กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1326
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลกระทบของโลหะหนักและสารอินทรีย์ไฮโดรคาร์บอนต่อสัตว์ทะเลตามแนวชายฝั่งทะเลอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessments of heavy metals and organic hydrocarbons exposure in selected marine animals from coastal industrial area at Map Ta Phut, Rayoung Provinve.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาศิริ บาร์เนท
สุวรรณา ภาณุตระกูล
พอจิต นันทนาวัฒน์
นันทพร ภัทรพุทธ
นิภา มหารัชพงศ์
ไพฑูรย์ มกกงไผ่
อาวุธ หมั่นหาผล
นันทิกา คงเจริญพร
Malin Charlotta Celander
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: โลหะหนัก
สารอินทรีย์ง
อุตสาหกรรมมาบตาพุด
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาการปนเปื้อนของแคดเมียมและสาร Polycyclic aromatic hydrocarbon (PAHs) ซึ่งเป็นสารประกอบในคราบน้ำมัน ได้ถูกตรวจสอบในปลาทะเลธรรมชาติและหอยแมลงภู่เลี้ยงในฟาร์มทะเลจากชายฝั่งทะเลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรีและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ระยะทาง 5 กิโลเมตรจากชายฝั่ง รวมทั้งตรวจสอบตัวชี้วัดชีวภาพ Cytochrome P450 (CYP1A) และ Metallothionein (MT) บ่งชี้การรับสัมผัสสารต่อสาร PAHs และโลหะหนัก ตามลำดับ ทำการเก็บตัวอย่างเพียงครั้งเดียวใน 3 ปี โดยรายงานครั้งนี้ ปี พ.ศ. 2556 เป็นปีที่ 2 รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลและการรับรู้ความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารทะเลของประชาชน หญิงตั้งครรภ์และนักเรียน จากการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลในการวิเคราะห์ความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับอันตรายจากการปนเปื้อนสารเคมีจากการบริโภคอาหารทะเล ผลการศึกษาพบว่าปริมาณแคดเมียมในตับปลาทะเลจากอ่างศิลา ค่าเฉลี่ย 0.4490+-0.6753 ug/g wet wt. (n=30) สูงกว่าตับปลาทะเลจับจากมาบตาพุด ค่าเฉลี่ย 0.352+-0.3252 ug/g wet wt. (n=30) และไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p>0.01) แต่พบสูงกว่าในเนื้อปลาทะเลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) ที่มีค่าแคดเมียมต่ำใกล้เคียงกันคือ อ่างศิลาและมาบตาพุด มีค่าช่วงเฉลี่ย 0.0028+-0.0035 ug/g wet wt. และ 0.0033+-0.0024 ug/g wet wt (n=30) ตามลำดับ ปลาทะเล 17 ชนิดจับจากอ่างศิลาที่ค่าปริมาณแคดเมียมค่อนในตับข้างสูง คือ ปลาลิ้นหมา ปลาสีกุน และปลาข้างตะเภา ( 1.4 57’ 2.6 ug/g wet wt.) ส่วนตับปลาทู (เฉลี่ย 0.2473+-0.0561 ug/g wet wt.) ส่วนปลาทะเล 11 ชนิด จับจากมาบตาพุดที่ค่าปริมาณแคเมียมสูงมีเพียงชนิดเดียวคือ ในตับปลาทู (เฉลี่ย 0.8777+-0.6479 ug/g wet wt.) ซึ่งสูงกว่าอ่างศิลา ปริมาณแคดเมียมในหอยแมลงภู่พบในช่วงความเข้มข้นน้อยกว่าจากตับปลาทะเล บริเวณอ่างศิลาในหอยแมลงภู่ขนาดเล็ก มีค่าเฉลี่ย 0.05128+-0.0043 ug/g wet wt. (n=20) สูงกว่าหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่ มีค่าเฉลี่ย 0.0485+-0.0055 ug/g wet wt. (n=20) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p< 0.01) แต่บริเวณมาบตาพุดค่าความเข้มข้นของปริมาณแคดเมียม ในหอยแมลงภู่ขนาดเล็กและใหญ่เฉลี่ย 0.0136+-0.0040 ug/g wet wt. (n=19) และ 0.0104+-0.0027 ug/g wet wt. (n=20) ตามลำดับ ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (p>0.01) แต่ละค่าความเข้มข้นของปริมาณแคดเมียม