กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1426
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาภาวะสุขภาพของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่รับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Health status of peritoneal dialysis patients in Burapha University hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พัชริน แน่นหนา สมชาย ยงศิริ ปาริดา คำฟูบุตร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ไต - -โรค |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | แนวคิดการศึกษา ภาวะโภชนาการเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้อง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและภาวะโภชนาการของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่รับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาในช่วงระยะเวลา 6 เดือน และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาตัวด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องทางโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา เลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ค่าความพร้อมเพียงของการล้างไตทางช่องท้อง (weekly Kt/V) แบบบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ วัดคุณภาพชีวิต (QOL) ด้วยเครื่องมือ WHOQOL-BREF วัดภาวะโภชนาการด้วยเครื่อง multi-frequency bioelectrical impedance analysis (BCM) และแบบสอบถาม mini nutritional assessment (MNA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างด้วย Student-t test เปรียบเทียบความสัมพันธ์ด้วย ANOVA test ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 37 ราย เป็นเพศหญิงร้อยละ 70.27 อายุเฉลี่ย 54.78+/-12.16 ปี ส่วนใหญ่มีสภาพเยื่อบุช่องท้องเป็นแบบ low average transport มีคะแนนคุณภาพชีวิตอยู่ในกลุ่มปานกลางร้อยละ 91.89 มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 45.95 เคยนอนโรงบาลร้อยละ 59.46 เคยติดเชื้อในช่องท้องร้อยละ 45.54 กลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปีมี weekly Kt/V มากกว่าผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.77+/-0.35 vs. 1.43+/-0.46, p = 0.028) weekly Kt/V ไม่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ภาวะโภชนาการ อัตราการติดเชื้อ การนอนโรงพยาบาลและ ค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ภาวะโภชนาการจากการวัดด้วย MNA มีความสัมพันธ์กับ QOL ในระดับปานกลาง r= 0.51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.001 แต่ไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าวเมื่อวัดด้วย BCM สรุป ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ปานกลางร้อยละ 91.89 และเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 45.95 weekly Kt/V ไม่มี ผลต่อสภาวะสุขภาพ ภาวะโภชนาการจากการวัดด้วย MNA มีความสัมพันธ์กับ QOL ในระดับปานกลาง Background: Nutritional status is a strong predictor of treatment outcome in end stage renal disease (ESRD) patients. Objective: The aim of this study is to explore health status, nutritional status and quality of life of ESRD patients who being treated with continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) in Burapha University Hospital, Thailand. Material and methods: the current study is a cross-sectional, descriptive analytic study in ESRD patients who received CAPD treatment in Burapha University Hospital, Thailand. Data record from consist of baseline characteristic, dialysis adequacy, health status, quality of life measured by WHOQOL-BREF questionnaire, nutritional assessment by multi-frequency bioelectrical impedance analysis (BCM) and mininutritional assessment (MNA). Statistical analysis was done by program R version 3.0. Result: Thirty seven out of 78 CAPD patients were included in this study, 70.27% of them are female, mean age of 54.78+/-12.16 year and most of them are low transporter. Almost all of them had quality of life in the middle range (91.89%), 45.95% are at risk for malnutrition, 59.46% had history of hospital admission, 40.54% had history of peritonitis. Patients who aged under 60 years had higher weekly Kt/V (1.77+/-0.35 vs. 1.43+/-0.46, p = 0.028). weekly Kt/V did not have effect on nutritional status, infection, hospitalization or laboratory parameters. There was a correlation between nutritional status as assessed by MNA and QOL (r = 0.51, p= 0.001) but not BCM. Conclusion: Most of CAPD patients in Burapha university Hospital had quality of life in the middle raged; almost half of them were at risk for malnutrition. Weekly Kt/V did not correlate with health status. Better nutritional status as assessed by MNA was correlated with higher QOL. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1426 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_035.pdf | 5.53 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น