กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1417
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจารุวรรณ กิตติวราวุฒิ
dc.contributor.authorสุพรรณี อำนวยพรสถิตย์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:03Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:03Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1417
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความน่าเชื่อถือของดัชนีวัดึวามบกพร่องความสามารถของคอ ฉบับภาษาไทย ในการประเมินความบกพร่องความสามารถของผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอระยะกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอดังกล่าวซึ่งมารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ในช่สงเดือนกุมภาพพันธ์ 2555 ถึง กรกฎาคม 2556 จำนวน 76 คน โดยใช้แบบประเมินความพร่องความสามารถของคอ ฉบับภาษาไทย (Thai NDI) รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความน่าเชื่อถือ (Cronbach's Alpha) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดมีอายุตั้งแต่ 20 ถึง 65 ปี อายุเฉลี่ยเท่ากับ 47.9 ปี เป็นเพศหญิง 57 คน (คิดเป็นร้อยละ 76) มีอาการปวดคอมานานเฉลี่ย 22.6 เดือน (Min-Mix:1-120, Median:12) และส่วนใหญ่มีอาการปวดมานานตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี (ร้อยละ 35.6) คะแนนความรุนแรงของอาการปวดเฉลี่ย 6.3+-1.8 และคะแนนเฉลี่ยของดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอเท่ากับ 13.9+-6.8 ความน่าเชื่อถือของดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคออยู่ในระดับที่น่าเชื่อถือทั้งค่าคะแนนรวมและคะแนนในแต่ละหัวข้อย่อยทั้ง 10 ความน่าเชือถือของดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอมีระดับความน่าเชื่อถือมากที่สุด เมื่อใช้ประเมินในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอมาไม่เกิน 2 ปี และคะแนนรวมดัชนีวัดความบกพร้องความสามารถของคอไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนความรุนแรงของอาการปวดคอ The purpose of this descriptive study is to assess the reliability of Thai-version of the Neck disability index in the dimension of disability evaluation among the patients with subacute and chronic neck pain. The data was collected form questionnaire replied by the 76 subacute and chronic neck pain patients treating in the rehabilitation clinic, Burapha University hospital, during February 2012 to July 2013. The collected data was hereby analyzed using descriptive statistics which comprises frequency, percentage, agrithmetic, mean standard deviation, Cronbach's Alpha, and Pearson Correlation coefficicent. The result showed that most questionnaire respondents were female (76%), ranging from 20-65 years old, an average age is of 47.9 years, an average pain duration is of 22.6 months (Min-Max: 1-120, Median:12). The most of patients have had miserable neck pain during 6 months to 2 years, the average pain severity score is 6.3+-1.8 and average Thai -NDI score is 13.9+-6.8. The reliability of Thai-NDI is acceptable in both total score and each 10-items score. Thai-NDI has highest reliability for patients within two years duration of neck pain, but poor correlation between pain severity score and Thai-NDI.th_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา งบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2555en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectปวดคอ - - กายภาพบำบัดth_TH
dc.subjectปวดคอth_TH
dc.titleความน่าเชื่อถือของ "ดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอ" ในการประเมินความบกพร่องความสามารถของผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอระยะกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรังth_TH
dc.title.alternativeReliability of Thai-version of neck disability index (Thai-NDI) for disability evaluation in subacute and chronic neck pain patientsen
dc.typeงานวิจัย
dc.year2556
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_037.pdf1.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น