กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1375
ชื่อเรื่อง: โรคปรสิตและระบบภูมิคุ้มกันในหอยเศรษฐกิจที่เลี้ยงบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Parasites and immunity of marine shellfishes along the East Coast of Thailand.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพรรณี ลีโทชวลิต
จันทร์จรัส วัฒนะโชติ
นันทิกา คงเจริญพร
นารีรัตน์ ฤทธิรุตม์
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ระบบภูมิคุ้มกัน
โรคเกิดจากปรสิต
หอย - - การเลี้ยง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคปรสิตและระบบภูมิคุ้มกันในหอยเศรษฐกิจ 5 ชนิด ได้แก่ หอยลาย (undulated surf clam, Paphia undulata) หอยนางรมปากจีบ (oyster, Saccostrea sp.), หอยแมลงภู่ (green mussel, Perna viridis), หอยแครง (blood cockle, Anadara granosa) และหอยตลับ (venus shell, Meretrix casta) ที่เก็ยจากชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 และชายฝั่งทะเล จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ประเทศไทย ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม 2555 ใน การสำรวจหาปรสิต Perkinsus ทำโดยวิธี Ray’s Fluid Thioglycollate medium (RFTM) และ ศึกษาระบบภูมิคุ้มกันในน้ำเลือดของหอยทั้ง 5 ชนิดได้แก่ ปริมาณของเม็ดเลือดหอย ปริมาณโปรตีน ปริมาณเลคติน และปริมาณไลโซไซม์ จากผลการสำรวจหาปรสิต Thioglycollate medium (RFTM) ในหอยพบว่า มีหอยเพียง 2 ชนิดที่ติดเชื้อปรสิต โดยในหอยลายจากจังหวัดชลบุรีและตราดพบปรสิตสูงสุด จำนวน 207,536 ± 28,969 and 528,150 ± 98,749 เซลล์/ตัว ตามลำดับ สำหรับหอยนางรมจากจังหวัดชลบุรี ระยองและตราด พบเซลล์ปรสิตสูงสุดเฉลี่ย 6,504 ± 6,479, 13,824 ± 13,825 and 51,016 ± 40,428 เซลล์/ตัว เมื่อตรวจหาระบบภูมิคุ้มกันในเลือดพบว่ามีความแตกต่างกันไปในหอยแต่ละชนิดจากจังหวัดต่างๆ โดยพบว่าหอยแครงจากจังกวัดชลบุรีมีปริมาณเม็ดเลือดเฉลี่ย สูงสุด รองลงมาคือหอยแครงจากจังหวัดจันทบุรี (323.80×〖10〗^6±70.40×〖10〗^6 เซลล์/มล. และ 149.46×〖10〗^6±9.81×〖10〗^6 เซลล์/มล.) ส่วนปริมาณเซลล์เม็ดเลือดในหอยนางรม หอยลาย หอยแมลงภู่ และหอยตลับจากทั้ง 4 จังหวัด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p > 0.05) สำหรับระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ จากน้ำเลือดหอย ได้แก่ การทำให้เม็ดเลือดแดงของคนเกาะกลุ่ม ปริมาณโปรตีนและไลโซไซม์ พบมากสุดในหอยนางรม และเมื่อนำน้ำเลือดจากหอยทั้ง 5 ชนิดไปศึกษาฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรีย Micrococcus luteus E. coli และ Vibrio spp. พบว่าน้ำเลือดหอยทั้งหมดออกฤทธิ์ต้านเชื้อ M. luteus ได้ดีที่สุด จากการศึกษาในครั้งนี้ยังได้ทำการพัฒนาวิธีการตรวจสอบปรสิต Perkinsus sp. ด้วยเทคนิคอิมมูโนฮีสโตเคมี โดยการนำปรสิตระยะซูโอสปอร์ไปฉีดในหนูทดลอง เพื่อผลิตโพลีคลอนอลต่อปรสิต แล้วนำมาย้อมในเนื้อเยื่อที่ผ่านขบวนการทางเนื้อเยื่อวิทยา พบว่าโพลีคลอนอลที่ผลิตได้ทำให้สมารถตรวจพบปรสิต Perkinsus sp. ได้ง่ายและรวดเร็วกว่าการย้อมสีแบบ H&E ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการตรวจหาปรสิต Perkinsus sp. ในหอยชนิดต่างๆ ในอนาคต This study aimed to investigate a possible of correlation between the prevalence of parasite infection and the immune response of five bivalve: undulated surf clam (Paphia undulata), oyster (Saccostrea sp.), green mussel (Perna viridis), blood cockle (Anadara granosa) and venus shell (Meretrix casta). Animals were obtained from the coast of Chonburi province all year round during October 2010 to September 2011, and from the coast of Rayong, Chanthaburi and Trat province, Thailand during January to December 2012. The Perkinsus infection intensity was evaluated by Ray’s Fluid Thioglycollate medium (RFTM) method. Various immunological parameters were assessed in the hemolymph of the animal: total hemocyte counts, protein concentration, hemagglutinating titer (lectin) and lysozyme. The results showed that the Prerkinsus was detected in undulated surf calm and oyster. The highest infection intensity in undulated surf clam from Chonburi and Trat province were 207,536 ± 28,969 and 528,150 ± 98,749 cell/individual. The highest infection intensity in oyster from Chonburi, Rayong and Chanthaburi province wre 6,504 ± 6,479, 13,824 ± 13,825 and 51,016 ± 40,428 cell/individual. The defense parameters showed the different among the five bivalve in each province. The highest total hemocyte count were detected in blood cockie from Chonburi province, followed by blood clam from Chantaburi province (323.80×〖10〗^6±70.40×〖10〗^6cells mL^(-1) and 149.46×〖10〗^6±9.81×〖10〗^6 cells mL^(-1), respectively.) No significant difference was noted between oyster, undulated surf clam, green mussel and venus shell from the coast of Thailand. The activity values in cell-free hemolymph was shown the highest hemagglutinating activity protein concentration and lysozyme activity in oyster. Furthermore, antibacterial activity against Micrococcus sp. (Gram-positive) in each species was stronger than against Vibirio spp. (Gram-negative). Significant difference were not found between species. At present study, we developed immunohistochemical method (IHC) for Perkinsus diagnosis. By using pooled hamster serum samples collected after infection with Perkinsus zoospores, we developed an immunohistochemical assay for buffered formalin-fixed, paraffin-embedded tissue (BFFPET) sample. The immunohistochemical assay for Perkinsus sp. successfully detected parasites in bivalve FFPET samples. Although, no statistically significant, both sensitivity and specificity of IHC were compared to H&E. But the parasite could be easily seen by IHC Thus, the immunohistochemical staining was found to be a useful tool for diagnosis of Perkinsus infection in bivalve.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1375
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น