กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12686
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดศรีษะ อาการอ่อนล้า และความแปรปรวนของการนอนหลับกับความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Reltionships between hedche, ftigue, sleep disturbnce, nd performnce in mild hed injury ptients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เขมารดี มาสิงบุญ
นิภาวรรณ สามารถกิจ
อริยาวรรณ วรรณสีทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ปวดศีรษะ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การบาดเจ็บที่ศีระทำให้โครงสร้างและการทำหน้าที่ของสมองเกิดการเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมลดลง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อ 1) ศึกษาการเกิดอาการปวดศีรษะ อาการอ่อนล้า และความแปรปรวนของการนอนหลับของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยภายหลังบาดเจ็บ 24 ชั่วโมง 1 สัปดาห์ และ 2 สัปดาห์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการและความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วยบาดเจ็ดศีรษะระดับเล็กน้อยภายหลังได้รับบาดเจ็บ 2 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยศัลยธรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลชลบุรี ในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 คัดเลือกกลุ่ตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 90 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการปวดศีรษะ แบบสอบถามอาการอ่อนล้า แบบสอบถามความแปรปรวนของการนอนหลับ และแบบสัมภาษณ์ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะใน 24 ชั่วโมงแรก สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 2 กลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดศีรษะร้อยละ 97.8, 96.7 และ 85.5 ตามลำดับ มีอาการอ่อนล้าร้อยละ 96.7, 94.4 และ 88.9 ตามลำดับ และมีความแปรปรวนของการนอนหลับร้อยละ 100 ทั้ง 3 ระยะของการศึกษาติดตาม กลุ่มตัวอย่างสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้เหมือนเดิมภายหลังได้รับบาดเจ็บ แต่รู้สึกว่าปฏิบัติได้ยากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนได้รับบาดเจ็บทั้งในสัปดาห์ที่ 1 และ 2 (M = 3.70, SD = .27 และ M = 3.79, SD = .28 ตามลำดับ) และภายหลังได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ 2 สัปดาห์ พบว่า อาการปวดศีรษะ อาการอ่อนล้า และความแปรปรวนของการนอนหลับมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาล และบุคลากรทีมสุขภาพควรประเมินอาการปวดศีรษะอาการอ่อนล้า และความแปรปรวนของการนอนหลับ และพัฒนาแนวทางการดูแลเพื่อลดความรุนแรงของอาการปวดศีรษะ อาการอ่อนล้า และความแปรปรวนของการนอนหลับที่มีผลต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อยตั้งแต่ระยะแรกหลังได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12686
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf17.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น