กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12656
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้แผ่นรองยืนที่มีต่อความยืดหยุ่นและอาการปวดบริเวณหลัง ขา และข้อเท้าในกลุ่มคนงานยืนทำงานเป็นเวลานานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of nti-ftigue mts to bck, legs nd nkle flexibility nd pin mong prolonged stnding workers in n utomobile mnufcturing fctory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปวีณา มีประดิษฐ์
ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
ดนัย เครือแวงมล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ปวดหลัง
Health Sciences
ปวดหลัง -- การป้องกันและควบคุม
ปวดหลัง -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แผ่นรองยืนเพื่อลดอาการผิดปกติบริเวณหลัง ขา และข้อเท้าในกลุ่มคนงานยืนทำงานเป็นเวลานาน โดยมีรูปแบบการศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 2 กลุ่ม ๆ ละ 40 คน คือ กลุ่มทดลองที่ใช้แผ่นรองยืน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้แผ่นรองยืน ทำการศึกษาโดยการให้กลุ่มทดลองได้ใช้แผ่นรองยืนตลอดเวลาทำงานรวม 4 สัปดาห์ และทำการวัดอาการผิดปกติบริเวณหลัง ขา และข้อเท้า ด้วยการทดสอบความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และใช้แบบสอบถามความรู้สึกปวดบริเวณหลัง ขา และข้อเท้า สัปดาห์ละ 1 ครั้งในวันสุดท้ายของการทำงานแต่ละสัปดาห์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มที่ใช้แผ่นรองยืนมีระดับของความรู้สึกปวดแตกต่างกับกลุ่มที่ไม่ใช้แผ่นรองยืนทุกสัปดาห์ โดยกลุ่มที่ใช้แผ่นรองยืนมีการลดลงของค่าเฉลี่ยความรู้สึกปวดบริเวณหลัง ขา และข้อเท้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)ในขณะกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่แผ่นรองยืนมีค่าเฉลี่ยความรู้สึกปวดบริเวณหลัง ขา และข้อเท้าเพิ่มขึ้น แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านของระดับและค่าเฉลี่ยของความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อบริเวณหลังและขา แต่ละสัปดาห์ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต แต่พบระดับความยืดหยุ่นบริเวณข้อเท้าที่แตกต่างระหว่างกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้แผ่นรองยืนในสัปดาห์ที่ 2 เท่านั้น จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่มีต่อการใช้แผ่นรองยืนในคนงานกลุ่มที่ยืนทำงานเป็นเวลานานมีประโยชน์ต่อคนงานมากโดยเฉพาะในเรื่องของความรู้สึกปวดบริเวณหลัง ขา และข้อเท้า
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12656
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น