กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12785
ชื่อเรื่อง: | อัตลักษณ์และการดำรงอยู่ของชุมชนคาทอลิกอาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The identity and the existence of the nativity of our lady's cathedral in the Bangkok-khuek community, Samutsongkhram province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ บุญเชิด หนูอิ่ม อนุตตรา มาลาวาล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | Humanities and Social Sciences วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก นิกายคาทอลิก -- ไทย -- สมุทรสงคราม -- ความเป็นอยู่และประเพณี อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอัตลักษณ์ และการดำรงอยู่ของชุมชนคาทอลิก อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นชาวคาทอลิกในชุมชน คุณพ่อเจ้าอาวาส คณะซิสเตอร์ บราเดอร์ และคณะกรรมการสภาภิบาลวัดคาทอลิกอาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative approach) ผลการวิจัยพบว่า มะพร้าว คือ เสาหลักทางเศรษฐกิจของชุมชนคาทอลิกอาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก เนื่องจากมะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของท้องถิ่น การทำสวนมะพร้าวคืออาชีพหลักของชาวชุมชน ริเริ่มการปลูกโดยบาทหลวงเปาโล ซัลมอน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ ชาวชุมชนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนกลายมาเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนทสังคมมองเห็นได้ ชัดเจนที่สุด และอัตลักษณ์ที่สำคัญโดดเด่นอีกประการหนึ่ง คือ จิตวิญญาณความเป็นคาทอลิกของคนในชุมชน โดยมีรากฐานมาจากศาสนา ชาวชุมชนได้ยึดหลักคำสอนของพระคริสต์เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต ถึงแม้ระบบนิเวศทางกายภาพจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ระบบนิเวศทางจิตใจนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ยังคงให้ความสำคัญกับหลักศีลธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่ง ตาย บาทหลวงตั้งแต่อดีต-ปัจจุบันปกครองชุมชนคาทอลิกอาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวกโดยใช้หลักการอภิบาล (Pastoral care) ทั้งยังสร้างความโปร่งใสในการทำงาน เน้นคุณธรรมความซื่อสัตย์ เป็นหลักในการปกครองสังคมชุมชนคาทอลิกแห่งนี้ชาวชุมชนมีการดำรงอยู่ร่วมกับเพิ้นต่างศาสนาได้อย่างมีสัมพันธภาพที่ดี สามารถประพฤติตนได้สอดคล้องกับแนวคิด ศาสนสัมพันธ์ ด้วยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ๆ โดยยึดจิตตารมณ์ ความรัก ความเป็นพี่น้องกันเป็นหลัก เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน รับรู้คุณค่าที่มีในศาสนาของกันและกัน และร่วมมือกันสร้างสรรค์ภราดรภาพและสันติภาพ ในสังคม อันนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืน |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12785 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
54810044.pdf | 110.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น