กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1420
ชื่อเรื่อง: | การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาระหว่างการทำกายภาพบำบัดและการนวดแผนไทยในผู้ป่วยปวดคอระยะกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรัง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Comparison of the effectiveness between physical therapy and traditional Thai massage in patients with subacute and chronic mechanical neck pain |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพรรณี อำนวยพรสถิตย์ จารุวรรณ กิตติวราวุฒิ พลอยชนก ปทุมานนท์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การทำกายภาพบำบัด การนวด - - ไทย ปวดคอ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบควบคุมสุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาระหว่างการทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีอัลตร้าซาวน์และการนวดแผนไทยแบบราชสำนัก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอระยะกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรัง ในช่วงอายุ 30-65 ปี จำนวน 48 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 24 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับการรักษาโดยวิธีการนวดไทยแบบราชสำนักและประคบสมุนไพร รวมเวลาประมาณ 30-40 นาที กลุ่มที่ 2 ได้รับการประคบร้อน 15-20 นาที และทำอัลตร้าซาวน์บริเวณจุดปวด 1-3 จุด จุดละ 10 นาที ด้วยคลื่นความถี่ 1 MHz ความแรงไฟฟ้า 1 watt/cm2 รวมระยะเวลาให้การบำบัดประมาณ 30-50 นาที ให้การบำบัดจำนวน 2 ครั้ง/สัปดาห์ ห่างกันอย่างน้อย 2 วัน เป็นระยะเวลารวม 4 สัปดาห์ และผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการประเมินโดยให้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ความรุนของอาการปวด (Visual Analog Scale) ดัชนีชี้วัดความบกพร่องในการทำงานของคอ (Neck disability index-Thai version) และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (thai SF-36 version 2) ที่ระยะเวลาก่อนการรักษา หลังการรักษาที่เวลา 2 และ 4 สัปดาห์ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า การนวดไทยแบบราชสำนักและการทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมืออัลตราซาวน์ต่างเพิ่มประสิทธิภาพในการลดอาการปวด ลดดัชนีชี้วัดความบกพร่องในการทำงานของคอและเพิ่มคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกายและทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยพบประสิทธิภาพการบำบัดตั้งแต่ที่เวลา 2 สัปดาห์หลังการบำบัด และประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นที่เวลา 4 สัปดาห์หลังการบำบัด โดยกลุ่มที่ได่้รับการทำกายภาพบำบัดนั้นมีค่าความแตกต่างของประสิทธิภาพสูงกว่ากลุ่มนวดไทยในทุก ๆ ด้านเล็กน้อย แต่ยังไม่พบความแตกต่างทางด้านคลินิกชัดเจน ดังนั้นจากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงว่าการนวดไทยแบบราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพรและการทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมืออัลตราซาวน์ร่วมกับการประคบร้อนเป็นทางเลือกในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรัง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1420 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_070.pdf | 1.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น