ทั้งในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่และขนาดเล็กจากบริเวณอ่างศิลามีค่าสูงกว่ามาบตาพุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ความเข้มข้นของ PAHs รวมในตับปลาจากอ่างศิลา มีค่าเฉลี่ย 0.16982+-0.1650 ug/g dry wt. (n=30) สูงกว่า 2.8 เท่า ในกล้ามเนื้อค่าเฉลี่ย 0.0607+-0.0708 ug/g dry wt. (n=30) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) ส่วนมาบตาพุด ความเข้มข้นของ PAHs ในตับปลามีค่าเฉลี่ย 0.1314+-0.0699 ug/g dry wt. (n=30) สูงกว่า 3.7 เท่า ในกล้ามเนื้อเฉลี่ย 0.0351+- 0.0378 ug/g dry wt. (n=30) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างค่าความเข้มข้นของ PAHs ในเนื้อเยื่อตับและกล้ามเนื้อปลาที่อาศัยบริเวณอ่างศิลาและบริเวณมาบตาพุด (p>0.05) ความเข้มข้นของ PAHs รวม ของหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่จากอ่างศิลามีค่าเฉลี่ย 0.1190+-0.0959 ug/g dry wt. (n=20) สูงกว่า 2.3 เท่าในหอยขนาดเล็ก มีค่าเฉลี่ย 0.0507+-0.0398 ug/g dry wt. (n=20) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) ส่วนมาบตาพุด ความเข้มข้นของ PAHs ในหอยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ย 0.2542+-0.1301 ug/g dry wt. (n=20) สูงกว่า 1.6 เท่าในหอยขนาดเล็ก ค่าเฉลี่ย 0.1569+-0.1160 ug/g dry wt. (n=20) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และพบความแตกต่างระหว่างค่าความเข้มข้นของ PAHs ในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่และหอยแมลงภู่ขนาดเล็กที่อาศัยบริเวณมาบตาพุดมีค่าสูงกว่าอ่างศิลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ส่วนจากจังหวัดตราดไม่พบสาร PAHs รวม (n=100) ชนิดของ PAHs จาก 16 ตัวที่เป็นพิษสามารถตรวจพบจากปลาทะเลจากทั้งสองแหล่งทั้งตับและกล้ามเนื้อ รวมทั้งหอยแมลงภู่ขนาดเล็กและใหญ่พบเป็นสารขนาดมวลโมเลกุลเล็กมี 3 ชนิดเท่านั้นคือ Phenanthrene (PHE), Pyrene (PYR), Fluoranthen (FLA) ส่วนมาบตาพุดในหอยแมลงภู่ขนาดเล็ก นอกจากพบ 3 ชนิด แล้วยังพบเพิ่มคือ chrysene (CHR) ในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่นอกจากพบ 3 ชนิดแล้วยังพบเพิ่มคือ Acenaphthylene (ACY) และ Chrysene (CHR) การแสดงออกของ CYP1A (ขนาดแบนที่ 76/54 kDa) ในปลาทะเลด้วยเทคนิคแอนติบอดี (Western blot) จากอ่างศิลาพบว่ามีผลบวก จำนวน 44 จาก 60 ตัวอย่าง (73.3%) ส่วนมาบตาพุด พบจำนวน 48 จาก 60 ตัวอย่าง (80%) การแสดงออกของ MT (ขนาด 10 kDa) จากอ่างศิลาพบมีจำนวน 10 จาก 60 ตัวอย่าง ผ16.6%) ส่วนมาบตาพุด พบมีจำนวน 34 จาก 60 ตัวอย่าง (56.7%) โดยประเภทปลาทะเลชนิดการกินอาหาร (กินเนื้อ กินพืช และกินทั้งพืชทั้งเนื้อ) ไม่มีผลนัยยะต่อการแสดงออกของ CYP1A และ MT ผลการตรวจการแสดงออกของ CYP1A (56 kDa) ด้วยเทคนิคแอนติบอดี ในหอยแมลงภู่ทั้งอ่างศิลาและมาบตาพุดพบ 100% ทั้งสองสถานี แต่ความเข้มของแบนตัวชี้วัดชีวภาพมีการจับด้วยความเข้มต่างกันในตัวอย่างต่างกัน โดยอ่างศิลาหอยขนาดทั้งใหญ่และขนาดเล็กมีการจับของแอนติบอดีกับแอนติเจนความเข้มบาง (+) และความเข้มปานกลาง (++) เท่านั้น ส่วนมาบตาพุดหอยทั้งขนาดเล็กและใหญ่มีความเข้มปานกลาง (++) และเข้มมาก (+++) เท่านั้น การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล ความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนการรับรูปความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารทะเลของหญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียนที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรมซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลภาคตัดขวางในหญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียนที่อาศัยอยู่ในบริเวณมาบตะพุด