กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12787
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัยณรงค์ ศรีมันตะ | |
dc.contributor.advisor | ราชันย์ นิลวรรณาภา | |
dc.contributor.author | บุญชู ภูศรี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2024-02-05T06:51:26Z | |
dc.date.available | 2024-02-05T06:51:26Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12787 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการอักษรไทยน้อย 2. เพื่อศึกษาพัฒนาการอักขรวิธีอักษรไทยน้อย 3. เพื่อศึกษาถ้อยคำภาษาและระเบียบวิธีจารึก และ 4. เพือศึกษาพลวัตอักษรไทยน้อยในสังคมปัจจุบันผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการด้านอักษร พบพยัญชนะตัวเต็ม 37 ตัว พยัญชนะตัวเชิง 7 ตัว พยัญชนะประสม 56 ตัว สระ 25 ตัว ตัวเลข 10 ตัว และเครืองหมาย 6 ตัว โดยมีพัฒนาการรูปแบบอักษรสมบูรณ์สูงสุดในศตวรรษที่ 22 และในศตวรรษที่ 25 ด้านอักขรวิธี พบว่า พยัญชนะต้นเดี่ยว ในศตวรรษที่่ 23 มีการลดจำนวนการใช้พยัญชนะลง โดยการนำพยัญชนะที่มีเสียงคล้ายมาใช้แทนกัน พยัญชนะต้นประสม มี 2 ประเภท คือ อักษรควบกล้ำ ร ล ว พบว่ามีการควบกล้ำอักษรทั้งหมด 20 ตัว และพบการใช้อักษรนำ 24 ตัว พยัญชนะสะกดพบ 8 มาตรา พัฒนาการอักขรวิธีสระ พบว่า ในศตวรรษที่ 25 มีพัฒนาการการใช้สระสมบูรณ์ที่สุด พัฒนาการอักขรวิธีตัวเลข มีพัฒนาการการใช้จำนวนตัวเลขตั้งแต่หลักสิบถึงหลักล้านพัฒนาการเครื่องหมาย มีพัฒนาการสูงสุดในศตวรรษที่ 25 ด้านถ้อยคำภาษาและระเบียบวิธีจารึก พบว่า ถ้อยคำภาษาและระเบียบวิธีจารึกในศิลาจารึกของราชสำนักและใบจุ้มมีรูปแบบที่แน่นอน ส่วนในศิลาจารึกของเจ้าเมืองและเอกสารใบลานมีถ้อยคำภาษาและรูปแบบระเบียบวิธีจารึกที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนด้านพลวัตในปัจจุบัน มีพลวัตที่เกิดโดยองค์กรเอกชน 2 แห่ง หน่วยงานของรัฐ 6 แห่ง และปัจเจกชน 9 คน โดยลักษณะพลวัตแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอนุรักษ์และเผยแพร่ กลุ่มฟื่อนฟูและสืบสาน และกลุ่มพัฒนา ปัญหาของพลวัตในปัจจุบัน คือ การเขียนที่ขาดเอกภาพ ปัญหาการเขียนคำสมัยใหม่ และการนำอักขรวิธีอักษรไทยเข้ามาปะปนในอักขรวิธีอักษรไทยน้อย | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | Humanities and Social Sciences | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา | |
dc.subject | อักษรไทยน้อย | |
dc.subject | ภาษาไทย -- ตัวอักษร | |
dc.title | อักษรไทยน้อย : การศึกษาพัฒนาการและพลวัต | |
dc.title.alternative | ThaiNoi Palaeography: The study of development and dynamics | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of the research were for : 1. studying the development of Thainoi palaeography, 2. studying the development orthography of Thainoi palaeography, 3. studying the language in inscribe of Thainoi palaeography and 4. studying the dynamics of Thainoi palaeography in today's society The results of the research were found as the followings : 37 consonants, 7 foot consonants, 56 clusters, 25 vowels, 10 numbers and 6 symbols were at the highest developed stage in 22nd and 25th century. The orthography study was found that in the 23rd century the single consonants were reduced in number but utilized the similar sounded consonants instead of them, the cluster initial consonants were 2 types : cluster consonants; r, l, v which consisted of 20 cluster consonants, 24 initial consonants, 8 categories of final consonants. The study of the development orthography of vowel and the symbol were found that the 25th century was the highest developed stage and the development of number was used from the tens to the millions. The study of language in inscribe were found that the languages was formally inscribed in stone or cloth of the royal court but they appeared informal pattern in stone or colophons in the provincial administration. The study of language dynamics from organizations were found that there were 6 government organizations and 9 private organizations. These organizations were grouped into 3 types: the conservator and distributor, the restorer and inheritor, the developer. The problems of the language dynamics were the lack of written language autonomy, the modernized word using, the combination between Thai and Thainoi orthography. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ไทยศึกษา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
53810210.pdf | 182.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น