กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/141
ชื่อเรื่อง: การสำรวจการใช้ยาปราบศัตรูพืชในลุ่มแม่น้ำจันทบุรีในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกัน (แผนงานย่อยที่ 2)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Survey on pesticide using in difference land use in Chantaburi River area (phase II)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัญลิน จิรัฐชยุต
นภาพร เลียดประถม
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: ยากำจัดศัตรูพืช
ลุ่มแม่น้ำจันทบุรี
ลุ่มแม่น้ำเวฬุ
สารเคมีทางการเกษตร
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี.
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลการใช้ยาปราบศัตรูพืชกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ลุ่มน้ำจันทบุรีและลุ่มน้ำเวฬุในเขตพื้นที่เกษตรกรรม (ปลูกพืช) กลุ่มตัวอย่างเป็นครัวเรือนที่พักอาศัยและประกอบกิจกรรมในเขตพื้นที่เกษตรกรรม (ปลูกพืช) ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในพื้นที่ลุ่มน้ำจันทบุรี 34 ชุด และพื้นที่ลุ่มน้ำเวฬุ 66 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (check list) และคำถามปลายเปิด สิถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรในพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำจันทบุรีและลุ่มน้ำเวฬุส่วนใหญ่มีการใช้สารฆ่าแมลงและโรคพืชและมีการใช้สารกำจัดวัชพืช โดยมีการใช้สารแต่ละชนิดในปริมาณความเข้มข้นที่แตกต่างกัน สารฆ่าแมลงและโรคพืชที่เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีการใช้มากที่สุด คือ อะบาเมกติก รองลงมาคือไซเพอร์เมททรินและกำมะถัน (ซัลเฟอร์) สารกำจัดวัชพืชที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้คือ พราควอต และไกลโฟเซต นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงและโรคพืชและฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชด้วยตนเองครัวเรือนเกษตรกรที่พักอาศัยในพื้นที่เกษตรกรรมทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำจันทบุรีและลุ่มน้ำเวฬุมีการใช้สารเคมีในครัวเรือน เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สเปรย์กำจัดยุงและแมลงในบริเวณบ้าน รองลงมาคือการใช้ยาจุดกันยุงในบริเวณบ้าน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/141
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_206.pdf1.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น