กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1374
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจารุนันท์ ประทุมยศ
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน
dc.contributor.authorวิไลวรรณ พวงสันเทียะ
dc.contributor.authorศิริวรรณ ชูศรี
dc.contributor.authorวิรชา เจริญดี
dc.contributor.authorวรเทพ มุธุวรรณ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:30Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:30Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1374
dc.description.abstractกุ้งการ์ตูน (Hymenocera picta, Dana 1852) เป็นกุ้งทะเลที่มีสีสันสวยงามและมีมูลค่าในการซื้อขายสูงข้อจำกัดของการเพาะเลี้ยงกุ้งการ์ตูนเพื่อการค้าพฤติกรรมการกินดาวทะเลเป็นอาหารโดยเฉพาะดาวแดง (Linckia multiflora) ซึ่งมีราคาแพงและอาจหาซื้อไม่ได้ตลอดปี ในการศึกษานี้ ทำการศึกษาพฤติกรรมการยอมรับอาหารทดแทนชนิดอื่นที่หาได้ง่ายในราคาถูกเพื่อใช้ทดแทนดาวแดงและศึกษาผลของการเลี้ยงกุ้งการ์ตูนด้วยดาวทะเลจากธรรมชาติในปริมาณการใช้ที่ลดลงต่อการรอดตาย การเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของกุ้งการ์ตูน ในการทดลองที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมการยอมรับอาหารของกุ้งการ์ตูน ชนิดอาหารที่ศึกษาได้แก่ ดาวทราย (Astropecten sp.) ดาวแสงอาทิตย์ (Luidia maculate) ดาวหมอนปักหมุด (Culcita novaeguineae) ปลิงทะเล (Holothuria leucospilota) และดาวแดง (L. multiflora) ทำการทดลองในกุ้งการ์ตูน 2 เดือนจำนวน 15 ตัว ที่อดอาหาร 1 สัปดาห์ โดยอัตราส่วนการให้อาหาร:กุ้งการ์ตูน คือ 1:1 ผลการทดลองพบว่ากุ้งการ์ตูนยอมรับเฉพาะดาวทราย ดาวแสงอาทิตย์และดาวแดงเป็นอาหาร กุ้งการ์ตูนเดินเดินเข้าหาดาวทรายอย่างรวดเร็วและพลิกดาวทรายให้หงายท้องก่อนกินเป็นอาหารภายในระยะเวลา 5 นาที กุ้งการ์ตูนมีพฤติกรรมตอบสนองต่อดาวแสงอาทิตย์และดาวแดงคือการเดินสำรวจบนลำตัวดาวก่อนที่แกะเปลือกดาวเพื่อกินเนื้อเยื่อรวมเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชม แสดงว่าพฤติกรรมการกินอาหารของกุ้งการ์ตูนเกี่ยวข้องกับการได้รับสัมผัสสารเคมีที่มีในน้ำจากดาวทะเล และการมองเห็นเหยื่อ ในการทดลองที่ 2 ศึกษาผลของการเลี้ยงกุ้งการ์ตูนด้วยดาวทรายและเปรียบเทียบกับดาวแดงในระยะเวลา 5 เดือน โดยมีวิธีการให้อาหารกินดังนี้ 1) การให้กินดาวแดงที่มีชีวิตทุกวัน 2) การให้กินดาวทรายมีชีวิตทุกวัน 3) การให้กินดาวแดงมีชีวิตทุกวัน 1 สัปดาห์ เว้น 1 สัปดาห์ 4) การให้กินดาวทรายมีชีวิตทุกวัน 1 สัปดาห์ เว้น 1 สัปดาห์ 5)การให้กินดาวแช่แข็งทุกวัน และ 6) การให้กินดาวทรายแช่แข็งทุกวัน ผลการทดลองพบว่าในกุ้งการ์ตูนเพศผู้และเพศเมียที่กินอาหารมีชีวิตมีการรอดตายและการเจริญเติบโตดีกว่ากุ้งการ์ตูนที่กินอาหารไม่มีชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) กุ้งการ์ตูนที่ให้กินดาวแดงมีชีวิตรอดตาย 100 เปอร์เซ็นต์ แต่กุ้งการ์ตูนที่ให้กินดาวทรายที่มีชีวิตทุกวันและให้กินสลับกับการอดอาหรรอดตาย 85 และ 67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ กุ้งการ์ตูนเพศเมียมีการเจริญเติบโตเร็วกว่ากุ้งการ์ตูนเพศผู้ กุ้งการ์ตูนเพศผู้ที่กินอาหารมีชีวิตทุกวิธีการให้กินมีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) กุ้งเพศเมียที่กินดาวทรายและดาวแดงมีชีวิตตลอดเวลามีการเติบโตด้านน้ำหนักและความยาวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) กุ้งการ์ตูนเพศเมียที่กินดาวแดงทุกวันและกินดาวทรายทุกวันมีอายุเฉลี่ยเริ่มว่างไข่ 5 เดือน กุ้งการ์ตูนเพศเมียที่กินดาวแดงทุกวัน 1 สัปดาห์ เว้น 1 สัปดาห์ มีอายุเฉลี่ยเริ่มวางไข่ 5.5 เดือน ไข่กุ้งการ์ตูน เพศเมียที่กินอาหารเหล่านี้พัฒนาการเป็นลูกกุ้งพร้อมฟักในระยะเวลา 14 วันและมีจำนวนลูกกุ้งการ์ตูนแรกฟักเพิ่มขึ้นเมื่อกุ้งการ์ตูนเพศเมียมีขนาดโตมากขึ้น โดยวิธีการเลี้ยงกุ้งการ์ตูนด้วยดาวทรายทุกวันและการเลี้ยงด้วยดาวแดงโดยวิธีการให้กินอาหารสลับกับการงดกินอาหารสามารถเป็นทางเลือกในการเลี้ยงกุ้งการ์ตูนโดยได้ แต่การเลี้ยงกุ้งการ์ตูนด้วยดาวแดงโดยวิธีการให้กินอาหารสลับกับการงดกินอาหารควรปรับระยะเวลาที่ให้กุ้งการ์ตูนกินอาหารนานกว่าระยะเวลาที่ให้กุ้งการ์ตูนอดอาหารth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2554
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectกุ้งการตูน - - อาหาร - - การผลิตth_TH
dc.subjectกุ้งการ์ตูน - - การเพาะเลี้ยงth_TH
