร์ 2n(40)=Lt16+Mt18+St6 ปลาแมนดารินเขียวมีการกำหนดเพศระบบ X1X1X2X2/X1X2Y สำหรับปลาแมนดารินจุดและปลาสกูตเตอร์ตรวจไม่พบความแตกต่างของคาริโอไทปืระหว่างปลาเพศผู้และเพศเมียมีการย้อมแถบสีแบบนอร์พบนอร์ 3 ตำแหน่ง ในปลาแมนดารินเขียว สำหรับปลาแมนดารินจุดและปลาสกูตเตอร์พบตำแหน่งนอร์ 2 ตำแหน่งจากข้อมูลเบื้องต้นนำมาสรา้งแบบจำลองสมมติฐานสายวิวัมนาการของโครโครโมโซม ทำให้สันนิษฐานได้ว่าปลาแมนดารินทั้ง 3 ชนิดที่ศึกษาในครั้งนี้มาจากบรรพบุรุษร่วมที่มีจำนวนโครโมโซมดิพลอย์เท่ากับ 48 แท่ง มีจำนวนโครโมโซมพื้นฐานเท่ากับ 48 และเป็นโครโมโซมชนิดเทโลเซนทริกทั้งหมด Cytogenetics of three species of the some fishes (family Callionymidae) was studied such as Mandarin fish (Synchiropus splendidus), Picturesque dragonet (S.picturatus) and Ocellated dragonet (S.ocellatus). Chromosomes from kidney tissue and T-lymphocyte cell culture were prepared breaking cell and followed by coventional staining and NOR-banding techniques. The result showed that diploid chromosome number (2n) of Mandarin fish as 39 in male and 40 in female, both male and female of Picturesque dragonet and Ocellated dragonet as 40 in equal. There were 40 fundamental numbers (NF) or chromosome arms in all species. The karyotypic formula of fishes can be shown as following S. splendidus 2n (39) =Lt8+Mt28+ X1X2Y in male, 2n(40)=Lt8+Mt28+X1X1X1X2 in female, S. picturatus 2n (40) =Lt14+Mt24+St2 and S. ocellatus 2n(40)=t16+Mt18+St6. The present discovery knowledge, the sex-chromosome system of S.splendidus was X1X1X2X2/X1X2Y system, in which the X1, X2 and Y classified as largetelocentric, medium telocentric and large metacentric chromosomes, respectively. No strange sizechromosomes related to sex was observed in S. picturatusand S. ocellatus. The results showed that there were 3 positions of NORs in S. splendidus while S. picturants and S. splendidus showed 2 positions with NORs As a conequence the data above can be used to simulate the evolution hypothesis. The three fish species apparently evolved from a common ancestor of 48 telocentric chromosomes (NF=48). |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1440 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2559_104.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น