กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1421
ชื่อเรื่อง: | การออกแบบอุปกรณ์นำร่องการเจาะสกรูที่กระดูกต้นคอ ข้อที่ 3-7 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Design the prototype of drill guide for the C-spine C3-C7 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิตติ อรุณจรัสธรรม ปัญญา อรุณจรัสธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กระดูก - -โรค - - การรักษา กระดูกต้นคอ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การผ่าตัดกระดูกต้นคอจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดและเครื่องมือนำวิถี (Navigator) ในการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดกระดูกต้นคอถูกจำกัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีเครื่องมือพร้อมเท่านั้น โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาข้อมูลทางภายวิภาคของกระดูกต้นคอข้อที่ 3-7 ของกลุ่มคนไทย จำนวน 20 รายเพื่อนนำมาเป็นข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบอุปกรณ์นำร่องการเจาะสกรูกระดูกต้นคอ จากการออกแบบเครื่องต้นแบบอุปกรณ์นำร่องการเจากสกรูกระดูกต้นคอด้วยโปรแกรมโซลิดเวิร์คและทำการขึ้นด้วยเทคโนโลยีการขึ้นรูปต้นแบบรวดเร็ว จากนั้นทำการทดสอบโดยทดลองเจาะโมเดลกระดูกต้นคอซึ่งหล่อขึ้นรูปด้วยวัสดุโพลียูรีเทน พบว่าสามารถนำร่องการเจาะสกรูในตำแหน่งเพดิคัลได้ทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นทำการทดลองการเจาะสกรูกระดูกต้นคอดังกล่าวมาตรวจสอบหาค่าความคลาดเคลื่อนในการเจาะสกรูกระดูกในตำแหน่งกลางเพดิคัล ซึ่งผลการตรวจสอบค่าความผิดพลาดของการเยื้องศูนย์กลางจากเพดิคัลพบว่า มีการเจาะสกรูคลาดเคลื่อนจากจุดศูนย์กลางของเพดิคัลในกระดูกตั้นตอน้อยที่สุด คือไม่คลาดเคลื่อนเลย และคลาดเคลื่อนมากที่สุดเพียง 60.67 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเครื่องต้นแบบอุปกรณ์นำร่องการเจาะสกรูกระดูกต้นคอข้อที่ 3-7 เหมาะจะนำไปช่วยศัลยแพทย์เพื่อใช้ในการผ่าตัดต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1421 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_036.pdf | 4.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น