กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1429
ชื่อเรื่อง: การสะสมและการแพร่กระจายของโลหะหนักบางชนิดในน้ำ ดินตะกอน และพืชป่าชายเลนในชุมชนบ้านแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และศักยภาพของพืชป่าชายเลนในการเป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพตรวจวัดมลพิษจากโลหะหนัก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Accuumalation and distribution of some heavy metals in water, sediment and mangrove plants in Ban Laem Chabang community, Chon Buri province and potential of mangrove plants as bioindicator to monitor heavy metal pollution
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉลวย มุสิกะ
แววตา ทองระอา
วันชัย วงสุดาวรรณ
อาวุธ หมั่นหาผล
อภิวิชญ์ นวลแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ดินตะกอน
ป่าชายเลน
โลหะหนัก
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ป่าชายเลนชุมชนบ้านแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ถูกล้อมรอบด้วยชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ประกอบกับยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับโลหะหนักในป่าชายเลนบริเวณนี้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสะสมและการแพร่กระจายโลหะหนัก ชนิด 7 คือ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี ทองแดง เหล็ก และ นิเกิล ในน้ำ ดินตะกอน และป่าชายเลนชนิดเด่น 4 ชนิดคือ โกงกางใบเล็ก, Rhizophora apiculate โกงกางใบใหญ่, Rhizophora mucronata แสม, Avicennia spp. ตะบูนขาว, Xylocarpus granatum รวมทั้งศึกษาศักยภาพของพืชป่าชายเลนในการเป็นดัชนีวัดทางชีวภาพตรวจวัดมลพิษจากโลหะหนัก โดยเก็บตัวอย่าง 2 ครั้งในฤดูฝน (ตุลาคม 2555) และฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์ 2557) ผลการศึกษา พบว่า โลหะหนักส่วนใหญ่ในน้ำและดินตะกอนมีค่าสูงในสถานีก่อนเข้าสู่ป่าชายเลน และมีปริมาณลดลงเมื่อออกจากป่าชายเลนไปสู่ทะเล โลหะหนักในน้ำมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ส่วนโลหะหนักในดินตะกอนส่วนใหญ่มีค่าสูงเกินมาตรฐานคุณภาพตะกอนในดินแหล่งน้ำผิวดินในบางสถานีและบางฤดูกาล การศึกษาโลหะหนักในรากและใบของพืชป่าชายเลน พบว่าโลหะหนักส่วนใหญ่เข้าไปสะสมอยู่ที่รากมากกว่าที่ใบทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ทั้งนี้ราของพืชป่าชายเลนมีความสามารถสะสมโลหะหนักได้น้อยกว่าปริมาณที่มีอยู่ในดินตะกอน แต่ปริมาณโลหะในรากเป็นโลหะหนักที่เข้าสู่สิ่งมีชีวิตได้และใช้บ่งบอกถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่โลหะหนักในดินตะกอนเป็นปริมาณโลหะหนักรวม พบว่า รากของต้นตะบูนขาว And Xylocarpus granatum มีประสิทธิภาพในการดูดซึมและนำโลหะหนักเกือบทุกชนิดเข้าสู่เนื้อเยื่อได้ดี โดยเฉพาะสามารถสะสมแคดเมียมได้ในปริมาณที่สูงกว่าในดินตะกอน จึงจัดว่ารากของต้นตะบูนขาว เป็น Cd hyperaccumulator และในส่วนของใบ พบว่า ใบของต้นแสม มีอัตรานำเข้าโลหะหนักทุกชนิดได้สูงที่สุด ด้วยเหตุนี้รากของพืชป่าชายเลนจึงมีศักยภาพ ในการเป็นดัชนีชีวัดทางชีวภาพในการตรวจสอบวัดมลพิษจาก โลหะหนักได้ดีกว่าใบ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1429
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น