กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1298
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุนันทา โอศิริ | th |
dc.contributor.author | มยุรี พิทักษ์ศิลป์ | th |
dc.contributor.author | พัชชาพลอย ศรีประเสริฐ | th |
dc.contributor.author | พรรณภัทร อินทฤทธิ์ | th |
dc.contributor.author | วรัมพา สุวรรณรัตน์ | th |
dc.contributor.author | สถาพร บัวธรา | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:04:24Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:04:24Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1298 | |
dc.description.abstract | การสำรวจสถานะสุขภาพผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 200 คน พบว่า เป็นเพศหญิง (71%) อายุเฉลี่ย 67.1 ปี ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา (67.5%) และไม่ได้เรียนหนังสือ (22.5%) สถานภาพสมรส โสด/หม้าย/ หย่าแยกกันอยู่ (35.5%) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (96.5%) มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก/ภาคกลาง (92.5%) ไม่ได้ประกอบอาชีพ (58.5%) ส่วนที่ยังทำงาน มีอาชีพรับจ้าง/ธุรกิจ/ค้าขาย (40.5%) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย (61%) ผู้สูงอายุอยู่กับคู่สมรสและ/หรือบุตรหลาน (79%) ส่วนหนึ่งอยู่บ้านคนเดียว/ไม่มีผู้ดูแล (19.5%) สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 3.9 คน ส่วนใหญ่มีผู้ดูแล (87.5%) ซึ่งผู้ดูแลส่วนใหญ่คือบุตร (55%) ส่วนใหญ่มีปัญหาสภาพร่างกาย (81.5%) คือมีปัญหาด้านสายตา การได้ยิน หูตึง และมีปัญหาเรื่องฟัน การเคี้ยว กลืนอาหารไม่ปติ ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว (48%) ที่พบมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง (34.55%) เบาหวาน (14%) ไขมันในเลือดสูง (13%) เมื่อเจ็บป่วยส่วนใหญ่ไปรับการรักษา ที่โรงพยาบาล (61.5%) รองลงมาคือการซื้อยารักษาตนเอง (18%) ผู้สูงอายุมีธาตุเจ้าเรือนเกิดอยู่ในทั้ง 4 ธาตุใกล้เคียงกัน รสอาหารที่ชอบส่วนใหญ่มีรสจัด และชอบรสอาหารที่ไม่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ มีผู้ออกกำลังกาย (51.5%) นอนหลับและพักผ่อนไม่เพียงพอ (19.6%) ส่วนใหญ่ปฏิบัติตามหลักศาสนา เช่น การรักษาศีล ไปทำบุญที่วัด สวดมนต์ ฝึกปฏิบัติสมาธิ เป็นบางครั้ง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รู้จักหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (88.3%) และได้นำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม (20.6%) ผู้สูงอายุเคยใช้วิธีการดูแลรักษาสุขภาพแบบแพทย์แผนไทย (53%) เคยใช้ยาสมุนไพร (21.1%) นวดทั้งตัวแก้ปวดเมื่อย (17.3%) นวดเฉพาะบริเวณที่มีอาการ (19.5%) ประคบสมุนไพร (10.8%) โดยรับบริการสุขภาพที่แผนกแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาล (26.5%) หมอนวดในชุมชน (22.9%) ได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยจาก สื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ (55.2%) รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล (26%) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เห็นว่าควรให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย (73.7%) ปัจจัยด้าน อายุ ระดับการศึกษา ความเพียงพอของรายได้ การมีผู้ดูแล สภาวะสุขภาพ การได้รับข้อมูลข่าวสาร และการเข้าถึงบริการสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการดูแลรักษาสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทยเพื่อนำไปใช้เพื่อสรา้งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณเงินแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ.2556 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | แพทย์แผนไทย | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | วิถีสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลแสนสุข | th_TH |
dc.title.alternative | Thai Traditional Medicine Health care of Elderly | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2556 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_147.pdf | 4.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น