กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1274
ชื่อเรื่อง: | เอคไคโนเดิร์มบริเวณเกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Echinoderms at samaesarn lsland, Chon buri province, Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุเมตต์ ปุจฉาการ คมสัน หงภัทรคีรี มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
คำสำคัญ: | เอคไคโนเดิร์ม เกาะแสมสาร สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างเอคไคโนเดิร์ม บริเวณพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวม 6 ครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 รวมทั้งสิ้น 18 สถานีสำรวจ โดยการดำน้ำแบบเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ (SCUBA diving) เป็นหลัก รวมทั้งการเดินสำรวจการดำน้ำแบบผิวน้ำ (skin diving) สุ่มสำรวจและเก็บตัวอย่างตลอดทั้งพื้นที่ศึกษาในเวลากลางวัน (day time) พบเอคไคโนเดิร์มทั้งหมด 24 ชนิด จำแนกออกเป็นดาวขนนก (Class crinoidea) 2 ชนิด ดาวทะเล (Class Asteroidea) 1 ชนิด ดาวเปราะ (Class Ophiuroidea) 7 ชนิด เม่นทะเล เหรียญทะเลและเม่นทะเลหัวใจ 6 ชนิดและปลิงทะเล (Class Holothuroidea) 8 ชนิด เอคไคโนเดิร์มที่พบเป็นชนิดเด่นและพบเสมอ ได้แก่ เม่นดำหนามยาว, Diadema setosum ดาวหมอนปักเข็ม, Culcita novaeguineae และปลิงดำ, Holothuria (Lessonothuria) leucospilota เอคไคโนเดิร์มที่พบเป็นชนิดที่พบทั่วไปในแนวปะการังในอ่าวไทยฝั่งตะวันออกและทะเลจีนใต้ในเขตอินโดจีน-แปซิฟิค จากการรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชนิดของเอคไคโนเดิร์ม บริเวณพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช หมู่เกาะแสมสารและพื้นที่ใกล้เคียง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551-2554 รวมทั้งการศึกษาครั้งนี้ พบเอคไคโนเดิร์ม 34 ชนิด |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1274 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น