กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1263
ชื่อเรื่อง: การศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A systematic review of care intervention among older adults with chronic illness
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา พิบูลย์
เกษม ใช้คล่องกิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ
โรคเรื้อรัง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุทั่วโลก และเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลรักษาระยะยาวที่มีประสิทธิภาพ วิธีการดูแลควบคุมโรคเป็นสิ่งสำคัญในการลดความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนของโรค ตลอดจนส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลควบคุมโรคในผู้สูงอายุที่เป้นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทย โดยมีคำถามสำหรับการทบทวนครอบคลุมถึงรูปแบบและประสิทธิผลของวิธีการดูแลในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ดำเนินการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบโดยใช้วิธีการสืบค้นด้วยมือและสืบค้นทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อค้นหางานวิจัยทั้งที่ตีพิมพ์เผยแพร่และไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ ที่มีรายงานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2556 งานวิจัยที่นำมาทบทวนประกอบด้วยการศึกษาแบบจำลอง จำนวน 9 เรื่อง และแบบกึ่งทดลอง จำนวน 28 เรื่อง รวมทั้งหมด 38 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการทบทวนครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบคัดกรองงานวิจัย แบบประเมินงานวิจัยและแบบสกัดข้อมูลงานวิจัย มีการตรวจสอบความถูกต้อง การคัดเลือกงานวิจัย และการประเมินคุณค่างานวิจัย และการสกัดข้อมูลโดยทีมผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปเชิงเนื้อหาเพื่อจำแนกวิธีการและประสิทธผลของวิธีการดูแลควบคุมโรค การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้แสดงถึงวิธีการดูแลควบคุมโรคเบาหวาน 2 รูปแบบ ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองที่มีการดำเนินการติดตามประสิทธิผลของผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง และโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลควบคุมโรคเฉพาะเรื่อง พบว่าวิธีการควบคุมโรคเบาหวานที่ใช้โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองโดยติดตามอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ทั้งระดับน้ำตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือกแดง และระดับน้ำตาลในเลือดได้ ถึงแม้ว่าโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเหล่านั้นจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของกรอบแนวคิดและวิธีการดำเนินการใช้ แต่ละรูปแบบดำเนินการมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของเนื้อหาสาระซึ่งประกอบด้วยการให้ความรู้ด้วยวิธีการสอน การดูตัวแบบการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลควบคุมโรคเบาหวานโดยเน้นเอง การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา การดูแลสุขภาพทั่วไป และการดูแลเท้า สำหรับการดูแลควบคุมโรคเฉพาะเรื่องที่พบในการทบทวนครั้ง ได้แก่ การดูแลควบคุมอาหาร การออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหว การปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหว การให้ความรู้ การให้คำปรึกษา และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ผลการทบทวนยืนยันประสิทธิผลของวิธีการดูแลเฉพาะเรื่องโดยเฉพาะเรื่อง การออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหว ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดง การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ให้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดูแลควบคุมโรคเบาหวานในประเทศไทย โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองโดยดำเนินการติดตามอย่างต่อเนื่องและการดูแลเฉพาะเรื่องสามารถนำไปใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดงในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการพัฒนารูปแบบการดำเนินการวิจัย โดยเฉพาะส่วนการให้ความรู้ การพัฒนาเนื้อหาในส่วนที่เป้นการให้ความรู้ รวมทั้งเครื่องมือวัดความรู้ให้มีรูปแบบมาตรฐานที่สามารถใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุมีความจำเป็นเพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรมีการทดลองซ้ำในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ และมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม รวมทั้งมีการวัดผลลัพธ์ของวิธีการอย่างเหมาะสม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1263
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น