กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1353
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วรเทพ มุธุวรรณ | th |
dc.contributor.author | เสาวภา สวัสดิ์พีระ | th |
dc.contributor.author | ณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน | th |
dc.contributor.author | ปรารถนา ควรดี | th |
dc.contributor.author | ศิริวรรณ ชูศรี | th |
dc.contributor.author | มนัญทิญา ยิ้มเจริญ | th |
dc.contributor.author | อธิกพันธ์ ภูธนศิริชนิสรา | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:04:28Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:04:28Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1353 | |
dc.description.abstract | การอนุบาลสัตว์ทะเลวัยอ่อนในกลุ่มเตคาพอดครัสเตเซียม (Decapod crustacean) มีความแตกต่างจากการอนุบาลสัตว์ทะเลวัยอ่อนทั่วไป เนื่องจากตัวอ่อนของสัตว์ทะเลในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบบอบบาง ฉีกขาดง่าย ทำให้รูปแบบของภาชนะที่ใช้อนุบาล และลักษณะการไหลของน้ำในภาชนะอนุบาล มีผลต่อความสำเร็จในการอนุบาล ในการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสำหรับอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนในครั้งนี้ ได้นำเอาหลักการของ "Planktonkreisel" (Greve, 1968) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนา ภาชนะ ที่ใช้ในการอนุบาลตัวอ่อน ซึ่งภาชนะที่มีรูปแบบต่างกัน 2 แบบ คือ Pseudokreisel tank (PK) (Raskoff et al., 2003) และ Cylindrico-spherical upweller tank (CST) (Calado et al. 2008) พร้อมกับระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ใช้สาหร่ายเป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำ เปรียบเทียบกับการอนุบาลแบบเดิมในระบบน้ำนิ่ง มีการเปลี่ยนถ่าย การทดลองเริ่มจากต้นแบบระบบทดลองขนาดเล็กเพื่อทำการทดสอบเบื้องต้น แล้วทำการทดสอบอัตราการไหลของน้ำที่แตกต่างกัน 2 ระดับ เมื่อได้ผลการทดลองแล้วจึงขยายขนาดของภาชนะเพิ่มขึ้น จาก 25 ลิตร เป็น 65 ลิตร แล้วทำการทดลองซ้ำอีกครั้ง ในระบบต้นแบบการทดลองขนาดเล็ก ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า รูปแบบของภาชนะ อัตราการไหลของน้ำมีผลต่อการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนระยะวัยอ่อน อัตราการไหลของน้ำที่เพิ่มขึ้นในภาชนะแบบ Psedokreisel จาก 0.5 ลิตรต่อนาที เป็น 1 ลิตรต่อนาที ทำให้อายุเฉลี่ย (+-SD) ของลูกกุ้งการ์ตูนเพิ่มขึ้นจาก 6.5+-4.4 วัน เป็น 13.8+-3.3 วัน ซึ่งเทียบเท่ากับอายุเฉลี่ยของลูกกุ้งในภาชนะแบบ CST ที่อัตราการไหลของน้ำ 1 และ 2 ลิตรต่อนาที คือ 18.3+-3.9 18.8 +- 2.1 วัน ตามลำดับ และที่อัตราการไหลของน้ำที่ 2 ลิตรต่อนาที ในระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิด ลูกกุ้งสามารถเจริญเติบโตจนถึงระยะ Post-larva ได้ ภาชนะเลี้ยงที่ถูกขยายขนาดให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จาก 25 ลิตร เป็น 65 ลิตร ทำให้ประสบผลสำเร็จในการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนจนผ่านพ้นระยะวัยอ่อนได้ ในภาชนะทดลองทั้งสองรูปแบบที่ใช้ระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ใช้สาหร่ายเป็นตัวควบคุมน้ำ โดยลูกกุ้งมีอัตรารอดเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ (+-SD) 7.8+-0.8 และ 0.4+-0.6 ในภาชนะแบบ CST และ PK ตามลำดับ ขณะที่ลูกกุ้งการ์ตูนตายหมดเมื่อมีอายุระหว่าง 11-37 วันเท่านั้น แสดงให้เห็นว่านอกจาก รูปแบบของภาชนะ และอัตราการไหลของน้ำแล้ว ขนาดของภาชนะและระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ใช้สาหร่ายเป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำ ในระบบที่พัฒนาขึ้นประสบผลสำเร็จในการอนุบาลลูกกุ้งการืตูน ทั้งนี้รูปแบบภาชนะที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลลูกกุ้งการืตูน ควรใช้ภาชนะแบบ cylindrico-spherical upweller tank และใช้ระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ใช้สาหร่ายเป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำ ระหว่างการอนุบาล | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการต่อเนื่องปีงบประมาณ 2553-2555 โครงการต่อเนื่องปีที่ 3 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การอนุบาลลูกุ้ง | th_TH |
dc.subject | การเลี้ยง | th_TH |
dc.subject | กุ้งการ์ตูน | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | พัฒนาการ การเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน (Hymenocera picta) ที่อนุบาลด้วยระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกัน | th_TH |
dc.title.alternative | Development, growth and survival rate of the Harlequin shrimp's larvae (Hymenocera pocta) rearing un different rearing systems | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2556 | |
dc.description.abstractalternative | Rearing marine decapod crustacean larvae requires special rearing systems and culture techniques as most of decapod crustaceans have frail larval stages and long larval cycle. The Pseudokreisel tank (PK) (Raskoff et al., 2003) and Cylindrico-spherical upweller tank (CST) (Calado et al. 2008) are two types of culture vessels used in the experiments which are "planktonkreisel" (greve, 1968) based system, The small research tanks (CST25L, PK25l) were connected to a recirculation system with a seaweed biofilter. Effect of water flow rated on survival and development of the harlequin shrimp (Hymenocera picta) larvae raised in these vessels were determined at flow rates of 0.50and 1 L min -1 in (PK25L-SBF0.5L, PK25L-SBF1L) while water floe rates were 1 and 2 L min -1 in CST (CST25L-SBF1L), CST25L-SBF2L). Two types of culture vessels were upscale from 25 liters to 65 liters in the last experiment. The small research tanks experiments showed that shape and water floe rates affected the survival rate of the shrimp larvae. The larvae rised at higher water flow rates (PK25L-SB1L, CST25L-SBF1L, CST25L-SBF2L) survived longer (+-SD) (13.8+-3.3 days, 18.3+-3.9 days, and 18.8+-2.1 days, respectively) than the larvae raised at the lowest flow rate (PK25L-SBF0.5L = 6.6+-4.4 days) (P<0.05) and one shrimp larvae of the seconed experiment cultured at high flow rate (2 L min -1) could pass through metamorphosis. The shrimp larvae were successfully pass through matamorphosis to post-larval stage when culture vessels were upscale from 25 L to 65 L but only in the system equipped with a recirculation system with a seaweed biofilter. The average survival rates (+-SD) at the end of the experiment of the larvae cultured in Cylindrico-spherical upweller tank and Pseudokreisel tank with a recirculation system were 7.8+-0.8% and 0.4+-0.6%, respectively while all the larvae cultured in CST with static water (CST65L-S) dided during 11-37 days of culture period. These experiments showed that tank shape, water flow rate, tank size and water quality maintain by a recirculation system with a seaweed biofilter are kets of success. The results also suggested that Cylindrico-spherical upwellwer tank equipped with a recirculation system with a seaweed biofilter should be used for harlequin shrimpmlarvae culture. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น