จ. ระยอง และอ่างศิลา จ. ชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 241 และ 356 คน ตามลำดับ โดยใช้แบบสอบถามมีโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียนในมาบตาพุดและอ่างศิลาบริโภคปลาทู กุ้ง ปลาหมึก ปู และหอยแมลงภู่ในระดับบ่อยครั้งถึงเป็นประจำ หญิงตั้งครรภ์ในอ่างศิลา มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลที่บ่อยกว่าหญิงตั้งครรภ์ในมาบตาพุด โดยร้อยละ 45 รับประทานอาหารทะเลอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ ส่วนเด็กนักเรียนในมาบตาพุด มีพฤติกรรรมการบริโภคอาหารทะเลที่บ่อยกว่าเด็กนักเรียนในอ่างศิลาโดยประมาณ ร้อยละ 50 รับประทานอาหารทะเลสด 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลของหญิงตั้งครรภ์ในมาบตาพุดและอ่างศิลา พบว่า มีการบริโภคอาหารทะเลสดที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.001 ขณะที่ในเด็กนักเรียนสองพื้นที่ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันในการบริโภคอาหารทะเลสด ด้านความรู้ พบว่า ส่วนใหญ่ (>ร้อยละ 60) ของหญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียนของทั้งสองพื้นที่มีความรู้อยู่ในระดับน้อย ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ที่เกี่ยวกับการป้องกัน การลดปริมาณการปนเปื้อนสารเคมีและผลกระทบต่อสุขภาพจากแคดเมียมและโพลีไซคลิกอะโร เมติกไฮโดรคารบอน เช่นเดียวกับกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ทำการศึกษาวิจัยในปี 2555 ประมาณร้อยละ 40 ของหญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียนทั้งในมาบตาพุดและอ่างศิลาไม่รู้จักโลหะหนัก และมากกว่าร้อยละ 88 ไม่รู้จักแคดเมียม และโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ด้านการรับรู้ ความเสี่ยง พบว่า มากกว่าร้อยละ 86 ของหญิงตั้งครรภ์ในทั้งสองพื้นที่มีการรับรู้ความเสี่ยงในระดับน้อย ในขณะที่ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 49.8) ของเด็กนักเรียนในมาบตาพุดมีการรับรู้ความเสี่ยงในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจและการรับรู้ความเสี่ยง พบว่า หญิงตั้งครรภ์ในมาบตาพุดและอ่างศิลา มีความรู้ความเข้าใจและมีการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับอาหารทะเลและโลหะหนัก ไม่แตกต่างกัน จากหญิงตั้งครรภ์ในอ่างศิลา ที่ P=0.14, และ P=0.46 ตามลำดับใน ขณะที่เด็กนักเรียนในมาบตาพุดมีความรู้และมีการรับรู้ความเสี่ยงสูงกว่าเด็กนักเรียนในอ่างศิลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.001 แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารทะเลและโลหะหนักของเด็กนักเรียนในมาบตาพุดและอ่างศิลา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P=0.35 สรุปผลจากการศึกษาที่ผ่านมา 2 ปี ในกลุ่มประชาชนทั่วไป หญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียนในมาบตาพุด อ่างศิลา พบว่า ส่วนใหญ่ทราบถึงแหล่งที่มาของการปนเปื้อนและการรับสัมผัสสารเคมีในอาหารทะเลและการป้องกัน/ ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหารทะเล แต่ความรู้ ความเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับสารเคมีและความเสี่ยงต่อการรับสัมผัส ตลอดจนผลกระทบต่อสุขภาพ ยังอยู่ในระดับคะแนนที่ต่ำดังนั้น จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนการสื่อสารความเสี่ยงเกี่ยวกับผลกระทบต่อร่างกายและการป้องกันตนเองจากการบริโภคอาหารทะเล
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1326
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น