กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1348
ชื่อเรื่อง: ธุรกิจการค้าสัตว์ทะเลสวยงามในกลุ่มกุ้ง กั้ง ปู ของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marine ornamental decapods trade in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรเทพ มุธุวรรณ
เสาวภา สวัสดิ์พีระ
ณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน
วิรชา เจริญดี
ปรารถนา เข็มทอง
อภิศักดิ์ เฮ่งพก
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: การค้าสัตว์ทะเล
ตลาดการค้าสัตว์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ข้อมูลเชิงปริมารและมูลค่าการค้ารายปี สัตว์ทะเลสวยงามในกลุ่มกุ้ง กั้ง ปู (Marine Oranmental Decapods) ของประเทศไทย ระหว่างเดือน มกราคม 2553 ถึง ธันวาคม 2554 ถูก ประเมินด้วยวิธี การสำรวจตลาดการค้าสัตว์สวยงามประจำเดือนละครั้ง และจากข้อมูลการนำเข้า ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากด่านตรวจสัตว์น้ำ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผลการสำรวจแหล่งจำหน่ายสัตว์ทะเลสวยงามในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ศูนย์กลางการค้าอยู่ที่ตลาดนัดสวนจตุจักรและตลาดที่อยู่บริเวณใกล้เคียง โดยในปี พ.ศ. 2553 มีร้านค้าที่จำหน่ายสัตว์ทะเลสวยงามรวมทั้งสิ้น 23 ร้าน และลดลงเหลือเพียง 15 ร้านในปี พ.ศ. 2554 ช่วงระยะเวลาของการสำรวจตลอด 2 ปี พบว่ามีสัตว์ทะเลเสวยงามในกลุ่ม กุ้ง กั้ง ปู ที่ถูกนำมาค้าในตลาดทั้งสิ้นจำนวน 2 อันดับ (Order) 22 วงศ์ (Family) 45 ชนิด (Species) โดยมีปริมาณการค้ารวมเฉลี่ยปีละ 36,953 ตัว แบ่งออกเป็น กุ้ง 30,30541 ตัว ปู 6,340 ตัว และกั้ง 72 ตัว และมีมูลค่าของการค้าเฉลี่ยเท่ากับ 7,702,545 บาทต่อปี แบ่งออกเป็น กุ้ง 6,834,487 บาทต่อปี ปู 938,188 บาทต่อปี และกั้ง 29,870 บาทต่อปี ส่วนข้อมูลการนำเข้าผ่านทางด่านตรวจสัตว์น้ำ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตั้งแต่เดือน มกราคม 2553 ถึงเดือน ธันวาคม 2554 พบว่ามีชนิดของสัตว์ทะเลสวยงามในกลุ่ม กุ้ง กั้ง ปู ที่นำเข้ามาในประเทศทั้งสิ้น 2 อันดับ 21 วงศ์ 56 ชนิด โดยมีปริมาณการนำเข้าเฉลี่ย 11,170 ตัวต่อปี แบ่งออกเป็น กุ้ง 10,049 ตัว ปู 1,114 ตัว และกั้ง 7 ตัว และมีมูลค่าที่ปรากฏในใบสั่งซื้อเฉลี่ยเท่ากับ 183,999.97 บาทต่อปี แบ่งออกเป็น กุ้ง171,66254 บาทต่อปี ปู12,235.25 บาทต่อปี และกั้ง 102.18 บาทต่อปี จากข้อมูลการวิจัยพบว่า ชนิดของกุ้งทะเลสวยงามที่มีความต้องการในตลาดสูง หรือมีมูลค่าสูง เป็นชนิดที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับการสนับสนุน ส่งเสริม ให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงต่อไป เพื่อลดการจับจากธรรมชาติและสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ทำการเพาะเลี้ยง มีอย่างน้อย 6 ชนิด โดย 4 ชนิด เป็นชนิดที่พบในประเทศไทย คือ กุ้งการ์ตูน (Hymenocera picta) กุ้งพยาบาล (Lysmata amboinensis) กุ้งมดแดง (Rhynchocinetes durbanensis) และกุ้งนักเลง (Stenopus hispidus) อีก 2 ชนิด ไม่พบว่ามีรายงานการพบในประเทศไทย คือ กุ้งไฟ (Lysmata debelius) และกุ้งเปปเปอร์มินท์ (Lysmata wurdemani)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1348
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_098.pdf11.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น