กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12614
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจในการป้องกันโรคที่มีผลต่อการนำสุนับไปรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน ตำบลคลองพลู อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivtion in the disese prevention by tking the dog to get rbies vccintion mong people of klongplu subdistrict, nongyi district chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วสุธร ตันวัฒนกุล
ณัฐชพร พุทธภา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: สุนัข -- โรค
Science and Technology
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
การฉีดวัคซีน
สุนัข -- การติดเชื้อ -- การรักษา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่เป็นปัญหาสาธารณสุขมาเป็นเวลานานและยังคงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นโรคร้ายแรงถึงชีวิต ยังไม่มีทางรักษาผู้ป่วย โรคนี้ต้องเสียชีวิตทุกรายแต่สามารถป้องกันได้โดยการนำสุนัขไปฉีดวัคซีน การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการศึกษาแรงจูงใจในการป้องกันโรคที่มีผลต่อการนำสุนัขไปรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนตำบลคลองพลู อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรีเป็นการศึกษา เชิงพรรณนา (Descriptive Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนจำนวน 246 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ประชาชนนำสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปีร้อยละ 46.3 ส่วนใหญ่นำสุนัขไปฉีดวัคซีนที่หน่วยเคลื่อนที่ของ อบต. ร้อยละ 51.2โดยประชาชนมีแรงจูงใจในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็น ร้อยละ78.5 เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า มีความคาดหวังในประสิทธิผลของการฉีดวัคซีน อยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 80.7 รองลงมามีการรับรู้ความรุนแรงของการเป็นโรคพิษสุนัขบ้า มีความคาดหวังในความสามารถนำสุนัขไปฉีดวัคซีน และมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค พิษสุนัขบ้าอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 78.8, 77.9 และ 76.7 ตามลำดับ โดยแรงจูงใจใน การป้องกันโรคและความคาดหวังในความสามารถนำสุนัขไปฉีดวัคซีน มีผลต่อการนำสุนัขไปฉีด วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ฉะนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึง ควรมีประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้าง แรงจูงใจให้ประชาชนมีความตื่นตัวและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยการนำสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12614
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf994.72 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น