กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1424
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกฤติน กิตติกรชัยชาญth
dc.contributor.authorพัทยา จันทร์เสงี่ยมth
dc.contributor.authorนฤมล ไชยชำนาญเวทย์th
dc.contributor.authorเอกนาจ อาจธนกุลth
dc.contributor.authorนันทนา หอมสุขth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:03Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:03Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1424
dc.description.abstractรูปแบบการวิจัย การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) จุดประสงค์ของการวิจัย 1. จัดทำวิดีทัศน์ให้ความรู้เกี่ยวกับการระงับความรู้สึก (วางยาสงบ) แก่ผู้ป่วยหูหนวกเป็นใบ้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการระงับความรู้สึก (วางยาสงบ) ของผู้ป่วยหูหนวกเป็นใบ้ก่อนและหลังการให่ความรู้ข้อมูลในรูปแบบวิดีทัศน์ กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนโรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดชลบุรี จำนวน 30 คน ได้มาโดยเจาะจงนักเรียนที่หูหนวกเป็นใบ้ชั้นมัธยมปลาย วิธีการวิจัย นักเรียนทุกคนจะต้องทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ซึ่งวัดความรู้เกี่ยวกับการระงับความรู้สึก (วางยาสงบ) ก่อน ระหว่าง และหลังการดูวิดีทัศน์ ผลการวิจัย เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังดูวิดีทัศน์ของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติ Paired Samples t-test พบว่า ผลทดสอบระหว่างเรียนคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 63.91% คะแนนเฉลี่ยก่อนดูวิดีทัศน์และหลังดูวิดีทัศน์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยที่หลังดูวิดีทัศน์มีคะแนนเฉลี่ย (= 5.500) สูงกว่าก่อนดูวิดีทัศน์ (=4.900) นักเรียนส่วนใหญ่มีคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 80 คิดเป็นร้อยละ 56.67 และคะแนนระหว่างเรียนมากกว่าร้อยละ 80 คิดเป็นร้อยละ 43.33 สรุปการวิจัย ผู้ป่วยมีความรู้เพิ่มมากขึ้นหลังจากได้ดูวิดีทัศน์อย่างมีนัยสำคัญ แต่ผลการทดสอบระหว่างเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ การสื่อสารในกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรูปแบบของการสื่อสารจะต้องใช้หลาย ๆ รูปแบบผสมผสานกัน เช่น การใช้ภาษามือ การดูรูปภาพ การดูวิดีทัศน์ การโต้ตอบซักถามข้อสงสัย เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลก็มีส่วนสำคัญในการช่วยให้ความรู้แก่ผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ในอนาคตอาจต้องปรับปรุงในส่วนต่าง ๆ ของวิดีทัศน์เพื่อผู้ป่วยหูหนวกเป็นใบ้สามารถเข้าใจในเนื้อหาเกี่ยวกับการวางยาสลบได้มากขึ้น และศึกษาในกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipรายงานการวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2555en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการระงับความรู้สึกth_TH
dc.subjectยาสลบth_TH
dc.titleการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการระงับความรู้สึก (วางยาสลบ) โดยให้ข้อมูลก่อนการระงับความรู้สึก (วางยาสลบ) ในรูปแบบวิดีทัศน์ในผู้ป่วยหูหนวกเป็นใบ้th_TH
dc.title.alternativeImprovement of anesthesia knowledge with preanesthetic information video in deaf at Chonburi school of deaf
dc.typeResearch
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeStudy design The quasi-experimental research Objective 1. Prepare pre anesthetic information video about general anesthesia for deaf, according to the preformance criteria of 80/80. 2.Comparative knowledge about general anesthesia, before and after watching pre anesthetic information video Population 30 deafs at chonburi school of deaf Methods and result All students are required to measures knowledge of general anesthesia before,during, and after viewing the videotape. The research compares average before and after watching the video of the sample by using Paired Samples t-test showed that the average of knowledge before and after watching the video with a difference statisticall significant at the .05 level. Average of knowledge after watching the video (= 5.500) more than before watching the video (=4.900), during class score = 63.91%, 56.67% of students have during class test score below 80 percent, and 43.33% have score over 80 percent conclusion The knowledge about general anesthesia was increased significantly after watching the video. But tests between classes do not meet performance criteria of 80/80. The communication in deaf is important. There are many forms of communication, such as sign language, pictures, video, two ways communication, etc. Also, the parents are important in helping to educate their kids as well. In the future may be improved in various parts of the video to deaf can understand the content about anesthesia and study in a larger population.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_034.pdf1.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น