dc.subjectกุ้งทะเล - - การเพาะเลี้ยงth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleผลของอาหารต่อการเจริญเติบโต การรอดตาย และการเจริญพันธุ์ของกุ้งการ์ตูน (Hymenocera picta) ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงth_TH
dc.title.alternativeEffect of foods on growth, survival and maturation of the captive bred harlequin shrimp, Hymenocera pictaen
dc.typeงานวิจัย
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThe colourful harlequin shrimp, Hymenocera picta, Dana 1852 is a valuable marine aquarium ornamental species that are maintained on a specific diet of Linckia multiflora sea star. The high price of this sea star and difficulties in sourcing a ready supply throughout the year, however, represent limitations to their sole use within commercial scale production. There is, therefore, a need to identify alternative foods and to observe the feeding behavior of shrimp as they are presented with alternative feed items. At the same time, it is critical that the subsequent growth, survival and reproductive capacity of the captive bred harlequin shrimp reared on the alternative diets is need to be determined. In the first trial, the feeding responses of H. picta yo the sand star Astropecten sp., the eight-arm sea star, Luidia maculate, the pin cushion sea star Culcitanovae guinea, the sea cucumber Holothuria leucospilota and, the comet sea star L. multiflora were evaluated A total of 15, two-month old harlequin shrimp were starved for one week prior to starting the feeding trial with individual shrimp presented with one of the live preys. The shrimp were observed to prey upon the Astropecten sp., Luidia maculate and L. multiflora species only. When presented with Astropecten sp., for example, the shrimp quickly searched on the sand star and within 5 min have flipped it over and begun to feed on it. When presented on the other two sea stars, the shrimp were observed carefully assessing each species, before selecting a particular leg on which to feed; a process which took approximately 1 h. This food searching and selection behavior indicates that the harlequin shrimp use both visual and chemical cues in assessing prey items. In the second trial, the growth, survival and reproductive capacity of H. picta fed a diet of sand stars over a period of 5 mouths was compared to a control group of shrimp fed L. multiflora. The feeding strategies included: 1) feeding shrimp with live comet sea stars on a daily basis (LCD); 2) feeding shrimp with live comet sea stars every alternative week (LCW); 3) feeding with live sand stars on a daily basis (LSD); 4) feeding with live sand stars every alternative week (LSW); 5) feeding shrimp with frozen comet sea stars on a daily basis (FCD); and, 6) feeding shrimp with frozen sand stars on a daily basis (FSD). Significant differences (p≤0.05) in the growth and survival of H. picta fed live and frozen prey were observed. There was 100% survival of shrimp fed the LCD and LCW diets whilst there was 58% and 67% survival for those presented with with the LSD and LSW respectively, with females displaying better growth than males. There were no significant differences (p≤0.05) in growth performance of the males shrimp fed live foods and of the females fed either the LCD or LSD. The females fed the LCD and LSD spawned at 5 months old while those shrimp fed the LCW spawned at 5.5 months old. The embryogenesis, i.e. the duration of egg development, of females fed either LCD, LSD and LSW takes 14 days. The number of newly hatched larvae at each spawning improved as the size of the female increased. In conclusion, LCW and LSD appear to represent alternative feed items to replace comet sea star during periods when they are unavailable. In addition, the optimization of feeding LCW could be improved by maximizing feeding and by minimizing the starvation period.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น